«

»

Aug 04

พุทธบัญญัติ ๒๒๗

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พุทธบัญญัติ ๒๒๗” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พุทธบัญญัติ ๒๒๗” เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งพิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙ วัตถุประสงค์การเรียบเรียง เพื่อเป็นตำราวิชาการประกอบการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และเป็นตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ “ศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา” ที่พระภิกษุสามณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจ สามารถใช้เป็นคู่มือศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี โดยจะได้ทราบความเป็นมา หลักการ เหตุผล ประยชน์ และวัตถุประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ทรงบัญญัติพระวินัยการเรียบเรียงพุทธบัญญัตินี้ นับว่ายากพอสมควร เพราะมีมากถึง ๒๒๗ สิกขาบท ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละสิกขาบทก็มีเนื้อหามาก ต้องเลือกสรรเนื้อหาที่มีสาระเหมาะสม และควรนำเสนอให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ทั้งปรับสำนวนภาษาให้เข้าใจง่าย แต่บางสำนวนก็คงไว้ตามเดิม เช่นพระบัญญัติต้นข้อความทุกสิกขาบทยังคงสำนวนภาษาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนวโกวาท ที่ใช้เป็นตำราเรียนนักธรรมชั้นตรี ยกตัวอย่างเช่น ในปาราชิกสิกขาบหที่ ๑ ว่า “ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก” แต่ในพระไตรปิฎกเขียนว่า “ภิกษุใด เสพเมถุน ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาราชิก หาสังวาสมิได้” เป็นตัน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบทั้งสำนวนในหนังสือนวโกวาท และสำนวนในพระไตรปิฎก แม้ผู้เรียบเรียงได้พยายามให้รายละเอียดแต่ละสิกขาบทเป็นอย่างดี เพื่อความเข้าใจของผู้ศึกษา แต่ก็ยังมีบางสิกขาบทที่เข้าใจยาก ผู้ศึกษาและผู้สนใจสามารถค้นคว้าได้จากพระไตรปัฎกภาษาไทย ฉบับดังกล่าวตามที่ได้แจ้งตัวเลขแสดงถึงเล่มหัวข้อ และหน้า ไว้ในแต่ละลิกขาบทนั้น ๆ แล้ว หวังว่า “พุทธบัญญัติ ๒๒๗” จะก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่พระภิกษุสามณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจที่จะศึกษาเรียนคำสอนทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระวินัยสืบไป