ซื้อหนัสืเล่มนี้ (คลิก)
- หนังสือ ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก เขียนโดย พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) หรือพระเมธีธรรมาภรณ์ ในสมัยนั้น) ที่ท่านได้เขียนส่งจากอินเดียมาลงพิมพ์ในวารสาร “พุทธจักร” นิตยสารรายเดือนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็น “พระมหาประยูร ธมฺมจิตฺโต” และกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยเดลี (Delhi University) ประเทศอินเดีย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในด้านปรัชญา ถ่ายทอดความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับปรัชญากรีกที่เป็นรากฐานของความรู้และวิทยาการโลกปัจจุบัน
จุดเด่นของหนังสือ เนื้อหาเข้มข้น ครอบคลุมปรัชญากรีกตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงยุครุ่งเรืองและยุคเสื่อมอธิบายแนวคิดของนักปรัชญาคนสำคัญ เช่น ธาเลส เฮราคลีตุส โสคราตีส พลาโต้ และอาริสโตเติล เปรียบเทียบปรัชญากรีกกับพุทธปรัชญา เพื่อความเข้าใจที่หลากมิติ เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา และผู้สนใจปรัชญาอย่างจริงจัง
เนื้อหาสำคัญ : ปรัชญากรีกกับการเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ศาสนา การเมือง และวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดของนักปรัชญาแต่ละคนอย่างเป็นระบบความคิดที่ทรงอิทธิพลในอดีต และยังเป็นที่ยึดถือในโลกวิชาการปัจจุบัน