Category Archive: E-book

Apr 01

การเมืองกับการปกครองของไทย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “การเมืองกับการปกครองของไทย” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้ทั่วไปของการเมืองและการปกครอง พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย สถาบันทางการเมืองและการปกครองของไทย กระบวนการทางการเมืองของไทย การจัดระเบียบการปกครองของไทย และพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย ตำรา “การเมืองกับการปกครองของไทย” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๑๒ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง พัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย รัฐธรรมนูญ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ องค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ การเลือกตั้ง การบริหารราชการแผ่นดินและพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครองของไทย หวังว่า “การเมืองกับการปกครองของไทย” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการเมืองกับการปกครองแก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสืบไป

Apr 01

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔” เล่มนี้ เป็นรายวิชาหนึ่งในวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๖ บท มุ่งหมายให้ศึกษาจิตตานุปัสสนา คืออะไร หลักการและวิธีการปฏิบัติจิตตานุปัสสนา ๑๖ ขั้นตอน หลักการปฏิบัติและกระบวนการเกิดไตรสิกขา หลักการและกระบวนการเกิดไตรลักษณ์ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คืออะไร ความหมายและหลักการปฏิบัติวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ วิธีกำหนดสติแก้ไขสภาวธรรมในการปฏิบัติวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ ๑๖ คืออะไร ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตอนที่ ๔ หลักการปฏิบัติกรรมฐานเกี่ยวกับอิริยาบถนั่ง เดินจงกรม วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาญาณ ๑๖ การส่งและสอบอารมณ์กรรมฐานตลอดถึงอานิสงส์ในการปฏิบัติธรรม หวังว่า ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการปฏิบัติธรรม ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาและประชาชนผู้ที่สนใจตลอดไป

Apr 01

จักรวาลวิทยาแนวพุทธ เรื่อง โลกธาตุในพระไตรปิฎก

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ“จักรวาลวิทยาแนวพุทธ เรื่อง โลกธาตุในพระไตรปิฎก” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของ ศาสตราจารย์พิเศษอดิศักดิ์ ทองบุญ ราชบัณฑิตประเภทปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา สำนักธรรมศาสตร์และการเมืองราชบัณฑิตยสภา เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงจักรวาลวิทยา ซึ่งเป็นสาขาวิชาหนึ่งของดาราศาสตร์ที่ศึกษาองค์ประกอบของเอกภพและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในเอกภพและอธิบายถึงจักรวาลวิทยาแนวพุทธ คือ วิชาจักรวาลวิทยาที่ดำเนินตามข้อมูลหลักฐาน และคตินิยมทางพระพุทธศาสนา เช่น ในดาราศาสตร์ ตลอดถึงโลก จักรวาลและเอกภพอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้วิเคราะห์เนื้อหาสาระเกี่ยวกับโลกธาตุและจักรวาลได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมอ้างอิงคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาและคัมภีร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนอย่างเชื่อมโยงกันทำให้ได้เรียนรู้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับโลกและจักรวาลได้อย่างชัดเจน

Mar 30

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอกวิชาวินัยมุข(เล่ม๓) และกรรมบถ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอกวิชาวินัยมุข(เล่ม๓) และกรรมบถ” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้ผู้ศึกษารู้สึกหนักใจในการสอบเพราะมีเนื้อหาที่เข้าใจยากและมีส่วนที่จะต้องจดจำอยู่มาก แต่หนังสือคู่มือวิชาวินัยมุข (เล่ม ๓) และกรรมบถ เล่มนี้ มีการอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจง่ายขึ้น และครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของวิชาวินัยตามหลักสูตรที่แม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดไว้ทุกประการ และมีภาพการ์ตูนประกอบการอธิบาย ตอนท้ายเล่มยังมีตัวอย่างแนวคำถาม-คำตอบที่เคยออกสอบสนามหลวงใน พ.ศ. ต่าง ๆ มาให้อ่านเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบอีกด้วย หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชาวินัยมุข(เล่ม๓) และกรรมบถ” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาครอบคลุมตามหลักสูตรที่แม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดไว้ทุกประการ มีลำดับเนื้อหาชัดเจน อธิบายเข้าใจง่าย พร้อมมีรูปภาพประกอบ หวังว่า หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชาวินัยมุข(เล่ม๓) และกรรมบถ” เล่มนี้ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับ พระภิกษุสามเณร นักเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก ตลอดถึงครูอาจารย์และผู้สนใจทั่วไป

Mar 30

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชาธรรมวิจารณ์

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชาธรรมวิจารณ์”เล่มนี้ มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักสูตรธรรมสนามหลวง สำนวนกระชับ อ่านง่าย ทันสมัย ลำดับเนื้อหาชัดเจน และมีรูปภาพประกอบ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน ตลอดถึงผู้สนใจทั่วไป หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชาธรรมวิจารณ์”เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เนื้อหาของหนังสือยึดตามแนวของหนังสือ ๔ เล่ม คือ ๑) ธรรมวิจารณ์ ๒) สมถกัมมัฏฐาน พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ๓) สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระนิพนธ์ของ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เดช) และสมเด็จพระวันรัต (พุทฺธสิริ)๔) มหาสติปัฏฐานสูตรและคิริมานนทสูตร พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถร) ซึ่งเป็นหลักสูตรสนามหลวง เนื่องจากสำนวนแปลบาลีในหนังสือดังกล่าวเป็นการเฉพาะจึงคงไว้ แล้วให้ดูเทียบพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแทน และหนังสือดังกล่าวท่านเขียนในทำนองพรรณนาโวหาร ผู้เขียนจึงจับประเด็นสำคัญมากล่าวแบ่งให้เห็นเป็นหมวดๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนและผู้สนใจศึกษานิยามศัพท์บางคำ ใช้ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าวโดยรวมเนื้อหาของหนังสือครอบคลุมตามหลักสูตรสนามหลวงทุกประการ หวังว่า หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก …

Continue reading »

Mar 30

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชากระทู้ธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิชากระทู้ธรรม เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ๔ ข้อ คือ เพื่อให้ผู้เรียนท่องและจดจำพุทธศาสนสุภาษิตได้คล่องปากขึ้นใจ เพื่ออธิบายขยายความพุทธศาสนสุภาษิตได้แจ่มแจ้ง เพื่อนำพุทธศาสนสุภาษิตไปใช้ในการแสดงธรรม บรรยายธรรมได้ถูกต้องเป็นไปตามกาลเทศะ เพื่อเขียนหนังสืออย่างมีเหตุผล มีความรู้ความสามารถในการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉานและมีคุณภาให้แก่สังคม หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ ตอน ประกอบด้วยหลักการและวิธีการเขียนวิชากระทู้ธรรม โครงสร้าง การแต่งกระทู้ธรรมตามแนวข้อสอบธรรมสนามหลวงอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตตามลำดับหมวดครบถ้วน พร้อมมีรูปภาพประกอบ สื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ประกอบกับการยกตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิตมาอธิบายได้สอดคล้อง ทั้งผู้ขยันหมั่นศึกษา ฝึกเขียนอย่างสม่ำเสมอ ย่อมได้รับประโยชน์เต็มที่ หวังว่า “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณร นักเรียนและประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 30

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก พุทธานุพุทธประวัติ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิชา “พุทธานุพุทธประวัติ” เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียน ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ความเชื่อ และเหตุการณ์ยุคก่อนพุทธกาลและสมัยพุทธกาล ในชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย โดยศึกษาวิเคราะห์ถึงประวัติพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา เช่น การประสูติ การตรัสรู้ การประกาศพระศาสนาการปรินิพพาน โดยพิสดาร ตลอดถึงพุทธบริษัท เช่น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยประกาศพระพุทธศาสนา รวมถึงการรวบรวมคำสั่งสอนที่เรียกว่าสังคายนาไว้ด้วย หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก พุทธานุพุทธประวัติ” เล่มนี้มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักสูตรธรรมสนามหลวง มีลำดับเนื้อหาชัดเจน แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา ๑๔ ปริจเฉท มุ่งหมายให้ศึกษาเรียนรู้เประวัติศาสตร์ทั้งก่อนพุทธกาล และสมัยพุทธกาล โดยพิสดาร โดยการกล่าวถึงการประสูติ ตรัสรู้ประกาศพระพุทธศาสนา และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า รวมถึงพุทธบริษัทผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา รวมถึงประวัติการสังคายนาทั้ง ๕ ครั้ง อีกด้วย ในเล่มนี้ มีรูปภาพประกอบ สื่อให้เข้าได้เนื้อหาได้โดยง่าย และคำถาม-คำตอบ ที่สั้น เข้าใจง่าย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพระภิกษุสามเณรและผู้ที่สนใจทั่วไป หวังว่า “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก พุทธานุพุทธประวัติ” …

Continue reading »

Mar 30

มนุษย์กับสังคม ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา ““มนุษย์กับสังคม” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาล และสันติภาพ กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวการแก้ปัญหาแบบสันติวิธ และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย รายวิชา “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม พฤติกรรมมนุษย์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาลและสันติภาพ ปัญหาสังคมกับการจัดระเบียบทางสังคม รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยแบบสันติวิธี หวังว่า “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุงเล่มนี้คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ สืบไป

Mar 30

ภาษากับการสื่อสาร ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ภาษากับการสื่อสาร” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาหมวดทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ คุณค่าและระดับของภาษา ความหมาย ความสำคัญ ประเภท องค์ประกอบของการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบันการเปลี่ยน แปลงทางภาษา การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย ตำรา “ภาษากับการสื่อสาร” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๙ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเกี่ยวกับภาษา การสื่อสาร ภาษากับการสื่อสาร พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมถึงงานสารบรรณ หวังว่า “ภาษากับการสื่อสาร” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านภาษา และการสื่อสาร แก่คณาจารย์ นิสิต และประชาชน สืบไป

Mar 30

งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา” เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา ศึกษางานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น เตภูมิกถา ของพญาลิไท มังคลัตถทีปนี ของพระสิริมังคลาจารย์ กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว) วัดพระเชตุพน พระมงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แก่นพุทธศาสน์ของพุทธทาสภิกขุ กรรมทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิทยาของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬา-ลงกรณวิทยาลัย” และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย รายวิชา “งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๗ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยและล้านนา สมัยอยุธยาและธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันตลอดถึงให้ศึกษาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เช่น พุทธธรรม วิมุตติมรรค รวมถึงงานวิจัยทางพระพุทธ-ศาสนาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก หวังว่า “งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธ-ศาสนา” ฉบับปรับปรุงเล่มนี้ …

Continue reading »

Older posts «

» Newer posts