Category Archive: E-book

Mar 09

บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ“บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร” เล่มนี้ เนื้อหาภายในเล่ม ผู้เรียบเรียงได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนเบื้องต้น เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พร้อมทั้งอ้างอิงนักคิดชาวตะวันตกผ่านเอกสารและงานวิจัย เช่น โรเบิร์ต สเลเตอร์, เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน่, สตีเฟ่น อาร์. โควี่ย์ จากนั้นได้นำเสนอในประเด็นสำคัญ อันได้แก่ (๑) การบริหารและการเสริมสร้างพลังบริหารในสังคมยุคใหม่ พร้อมยกตัวอย่างของนักคิดตะวันออก และนักคิดตะวันตก เกี่ยวกับการบริหารตน บริหารคน และบริหารงานได้อย่างเป็นระบบ (๒) การบริหารตามหลักพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านพุทธวิธีบริหารและพุทธธรรมเพื่อการบริหาร (๓) การเสริมสร้างพลังบริหารตามหลักพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาเพิ่มพลังในการบริหาร (๔) พลังบริหารเชิงพุทธบูรณาการ โดยสรุปคุณวิเสสจากการบำเพ็ญไตรสิกขา และเสนอตัวแบบเชิงบูรณาการเพื่อพลังบริหาร โดยวิธีการรวบรวมข้อมูล จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท วิเคราะห์และจัดระบบข้อมูล ได้เป็นอย่างดียิ่ง

Mar 09

จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ซื้อหนังสือเล่มนี้(คลิก) หนังสือเรื่อง “จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา” เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนเบื้องต้น เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากนั้นได้นำเสนอในประเด็นสำคัญ อันได้แก่ (๑) สถานการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๓) เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมตามกรอบพุทธจริยศาสตร์อันประกอบด้วย ตอนที่ ๑ เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมของนักคิดตะวันตก ตอนที่ ๒ บทอภิปรายทั่วไป ตอนที่ ๓ แนวทางวินิจฉัยความดี-ความชั่ว ตอนที่ ๔ เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมตามกรอบพุทธจริยศาสตร์ (๔) วิเคราะห์เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมจากมุมมองปรัชญาตะวันตกและแนวทางประนีประนอม (๕) เป้าหมายระดับวิถีชีวิตในสังสารวัฏและเป้าหมายระดับอุดมคติ และสรุปผล ซึ่งในแต่ละประเด็น ผู้เขียนได้ดำเนินการงานวิจัยด้วยการสำรวจสถานการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมศึกษาพุทธธรรมที่มีเนื้อหาเชิงจริยศาสตร์ ศึกษาเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมตามกรอบแห่งพุทธจริยศาสตร์ ศึกษาเป้าหมายแห่งพุทธจริยศาสตร์ โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธ-ศาสนาเถรวาท วิเคราะห์และจัดระบบข้อมูล เป็นอย่างดียิ่ง

Mar 09

วิมุตติมรรค

ซื้อหนังสือเล่มนี้(คลิก) หนังสือ “ความเปลี่ยนแปลงตามทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาท” เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำข้อมูลในสมัยที่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาปรัชญา ข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อบรรยายแก่นิสิต สาขาวิชาปรัชญา และข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความรู้ความเข้าใจส่วนตน ทั้งหมดนี้ผสมผสานกันเป็นหนังสือ โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นหลัก เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงตามทรรศนะเชิงอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ ประกอบด้วย ๖ บท คือ บทนำ ทรรศนะเรื่องความเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ของความเปลี่ยนแปลงกับหลักธรรมสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงปฏิเสธแนวคิดสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ คุณค่าของความเปลี่ยนแปลงในเชิงจริยธรรม และสรุปวิจารณ์ กล่าวโดยสรุป หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า ในพุทธปรัชญา ความเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะที่เสมอเหมือนกันของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสมบูรณ์พร้อมในตัวเอง เกิดจากส่วนประกอบต่างๆ มารวมกัน มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน มีอยู่ในรูปของกระแสการเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปรากฏการณ์ซึ่งไม่เกี่ยวกับผู้สร้างหรือเทพเจ้าใดๆ ทั้งสิ้น เป็นไปตามธรรมดา ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มีระเบียบ กฎเกณฑ์และทิศทางที่แน่นอน ความเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เป็นทัศนะแบบอภิปรัชญา เมื่อมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์ในด้านการปฏิบัติจัดเป็นจริยศาสตร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้

Mar 09

ปรัชญาโลก

ซื้อหนังสือเล่มนี้(คลิก) หนังสือ “ปรัชญาโลก” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของพระราชปริยัติกวี, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน ๒๕ เรื่อง แต่ละเรื่องมีเนื้อหาไม่ยาว ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพราะล้วนให้คติธรรม ให้ปรัชญาแนวคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่จะทำให้ชีวิตอยู่อย่างมีเมตตา มีความสุข เช่น คิดเพลิน ๆ ไปกับเรื่อง “ชีวิต” นิยามคำว่า “ชีวิต” กับ “ปัญหา” ความจริงอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ “ชีวิต” “ชีวิต” คืออะไร ? “อะไร” คือชีวิต? ชีวิต ความทุกข์ และการฆ่าตัวตาย ทำอย่างไรเมื่อชีวิตมีทุกข์ อะไรดีกว่าระหว่าง “อยู่” กับ “ตาย” ว่าด้วยชีวิตและความขัดแย้ง ความขัดแย้งกับ “เวลาและอารมณ์” ความขัดแย้งธรรมชาติของโลก ธรรมชาติของมนุษย์ จนถึง เพลินไปกับ ชีวิต “ดี” กับ “ไม่ดี” อะไรคือนิยาม? …

Continue reading »

» Newer posts