ประวัติความเป็นมา

      สืบเนื่องด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีนโยบายที่จะมีสำนักพิมพ์ ตั้งแต่ปี 2545 ได้มีคำสั่งที่ 102/2545 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาร่างระเบียบสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 13 รูป/คน มีพระมหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ เป็นประธานคณะทำงาน และมีคำสั่งที่ 48/2546 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างระเบียบสำนักพิมพ์จำนวน15 รูป/คน มีพระมหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ เป็นประธานคณะทำงานและมีคำสั่งที่ 28/2548 เรื่องคณะทำงานพิจารณาร่างระเบียบสำนักพิมพ์จำนวน 13 รูป/คน มีพระสุธีวรญาณ เป็นประธานคณะทำงาน และมีคำสั่งที่210/2549เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการจัดตั้งสำนักพิมพ์จำนวน 5 รูป/คนมีพระครูบวรสิกขการ เป็นประธานคณะทำงาน จะเห็นได้ว่านโยบายที่จะผลักดันให้มีสำนักพิมพ์เริ่มมีมาตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา แต่จะยังไม่สำเร็จเป็นรูปธรรม
     เมื่อปี2549 พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้ดำเนินงานสืบต่อ และมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และพระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที รักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ เป็นคณะทำงานได้ทำงานในเรื่องการตั้งสำนักพิมพ์ไปโดยไปศึกษาดูงานหลายแห่งเช่นสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักพิมพ์เกษตรศาสตร์แล้วกลับมาสร้างรูปแบบในการตั้งสำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากแนวความคิดในการก่อตั้งสำนักพิมพ์ เพราะเหตุผล คือ
1. ขาดเจ้าภาพในการรับผิดชอบชอบ คือ มหาวิทยาลัยมิได้ดำเนินการแต่งตั้งเจ้าภาพให้มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน มหาวิทยาลัยมิได้มีระเบียบหรือข้อบังคับที่ชัดเจน
2. คณาจารย์ขาดแรงจูงใจในการผลิต คือ ค่าตอบแทนอันเกิดจากการดำเนินการที่ไม่ชัดเจน ขาดแรงกระตุ้นจากผู้บริหาร ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนตำราทางวิชาการ
3. ขาดความเป็นเอกภาพในการผลิต   คือไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการผลิตในระดับต่างๆ
4. มหาวิทยาลัยขาดเอกสารทางวิชาการ คือ ขาดนโยบายที่ชัดเจน ขาดแรงกระตุ้นขาดองค์ความรู้และทักษะในการดำเนินการผลิต ขาดบุคลากรที่จะบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
 จากนั้นเสนอร่างระเบียบว่าด้วยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๐ ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการนำร่างระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยสำนักพิมพ์ไปปรัรบปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตและเสนอแนะของสภามหาวิทยาลัยดังนี้ (1) เปลี่ยนตำแหน่งผู้อำนวยการ เป็นผู้จัดการ (2) ให้รูปแบบการบริหารงานสำนักพิมพ์เป็นเหมือนวิสาหกิจของมหาวิทยาลัยคล้ายกับมหาจุฬาบรรณาคารและโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (3) ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการบริหารสำนักพิมพ์ในหมวด 2 ให้ชัดเจน จากนั้นอีก 4 เดือนได้เสนอร่างดังกล่าว ต่อสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2551 ได้ร่างระเบียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามที่เสนอโดยมอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและฝ่ายเลขานุการสภามหาวิทยาลัยปรับปรุงสาระในข้อ 1 2 ให้กะทัดรัดด้วยการยุบรวมข้อ (5) –(8) และให้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม
       มหาวิทยาลัยได้มีการประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ต่อมาได้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักพิมพ์ขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน 15 รูป/คน มีอธิการบดีเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ ได้มีการประชุมครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม 2552 เพื่อวางกรอบนโยบายแนวทาง และวิธีการปฏิบัติ โดยได้มอบหมายให้ ดร.ทรงวิทย์ แก้วศรี เป็นผู้ยกร่างแผนดำเนินการ เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการเป็นครั้งที่ 2 ในวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ในการประชุมครั้งนี้ มีมติให้ปรับใหม่ให้ชัดเกี่ยวกับแผนเงิน แผนงาน และแผนคน เนื่องจากแผนการดำเนินการทำอย่างเร่งรีบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางระบบในการก่อตั้งสำนักพิมพ์ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นส่วนงานองค์กรย่อยของมหาวิทยาลัย และในปี 2552 มีการประชุมอีก 2 ครั้ง โดยพิจารณารับมอบต้นฉบับรายวิชาระดับปริญญาตรี 10 รายวิชาและหนังสือทางวิชาการอีก 2 เรื่อง  ปี พ.ศ.2553-2555 มีไม่มีการประชุม แต่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรสำนักพิมพ์ปี พ.ศ.2556 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดที่ 2 แทนคณะกรรมการชุดแรก ซึ่งหมดวาระ จำนวน 15 รูป/คน มีอธิการบดีเป็นประธาน และมีการประชุม 1 เรื่อง พิจารณาเรื่องการดำเนินงานและผลงานของสำนักพิมพ์ และแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหารักษาการผู้จัดการสำนักพิมพ์ปี พ.ศ.2557 ไม่มีการประชุม แต่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรสำนักพิมพ์ปี พ.ศ.2558 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดที่ 3 แทนคณะกรรมการชุดแรก จำนวน 15 รูป/คน มีอธิการบดีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2558 คณะกรรมการบริหารสำนักพิมพ์ พิจารณาการดำเนินงานและผลงานของสำนักพิมพ์ แล้วมีมติให้ ดร.ทรงวิทย์ แก้วศรี รักษาการสำนักพิมพ์จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2558 แล้วให้ นายสุชญา ศิริธัญภร เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการสำนักพิมพ์ นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 เป็นต้นไป