Category Archive: E-book

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๖ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว  จำนวน ๖ วรรค คือ อัตตวรรค หมวดว่าด้วยตน ในวรรคนี้  เน้นถึงตน คำว่า ตน ในที่นี้หมายถึงผู้กระทำ (สยกัตตา) โดยทั่วไป  ไม่ได้หมายถึงอัตตา หรืออาตมัน  ในศาสนาพราหมณ์  พระองค์ทรงสอนให้รู้จักรักษาตนด้วยการทำดี  ให้รู้จักวางจังหวะของชีวิต  การทำหน้าที่ต่อผู้อื่น  ไม่ควรทำหน้าที่ของตนให้บกพร่อง  ก่อนจะสอนคนอื่น ควรพยายามสอนตนให้ได้ก่อน เพื่อป้องกันความเดือดร้อนที่จะเกิดแก่ตน โลกวรรค หมวดว่าด้วยโลก เน้นถึงโลก  คำว่า โลก  มีความหมายหลายอย่าง …

Continue reading »

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๕ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว  จำนวน ๓ วรรค คือ ปาปวรรค  หมวดว่าด้วยบาป   มุ่งเน้นให้รู้จักบุญและบาป รวมทั้งผลของบุญและบาปว่ามีความแตกต่างกัน ให้พยายามรีบเร่งทำบุญและเว้นบาป   บุญต้องหาบ บาปต้องละ ถ้าทำบุญช้า บาปมักจะเข้ามาแทนที่ ทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา   มุ่งเน้นเกี่ยวกับการลงทัณฑ์ คือการใช้กำลังทำร้าย  เข่นฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่น  ให้ได้รับความเดือดร้อน หรือพูดวาจาหยาบคายให้รายป้ายสี  มุ่งหมายให้เห็นว่า  สัตว์ทั้งหลายรักสุข เกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น  ไม่ควรเบียดเบียนกัน  ผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่น  จะได้รับโทษต่างๆ เช่น ได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า  เสื่อมทรัพย์ …

Continue reading »

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๔ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ (๑) ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต  มีจำนวน ๑๑ เรื่อง  ๑๖ คาถา คำว่า บัณฑิต หมายถึงผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคือกุศลกรรมบถ  ๑๐ ประการ โดยสรุปก็คือทำดี พูดี คิดดี  (๒) อรหันตวรรค หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๔ คาถา  คำว่า …

Continue reading »

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๓ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ ปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ มี ๑๒  เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้เน้นการเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้กับธรรรม ระหว่างดอกไม้กับกิเลส  ระหว่างความหลงเพลินเลือกเก็บดอกไม้กับความยินดีกามคุณ ๕ พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล มี ๑๕ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า คนพาล หมายถึงคนโง่ ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ไม่รู้จักพระสัทธรรม จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่ร่ำไป …

Continue reading »

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๒ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ อัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มี ๙  เรื่อง ๑๒ คาถา คำว่า ความไม่ประมาท เป็นชื่อของสติ ผู้ที่ไม่มีความประมาทย่อมประสบผลที่พึงปรารถนาต่างๆ โดยที่สุดให้บรรลุมรรคผลนิพพาน จิตตวรรค หมวดว่าด้วยการฝึกจิต  มี ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา คำว่า จิต หมายถึงธรรมชาติที่คิดและสั่งสมอารมณ์ ซึ่งผู้ที่ฝึกจิตได้ ก็ใช้อริยมรรคข่มจิต ระงับจิตที่ดิ้นรน …

Continue reading »

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๑ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๑  วรรค คือ ยมกวรรค  หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน  มีจำนวน ๑๔ เรื่อง  ๒๐ คาถา ในวรรคนี้เน้นถึงธรรมที่ตรงกันข้าม ถูกประมวลมาไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้ามนั้น คือความคิดชั่วกับความคิดดี การจองเวรกับการไม่จองเวร เป็นต้น คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  แปลโดยพยัญชนะ”   เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงธรรมที่ตรงกันข้าม  ถูกรวบรวมไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้าม …

Continue reading »

Mar 09

สุขภาพใจ (ฟรี)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “สุขภาพใจ” เล่มนี้ เป็นธรรมโอสถ มุ่งแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาจะต้องประกอบด้วย ๓ ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ ๑ พัฒนาสมรรถภาพ ส่วนที่ ๒ พัฒนาคุณภาพ และส่วนที่ ๓ พัฒนาสุขภาพ การพัฒนาสมรรถภาพ คุณภาพ และสุขภาพ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคน และพัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ สมรรถภาพคือทำการให้เป็นคนเก่ง คุณภาพทำให้เป็นคนดี และคนที่เก่งและดีเข้ากับใครๆ ได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ ทำงานดี คนที่มีสุขภาพกายดีจะมีความอดทน มีความแข็งแรง ทนทานและยึดหยุ่น คนที่มีสุขภาพจิตดีจะไม่กระทบกันง่าย จะรู้จักยึดหยุ่น คือปล่อยว่างเมื่อถึงคราวควรปล่อยว่าง หยุดเมื่อสมควรหยุด      

Mar 09

พุทธจักรวาลวิทยา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “พุทธจักรวาลวิทยา” เล่มนี้ผู้เขียนนำเสนอโลกและจักรวาลทางพระพุทธศาสนา ยกหลักฐานอ้างอิงและเหตุผลมาประกอบได้อย่างน่าเชื่อถือ แสดงจุดยืนของพระพุทธศาสนาและมิติของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา มีเนื้อหาในเชิงจริยศาสตร์ เชื่อมโยงให้เห็นความเป็น อิทัปปัจจยตา ความอิงอาศัยกันและกันของสรรพสิ่ง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ อันแสดงให้เห็นว่า สรรพสิ่งตกอยู่ในสภาพไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ทั้งยังแสดงให้เห็นอีกว่า ตราบที่มนุษย์ยังไม่สิ้นกิเลส ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏตลอดไป พร้อมทั้งแสดงอิทธิพลของจักรวาลวิทยาที่มีต่อสังคมไทย ในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านตำนาน วรรณกรรม และสถาปัตยกรรม จักรวาลวิทยาเป็นศาสตร์หรือเป็นวิชาแขนงหนึ่งที่พยายามจะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและจักรวาลในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น การดำรงอยู่ และจัดสิ้นสุดของโลกและจักรวาล และจากการแสวงหาความจริงดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดกลุ่มนักคิด ๒ กระแสหลัก กล่าวคือ กลุ่มเทวนิยมที่มองว่าโลกและจักรวาลเกิดจากพระเป็นเจ้า และกลุ่มธรรมชาตินิยมที่มองว่า โลกและจักรวาลนั้นเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ และวิวัฒนาการมาโดยลำดับโดยตัวของมันเอง

Mar 09

ทศพิธราชธรรม ๑๐ ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “ทศพิธราชธรรม ๑๐ ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร ” เล่มนี้ เป็นผลงานของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. เกิดขึ้นจากการที่สำนักงานเลขาธิการศาลธรรมนูญได้นิมนต์ให้ไปปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทศพิธราชธรรม ธรรมะสำหรับผู้นำองค์กร” ในโอกาสที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้จัดโครงการปาฐกถาพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ แล้วได้ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จนเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ ภายในเล่มผู้เขียนนำเสนอหลักธรรม ๑๐ ประการ กล่าวคือ ทาน ศีล ปริจาคะ อาชชวะ มัททวะ ตปะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ มาตั้งเป็นหัวข้อหลักแล้วอธิบายหลักธรรมของพระราชาอย่างลุ่มลึก สะท้อนหลักธรรมของผู้นำองค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยืนยืน เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้นำในศตวรรษที่ ๒๑ กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในมิติต่าง ๆ ซึ่งการปรับตัวให้สอดรับกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นของผู้นำ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความอยู่รอดขององค์กร จากตัวแปรดังกล่าว จึงทำให้นักคิด และนักปฏิบัติการ ได้พยายามที่จะออกแบบหลักการและเครื่องมือเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการทั่วไป อีกทั้งก่อให้เกิดความสุข แก่ผู้บริหารองค์กร ในระดับต่างๆ …

Continue reading »

Mar 09

ชีวิตและความตาย ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา และตามทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “ชีวิตและความตาย ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนาและตามทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย” เล่มนี้ผู้เขียนนำเสนอทั้งทรรศนะทางศาสนาและทางปรัชญา ทางศาสนาได้เสนอทรรศนะของพระพุทธศาสนา และทรรศนะทางปรัชญา ได้เสนอทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย นับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรรู้ไว้ ไม่ควรมองข้ามไป ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ตามหลักมรณัสสติของพระพุทธเจ้า “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” เป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องประสบพบเจอตราบเท่าที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ ดังนั้น ชีวิตคนเราที่เกิดมา ควรที่จะรู้และเข้าใจชีวิตของตนทั้งก่อนเกิด หลังเกิดขณะมีชีวิต และหลังตาย อันจะช่วยเตือนสติตนเองและดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาท อันจะทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างราบรื่นและมีความสุข  

Older posts «

» Newer posts