Mar 16

มังคลัตถทีปนีภาค๑เล่ม๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

มังคลัตถทีปนี เป็นคัมภีร์ที่ทรงคุณค่าทางพระพุทธศาสนาอีกคัมภีร์หนึ่งที่พระสิริมังคลาจารย์ นักปราชญ์ชาวล้านนา ได้รจนาขึ้นเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ ในขณะอยู่จำพรรษา ณ วัดสวนขวัญ ปัจจุบันคือวัดตำหนัก จังหวัดเชียงใหม่ เพื่ออธิบายความในมงคลสูตร แห่งขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในรูปของคาถาล้วนๆ โดยอธิบายความแห่งพระพุทธพจน์ในมงคลสูตร มีอรรถกถาอธิบายความชื่อว่าปรมัตถโชติกา ที่พระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ โดยท่านอธิบายถึงความหมายของพระสูตรนี้โดยละเอียด ด้วยภาษาบาลี อันไพเราะสละสลวย โดยนำเรื่องจากคัมภีร์อื่นๆ มาอธิบายประกอบอย่างกลมกลืนสอดคล้องกับเนื้อหาสาระเป็นอย่างนี้ มีการอ้างอิงที่ก้าวหน้าเกินยุคสมัย ถือได้ว่า เป็นการอธิบายข้อความที่ยากให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายอย่างชัดเจน อีกทั้งเพื่อให้ชาวล้านนาทราบเรื่องราวโดยละเอียดตามแนวของพระพุทธศาสนาได้เข้าใจเรื่องราวชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากหลายๆ แห่ง อีกทั้งผลงานของท่านยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในการแสวงหาความรู้ด้านพระพุทธ ศาสนาของชาวล้านนาได้อย่างเป็นอย่างดี มังคลัตถทีปนี แสดงเนื้อหามงคล ๓๘ ประการ คือ (๑) การไม่คบคนพาล (๒) การคบแต่บัณฑิต (๓) การบูชาคนที่ควรบูชา (๔) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (๕) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (๖) การตั้งตนไว้ชอบ (๗) ความเป็นพหูสูต (๘) ความเป็นผู้มีศิลปะ (๙) วินัยที่ศึกษามาดี (๑๐) วาจาสุภาษิต (๑๑) การบำรุงมารดาบิดา (๑๒) การสงเคราะห์บุตร (๑๓) การสงเคราะห์ภรรยา (๑๔) การงานที่ไม่อากูล (๑๕) การให้ทาน (๑๖) การประพฤติธรรม (๑๗) การสงเคราะห์ญาติ (๑๘) การงานที่ไม่มีโทษ (๑๙) การงดเว้นจากบาป (๒๐) การเว้นจากการดื่มน้ำเมา (๒๑) ความไม่ประมาทในธรรม(๒๒) ความเคารพ (๒๓) ความถ่อมตน (๒๔) ความสันโดษ (๒๕) ความกตัญญู (๒๖) การฟังธรรมตามกาล (๒๗) ความอดทน (๒๘) ความเป็นคนว่าง่าย (๒๙) การพบเห็นสมณะ (๓๐) การสนทนาธรรมตามกาล (๓๑) การเผาผลาญบาป (๓๒) การประพฤติพรหมจรรย์ (๓๓) การเห็นอริยสัจ (๓๔) การทำนิพพานให้แจ้ง (๓๕) จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว (๓๖) จิตไม่เศร้าโศก (๓๗) จิตปราศจากธุลี (๓๘) จิตเกษม มังคลัตถทีปนี ทางคณะสงฆ์ไทยได้ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มาแต่โบราณ แม้ในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้หลักสูตรชั้นประโยค ป.ธ.๔-๕ วิชาแปลมคธเป็นไทย และชั้นประโยค ป.ธ.๗ วิชาแปลไทยเป็นมคธ มังคลัตถทีปนี ภาค ๑ เล่ม ๑ เล่มนี้ แปลเป็นภาษาไทยโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา ๖ มงคล กล่าวคือ (๑) การไม่คบคนพาล (๒) การคบแต่บัณฑิต (๓) การบูชาคนที่ควรบูชา (๔) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม (๕) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน (๖) การตั้งตนไว้ชอบ เนื้อหาแต่ละมงคล มีสำนวนการแปลที่สละสลวย มีการตั้งข้อ ย่อหน้า มีการทำเชิงอรรถอธิบายเนื้อหาบางคำเพื่อให้เข้าใจง่าย จะอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการด้านพระพุทธ ศาสนา แก่พระภิกษุ สามเณร นิสิต และประชาชนที่ใฝ่การศึกษา

Mar 12

หนังสือ E-book สำนักพิมพ์ มจร

สำนักพิมพ์ มจร ได้จัดทำหนังสือ E-book เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ยุคใหม่ ประหยัดราคา และรักษาสิ่งแวดล้อม หากท่านใดสนใจสามารถจัดซื้อได้ทางเว็บไซต์ www.mebmarket.com โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่มได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

http://pbs.mcu.ac.th/?page_id=1838

 

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๘ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๘ แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๘ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓วรรค คือตัณหาวรรค  หมวดว่าด้วยตัณหา ภิกขุวรรค หมวดว่าด้วยภิกษุ  มุ่งเน้นเกี่ยวกับภิกษุ พราหมณวรรค หมวดว่าด้วยพราหมณ์

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๘  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวตัณหาวรรคหมวดว่าด้วยตัณหามี๑๒ เรื่อง ๒๖ คาถาในวรรคนี้ มุ่งเน้นถึงตัณหาคำว่าตัณหาหมายถึงความทะยานอยากในอารมณ์ทั้งหลายมี๓ประการคือ (๑) กาม ตัณหา (๒) ภวตัณหา (๓) วิภวตัณหา ภิกขุวรรคหมวดว่าด้วยภิกษุ มี ๑๒เรื่อง ๒๓คาถาในวรรคนี้ มุ่งเน้นภิกษุคำว่าภิกษุในวรรคนี้หมายถึงบุคคลผู้สำรวมมือเท้าและวาจาไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายมุ่งเจริญกัมมัฏฐาน และ พราหมณวรรคหมวดว่าด้วยพราหมณ์  มี๔๐เรื่อง ๔๒ คาถาในวรรคนี้ มุ่งเน้นพราหมณ์คำว่าพราหมณ์ตามเนื้อหาสาระในวรรคนี้หมายถึงทั้งพระขีณาสพและพราหมณ์โดยชาติกำเนิด แต่พระผู้มีพระภาคทรงมุ่งแสดงถึงคุณสมบัติของพระขีณาสพเป็นหลัก

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗ แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๗ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๖วรรค คือ มลวรรค       หมวดว่าด้วยมลทิน  ธัมมัฏฐวรรค หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม  มัคควรรค หมวดว่าด้วยมรรค  ปกิณณกวรรค หมวดว่าด้วยเบ็ดเตล็ด  นิรยวรรค หมวดว่าด้วยนรก นาควรรค  หมวดว่าด้วยช้าง

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗  แปลโดยอรรถ” เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๖  วรรค เช่น มลวรรคหมวดว่าด้วยมลทินมีจำนวน ๑๒เรื่อง ๒๑คาถา ในวรรคนี้ คำว่ามลทินหมายถึงกิเลสต่างๆหรือส่วนเสียต่างๆเช่นในเรื่องบุตรของคนฆ่าโคและเรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่งมลทินหมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๖ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๖วรรคคือ อัตตวรรค หมวดว่าด้วยตน โลกวรรคหมวดว่าด้วยโลก พุทธวรรคหมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้า สุขวรรค หมวดว่าด้วยความสุขปิยวรรคหมวดว่าด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก โกธวรรค หมวดว่าด้วยความโกรธ

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราว ๖ วรรค เช่น อัตตวรรค หมวดว่าด้วยตน มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๐ คาถา คำว่าตนในวรรคนี้ทรงมุ่งตรัสในระดับโลกิยะมุ่งหมายถึงผู้กระทำ(สยกัตตา)โดยทั่วไปเช่นในเรื่องโพธิราชกุมารข้อความที่ตรัสว่า “ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก … พึงประคับประคองตนไว้ให้ได้” หมายถึงถ้าเป็นคฤหัสถ์เมื่อรักตนก็ควรทำบุญมีทานและศีลเป็นต้นถ้าเป็นบรรพชิตก็ควรขวนขวายทำวัตรปฏิบัติศึกษาปริยัติและเจริญกัมมัฏฐานเป็นต้น

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๕ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓ วรรค คือปาปวรรค  หมวดว่าด้วยบาป  ทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา  มุ่งเน้นเกี่ยวกับการลงทัณฑ์ ชราวรรค หมวดว่าด้วยชรา มุ่งเน้นเกี่ยวกับความชรา คือความแก่  ความทรุดโทรม

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวปาปวรรค  หมวดว่าด้วยบาป  มีจำนวน ๑๒ เรื่อง ๑๖ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นถึงบาปคำว่าบาปหมายถึงกายทุจริตวจีทุจริตมโนทุจริตหรืออกุศลจิต ทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา  มีจำนวน ๑๑ เรื่อง ๑๗ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นการลงทัณฑ์คำว่าลงทัณฑ์คือการใช้กำลังทำร้ายเข่นฆ่าหรือเบียดเบียนบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนชราวรรค หมวดว่าด้วยชรา มีจำนวน ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นความชราคำว่าชราหมายถึงความแก่ความทรุดโทรมจัดเป็นกองหนึ่งในไฟ๑๑กองที่แผดเผาสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๔ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓  วรรค คือ (๑) ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต  (๒) อรหันตวรรค หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ (๓) สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้  แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓ วรรค คือ ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต  มีจำนวน ๑๑ เรื่อง  ๑๖ คาถา คำว่า บัณฑิต หมายถึงผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคือกุศลกรรมบถ  ๑๐ ประการ โดยสรุปก็คือทำดี พูดดี คิดดี อรหันตวรรค  หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๔ คาถา  คำว่า อรหันต์  หมายถึงผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสด้วยอริยมรรค  หรือผู้อยู่ห่างไกลจากกิเลส ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ ผู้ไม่มีที่ลับในการทำบาป  หมายถึงผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนสามารถกำจัดกิเลสได้หมด สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน  มีจำนวน ๑๔ เรื่อง ๑๐ คาถา  ในวรรคนี้เน้นลักษณะเปรียบเทียบกันระหว่างสิ่งที่เป็นสาระ การกระทำที่เป็นสาระ  และชีวิตที่มีสาระ จำนวนหนึ่ง  กับสิ่งที่ไร้สาระ  การกระทำที่ไร้สาระ และชีวิตที่ไร้สาระ จำนวน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๓ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ ปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้  แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ มี ๑๒  เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้จะประมวลเรื่องราวที่มีเนื้อหาการเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้กับธรรมบ้าง ระหว่างดอกไม้กับกิเลสบ้าง  ระหว่างอาการที่เก็บดอกไม้กับอาการอื่นๆ บ้าง  เช่น เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป มีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างการเลือกเก็บดอกไม้ของนายมาลามารกับการเลือกปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๗ ๓๗ ประการของพระเสขะ  ในเรื่องภิกษุผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน  มีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างการตัดดอกไม้กับการตัดวัฏฏะในภูมิ ๓ อันได้แก่กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๒ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ อัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท จิตตวรรค หมวดว่าด้วยการฝึกจิต

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวอัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มี ๙  เรื่อง ๑๒ คาถา ในวรรคนี้จะประมวลกล่าวถึงความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความสำเร็จผลที่พึงปรารถนาต่างๆ โดยที่สุดเป็นทางแห่งการบรรลุอมตนิพพาน มารวมไว้ด้วยกัน เช่น เรื่องพระนางสามาวดี ว่าด้วยความไม่ประมาทเป็นเหตุให้บรรลุนิพพานปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ แปลโดยอรรถ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  แปลโดยอรรถ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๑ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๑  วรรค คือ ยมกวรรค หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน  มีจำนวน ๑๔ เรื่อง  ๒๐ คาถา ในวรรคนี้เน้นถึงธรรมที่ตรงกันข้าม ถูกประมวลมาไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้ามนั้น คือความคิดชั่วกับความคิดดี การจองเวรกับการไม่จองเวร เป็นต้น

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  แปลโดยอรรถ”เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวถึงธรรมที่ตรงกันข้าม  ถูกรวบรวมไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้าม ได้แก่ความคิดไม่ดี กับความคิดดี

Older posts «

» Newer posts