Category Archive: E-book

Mar 09

วารสารมหาจุฬาวิชาการปีที่๑ฉบับที่๒(กรกฎาคม-ธันวาคม๒๕๕๗)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วารสารมหาจุฬาวิชาการ เป็นวารสารวิชาการ ราย ๖ เดือน (ปีละ ๒ ฉบับ) คือ ฉบับที่ ๑ เดือน มกราคม-มิถุนายน, ฉบับที่ ๒ เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่่สังคม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทาง พระพุทธศาสนา เพื่อสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางของมหาวิทยาลัย ในการเผยแพร่ บทความวิชาการและบทความวิจัยแก่ผู้บริหาร คณาจารย์นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิต นักศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ ในขอบข่ายเนื้อหาสาขาวิชาสังคมวิทยา ศิลปศาสตร์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๗ ได้รวบรวมบทความ วิชาการของผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์ต่างสถาบัน ร่วมส่ง บทความทางวิชาการมาร่วมตีพิมพ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทำห้มีโอกาสได้ศึกษา พุทธธรรมและการนำไปประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักคำสอนทาง …

Continue reading »

Mar 09

วรรณกรรมพระพุทธศาสนา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา“วรรณกรรมพระพุทธศาสนา” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๓ หน่วยกิต และเป็นรายวิชาข้อสอบกลาง มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ “ศึกษาประวัติและพัฒนาการของวรรณกรรมบาลีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย โดยวิเคราะห์วรรณกรรมที่น่าสนใจ เช่น วิมุตติมรรค วิสุทธิมรรค มหาวงศ์ ทีปวงศ์ ศาสนวงศ์ เตภูมิกถา มังคลัตถทีปนี กาพย์มหาชาติ สังคีติยวงศ์ มงคลวิเสสกถา แก่นพุทธศาสน์ กรรมทีปนี พุทธธรรม พุทธวิทยา และพระไตรปิฎกฉบับสากล: วิถีธรรมจากพุทธปัญญา” เป็นผลงานเขียนของคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งเนื้อหาเป็น ๙ บท ประกอบด้วย บทที่ ๑ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา บทที่ ๒ ประวัติและพัฒนาการของวรรณกรรมบาลี บทที่ ๓ วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา : มหาวงศ์ ทีปวงศ์ และ ศาสนวงศ์ บทที่ ๔ วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา : วิมุตติมรรค และ …

Continue reading »

Mar 09

วารสารมหาจุฬาวิชาการปีที่๑ฉบับที่๑(มกราคม-มิถุนายน๒๕๕๗)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้รวบรวมบทความ วิชาการของผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์ต่างสถาบัน ร่วมส่ง บทความทางวิชาการมาร่วมตีพิมพ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทำให้มีโอกาสได้ศึกษา พุทธธรรมและการนำไปประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักคำสอนทาง พระศาสนา อันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม ในครั้งนี้กองบรรณาธิการและคณะทำงานฝ่ายจัดทำวารสารมหาจุฬาวิชาการ ได้รับเกียรติจาก ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย และคณาจารย์ต่างสถาบัน ได้ส่งบทความวิชาการ เพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ ประกอบด้วยบทความทางวิชาการ เนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และบทความวิจัย ซึ่งรายละเอียด บทความต่างๆ กองบรรณาธิการ ได้กล่าวถึงเนื้อหาของแต่ละบทความโดยสรุปภายในเล่ม  

Mar 09

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล

    ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล”เล่มนี้ เป็นรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง จำนวน 3 หน่วยกิต ที่กำหนดให้ศึกษาเกี่ยวกับ “คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ความปลอดภัย กฎหมาย จริยธรรมในสังคมดิจิทัล และความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต ฝึกทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต สื่อ การสื่อสารยุคดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดทำเอกสาร ตารางคำนวณ และการนำเสนอข้อมูลได้” เป็นผลงานเขียนของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งเนื้อหาเป็น 12 บท ประกอบด้วย พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ วิทยาการคำนวณเบื้องต้น เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ต การทำงานและการสื่อสารบนเครือข่ายดิจิทัล การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การจัดทำเอกสารดิจิทัล การใช้ตารางคำนวณดิจิทัล การนำเสนอข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยและจริยธรรมในสังคมดิจิทัล การเรียนรู้และเผยแผ่หลักธรรมในยุคดิจิทัล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำรารายวิชา “คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ ตลอดไป

Jun 05

สถิติเบื้องต้นและการวิจัย ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “สถิติเบื้องต้นและงานวิจัย” ได้พัฒนาขึ้นตามโครงการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาเนื้อหารายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตร์บัณฑิต ให้เป็นที่ยอมรับและใช้ร่วมกันได้ทุกคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ เอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา ให้มีเอกลักษณ์ร่วมกัน ทั้งมีความคงทน สวยงาม น่าสนใจต่อการศึกษาค้นคว้า 3) เพื่อนำเนื้อหาสาระไปพัฒนาสื่อการศึกษาและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และระบบคลังข้อสอบ 4) เพื่อเสริมทักษะคณาจารย์ในการสร้างผลงานทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ รองรับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเป็นที่ยอมรับทั่วไปในประเทศและระดับสากล ตำรา “สถิติเบื้องต้นและการวิจัย” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งมุ่งให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานทางสถิติ ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการแจกแจงความถี่ การหาแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดและการกระจายของข้อมูล ความน่าจะเป็นความรู้พื้นฐานการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การทดสอบสมมติฐาน การเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย ตำรา “สถิติเบื้องต้นและการวิจัย” …

Continue reading »

Apr 16

คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์มหาวงศ์ ได้รจนาโดย พระมหานามเถระ ชาวลังกาและได้รจนาเพิ่มเติมจนจบโดยคณะบัณฑิต คัมภีร์มหาวงศ์ เป็นตำนานที่ว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา แสดงเรื่องพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และพระราชาทั้งหลาย ตั้งแต่พระเจ้ามหาสมมตแห่งชมพูทวีปเป็นต้น แสดงเรื่องการที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ เป็นพงศาวดารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม มีชื่อเสียงที่สุดของชนชาติลังกา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีประวัติต่อเนื่องยาวนานมากกว่า ๒๕๐๐ ปี ตั้งแต่พระเจ้าวิชัย พ.ศ. ๑ เป็นต้นมา คัมภีร์มหาวงศ์ ถือได้ว่าเป็นงานที่สมบูรณ์ มีลีลาการประพันธ์สละสลวย ขั้นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะด้านภาษาและสำนวนโวหาร คือเริ่มและจบอย่างสมบูรณ์ กล่าวถึงราชวงศ์ครบถ้วน คัมภีร์มหาวงศ์ แบ่งเป็น ๒ ภาค มีเนื้อหาประกอบด้วยบท (ปริจเฉท) รวมทั้งสิ้น ๙๙ บท แปลโดย ผศ.สุเทพ พรมเลิศ อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับคัมภีร์วงศ์ ภาค ๒ เล่มนี้ ประกอบด้วย ๓๙ บท จำนวนรวม ๕,๐๕๕ คาถา กล่าวถึงการแสดงปาฏิหาริย์ของพระธาตุเขี้ยวแก้ว การพรรณนาการสมโภชพระธาตุเขี้ยวแก้ว พระราชากับการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา การสร้างอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา …

Continue reading »

Apr 16

คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์มหาวงศ์ ได้รจนาโดย พระมหานามเถระ ชาวลังกาและได้รจนาเพิ่มเติมจนจบโดยคณะบัณฑิต คัมภีร์มหาวงศ์ เป็นตำนานที่ว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา แสดงเรื่องพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และพระราชาทั้งหลาย ตั้งแต่พระเจ้ามหาสมมตแห่งชมพูทวีปเป็นต้น แสดงเรื่องการที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ เป็นพงศาวดารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม มีชื่อเสียงที่สุดของชนชาติลังกา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีประวัติต่อเนื่องยาวนานมากกว่า ๒๕๐๐ ปี ตั้งแต่พระเจ้าวิชัย พ.ศ. ๑ เป็นต้นมา คัมภีร์มหาวงศ์ ถือได้ว่าเป็นงานที่สมบูรณ์ มีลีลาการประพันธ์สละสลวย ขั้นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะด้านภาษาและสำนวนโวหาร คือเริ่มและจบอย่างสมบูรณ์ กล่าวถึงราชวงศ์ครบถ้วน คัมภีร์มหาวงศ์ แบ่งเป็น ๒ ภาค มีเนื้อหาประกอบด้วยบท (ปริจเฉท) รวมทั้งสิ้น ๙๙ บท แปลโดย ผศ.สุเทพ พรมเลิศ อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับคัมภีร์วงศ์ ภาค ๑ เล่มนี้ ประกอบด้วย ๖๐ บท จำนวนรวม ๔,๙๕๕ คาถา กล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเกาะลังกา ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป การสังคายนาพระไตรปิฎก ๓ …

Continue reading »

Apr 16

พระพุทธศาสนาเถรวาท

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิชา “พระพุทธศาสนาเถรวาท” เล่มนี้ เป็นวิชาบังคับหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ที่กำหนดให้ศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาทในด้านประวัติศาสตร์ พัฒนาการ นิกายสำคัญ หลักคำสอนสำคัญ ภาษาที่ใช้จารึกคัมภีร์ การจัดลำดับชั้นคัมภีร์ รูปแบบการถ่ายทอดและการรักษาคำสอนอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อประเทศต่างๆ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสังคม และการเมือง เป็นต้น วิชา “พระพุทธศาสนาเถรวาท” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๗ บท ซึ่งมุ่งให้ศึกษาเรียนรู้เรื่องประวัติและพัฒนาการพระพุทธศาสนาเถรวาท ภูมิหลังกำเนิดนิกายและกรณีศึกษาผลงานปราชญ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทหลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท ภาษาที่ใช้จารึกคัมภีร์การถ่ายทอดและการรักษาคำสอน การจัดลำดับชั้นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท อิทธิพลพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในกลุ่มประเทศเอเชีย อิทธิพลพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในกลุ่มประเทศยุโรปอเมริกา และออสเตรเลีย หวังว่า วิชา “พระพุทธศาสนาเถรวาท” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท แก่พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสืบไป

Apr 16

แต่งแปลบาลี ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “แต่งแปลบาลี” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนา ที่กำหนดให้ศึกษา หลักบาลีไวยากรณ์ การแต่งบาลี การแปลบาลีทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะให้ถูกต้องตามหลักภาษา การแต่งและการแปลประโยคพิเศษและสำนวนที่ควรทราบ การแปลบาลีเป็นไทยและแปลไทยเป็นบาลี จากหนังสือที่กำหนด หลักและวิธีการแต่งฉันท์ภาษาบาลี ตำรา “แต่งแปลบาลี”ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหา ประกอบด้วย ๘ บท คือ “หลักไวยากรณ์เพื่อการแต่งแปล ประโยคในภาษาบาลี ความสัมพันธ์ของบทในประโยค หลักการแปลบาลี หลักการแต่งบาลี แต่งแปลประโยคพิเศษและสำนวนบาลี การแปลบาลีเป็นไทย และการแปลไทยเป็นบาลี หวังว่า ตำรา “แต่งแปลบาลี” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการการเรียนภาษาบาลีเบื้องต้น ในพระพุทธศาสนาแก่ พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Apr 16

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบต่างๆ การแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤฉวาทีแบบต่างๆ ศึกษาหลักการและวิิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่นๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาในนิกายสรวาสติวาทิน วิภาษวิธีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ตะวันตกกับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์พระพุทธศาสนา” ตำรา “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๖ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้พื้นฐานตรรกศาสตร์ องค์ประกอบพื้นฐานของตรรกศาสตร์ ญัตติ การให้เหตุผล ปฤจฉวาที รวมถึงหลักและวิธีการให้เหตุผลในพระพุทธศาสนา หวังว่า ตำรา “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการให้เหตุผลตามแนวพระพุทธศาสนา เชิงตรรก แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Older posts «

» Newer posts