ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)
- วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (๙) พรหมวิหารนิเทศ (๑๐) อารุปปนิเทศ (๑๑) สมาธินิเทศ (๑๒) อิทธิวิธนิเทศ (๑๓) อภิญญานิเทศ และ พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความก็ได้แก่ ปัญญา อยู่ใน ๙ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๑๔ ถึง ๒๒ ได้แก่ (๑๔) ขันธนิเทศ (๑๕) อายตนธาตุนิเทศ (๑๖) อินทริยสัจจนิเทศ (๑๗) ปัญญาภูมินิเทศ (๑๘) ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ (๑๙) กังขาวิตรณวิสุทธิ-นิเทศ (๒๐) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๑) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๒) ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๓) ปัญญา ภาวนานิสังสนิเทศ ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๒๒ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นี่แหละจะเรียกว่า แผนที่ หรือทางสู่พระนิพพาน
สำหรับ วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑ นี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ นิเทศ คือ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ แสดงวิธีการเจริญอนุสสติกัมมัฏฐานที่เหลืออีก ๔ ประการ คือ (๗) มรณานุสสติ การพิจารณาความตายเป็นอารมณ์ เพื่อข่มนิวรณ์ทั้งหลาย (๘) กายคตาสติ พิจารณากายเป็นอารมณ์ (๙) อานาปานสติ พิจารณาลมหายใจออก หายใจเข้าเป็นอารมณ์ โดยการศึกษาสนธิ ๕ มนสิการ ๘ วิธีให้เข้าใจกำหนดลม ๑๖ ขั้น จนมีอานิสงส์ให้ได้บรรลุ อรหัตตผล (๑๐) อุปสมานุสสติ การระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์พร้อมทั้งอานิสงส์ที่ เกิดขึ้นในการเจริญกัมมัฏฐานแต่ละอย่าง (๙) พรหมวิหารนิเทศ แสดงวิธีการเจริญพรหมวิหารกัมมัฏฐาน ๔ ประการ คือ (๑) เมตตา กัมมัฏฐาน ฝึกเจริญเมตตาทั้งโดยเจาะจง โดยไม่เจาะจง และโดยไม่มีประมาณ พร้อมทั้งอานิสงส์ เมตตา ๑๑ ประการ (๒) กรุณากัมมัฏฐาน การเจริญกรุณาแผ่ความปรารถนาดีไปในบุคคลและ สัตว์ทั้งหลาย (๓) มุทิตากัมมัฏฐาน การเจริญมุทิตาแผ่ความยินดีไปในบุคคลที่คุ้นเคยกันก่อนึงไปในบุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน (๔) อุเบกขากัมมัฏฐาน ฝึกแผ่ความวางเฉยไปในบุคคลทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก วางใจเป็นกลางในความสุขและความทุกข์ของสัตว์เหล่านั้น ท่านได้อธิบาย โดยละเอียดพร้อมทั้งโทษของการไม่เจริญและอานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหาร เพราะเป็นเหตุ แห่งอัปปนาฌาน (๑๐)อารุปปนิเทศ แสดงวิธีการเจริญอารุปปกัมมัฏฐานซึ่งเป็นขั้นตอนต่อจากการเจริญ รูปกัมมัฏฐานเบื้องต้นที่ผ่านมาแล้ว ได้แก่ (๑) อากาสานัญจายตนฌาน การกำหนดพิจารณา อากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๒) วิญญาณัญจายตนฌาน การกำหนดพิจารณา วิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๓) อากิญจัญญายตนฌาน การกำหนดพิจารณาภาวะที่ไม่มี อะไร ๆ เป็นอารมณ์ (๔) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน การกำหนดพิจารณาการเข้าถึงภาวะ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็นอารมณ์ โดยแสดงวิธีการปฏิบัติเป็นขั้นตอนต่อกันไป อย่างละเอียดพร้อมอานิสงส์แห่งการเจริญอารูปฌาน