ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)
- “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓” นี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงานที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะสมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
“สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓” แปลและเรียบเรียงโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะ ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิก จตุตถปาราชิก มีสาระสำคัญดังนี้
ในตติยปาราชิก ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับพรรณนาตติยปาราชิกสิกขาบท พรรรนาเรื่องต้นบัญญัติ เรื่องอานาปานสติสมาธิ พรรณราบทภาชนีย์ เรื่องปลีกย่อย วินีตวัตถุ สำหรับในทุติยปาราชิก ท่านพรรณนาจตุตถสิกขาบทปาราชิก เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เรื่องภิกษุเข้าใจว่าตนได้บรรลุ สิกขาบทพร้อมทั้งวิภังค์ บทภาชนีย์ เรื่องสุทธิกวาระ เรื่องวัตตุกามวาระ เรื่องปัจจัยปฏิสังยุตตวาระ ประเภทแห่งอนาบัติ พรรณนาคำลงท้าย