ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)
- “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๒” นี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงานที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะสมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
“สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๒” แปลและเรียบเรียงโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะ ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิก ทุติยปาราชิก มีสาระสำคัญดังนี้
ในปฐมปาราชิก ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับพรรณนาสุทินนภาณวาร ลิงตัวเมีย เรื่องภิกษุวัชชีบุตร วินัย ๔ อย่าง บทภาชนีย์คำว่าภิกษุ สิกขาและสาชีพ การบอกคืนสิกขา มูลบัญญัติ จตุกกะเบื้องต้น จตุกกะ ๒๖๙ จตุกกะ ประเภทแห่งสันถตจตุกกะ ประเภทแห่งจตุกกะของภิกษุผู้เป็นศัตรู ประเภทแห่งจตุกกะมีพระราชาผู้เป็นศัตรูเป็นต้น วารแห่งอาบัติและอนาบัติ เรื่องปลีกย่อย และวินีตวัตถุ สำหรับในทุติยปาราชิก ท่านอธิบายเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องพระธนิยะ วินิจฉัยนอกบาลี พรรณนาสิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์ อวหาร ๒๕ วิธี ทรัพย์ที่ในที่ต่าง ๆ เช่น แผ่นดิน อากาศ ที่แจ้ง เรือ ยาน สวน วิหาร นา พื้นที่ ป่า น้ำ เรื่องไม้ชำระฟัน ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต ไม่มีเท้า ๒ เท้า ๔ เท้า หรือมีมากเท้า การนัดหมาย การทำนิมิต การสั่ง ประเภทแห่งอาบัติและอนาบัติ เรื่องปลีกย่อยและวินีตวัตถุ