Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๘ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๘  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๘ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว  จำนวน ๓ วรรค คือ

ตัณหาวรรค  หมวดว่าด้วยตัณหา มุ่งเน้นให้รู้จักตัณหา (ความทะยายอยาก) ๓ ประการ คือ (๑) กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม  (๒) ภวตัณหา ความอยากเป็น (๓)  วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็น  ตัณหา ๓ ประการนี้  เกิดขึ้นแก่คนที่ประมาท เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่า และเกิดแก่ผู้ที่กำหนัดยินดีด้วยราคะ ผลจากการถูกตัณหาครอบงำ  ผู้ที่ตกอยู่ใต้อำนาจของตัณหา ย่อมเร่ร่อนไปมาเหมือนวานร ที่ต้องการผลไม้เที่ยวเร่ร่อนไปมาในป่า  วิธีกำจัดตัณหา คือมีปัญญา เจริญฌาน  ผลดีจากการกำจัดตัณหาได้ ทำให้ความโศกสิ้นไป  เหมือนหยาบน้ำกลิ้งตกไปจากใบบัว  ละทุกข์ทั้งปวงได้ ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป  และทำให้สิ้นตัณหา

ภิกขุวรรค หมวดว่าด้วยภิกษุ  มุ่งเน้นเกี่ยวกับภิกษุ ทรงสอนว่า สิ่งแรกที่ภิกษุผู้มีปัญญาในศาสนานี้ต้องกระทำคือสำรวมอินทรีย์ มักน้อยสันโดษ  ระมัดระวังในวินัยบัญญัติ คบกัลยาณมิตร ผู้ขยันขันแข็ง มีอาชีพสะอาด  ทรงสอนไม่ให้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย มุ่งเจริญกัมมัฏฐาน  ไม่ถือมั่นในรูป ไม่ประมาท  รู้จักตักเตือนตนเอง รู้จักพึ่งตนเอง

พราหมณวรรค หมวดว่าด้วยพราหมณ์ มุ่งเน้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของพราหมณ์ ตามพุทธทรรศนะ  เดิมที  คำว่า  พราหมณ์  เป็นคำเรียกวรรณะพราหมณ์ของชาวอินเดีย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น  พระองค์ทรงบัญญัติคุณสมบัติของพราหมณ์ใหม่ ซึ่งก็คือ พระขีณาสพนั่นเอง  คุณสมบัติของพราหมณ์ หรือพระขีณาสพที่ทรงแสดงไว้ในวรรคนี้ เป็นคุณสมบัติและปฏิปทาของพระสาวกแต่ละท่าน เช่น ไม่มีกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ มีความสำรวมระวัง  มีสัจจะ  มีธรรม  เป็นผู้สะอาด  ทรงแสดงเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง ในการนำไปปฏิบัติ  มีจำนวนพระสูตรถึง ๓๑ สูตร

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๘  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวตัณหาวรรคหมวดว่าด้วยตัณหา มี๑๒  เรื่อง๒๖ คาถา ในวรรคนี้ มุ่งเน้นถึงตัณหา คำว่า ตัณหา หมายถึงความทะยานอยากในอารมณ์ทั้งหลายมี ๓ ประการ คือ (๑) กามตัณหา (๒) ภวตัณหา (๓) วิภวตัณหา แยกเป็นสายได้ ๓๖ สาย คือ ตัณหา ๓ ประการในอายตนะภายใน ๖ ประการ เป็น ๑๘ สาย (๓ x ๖ = ๑๘) และตัณหา ๓ ประการ ในอายตนะภายนอก ๖ ประการ เป็น ๑๘ สาย (๓ x ๖ = ๑๘) (ขุ.ธ.อ. ๘/๑๐) สาระสำคัญในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตัณหาย่อมเจริญเพิ่มพูนแก่บุคคลผู้ประมาทปราศจากสติ ไม่เจริญฌาน วิปัสสนา มรรค และผล (ขุ.ธ.อ. ๘/๖) เมื่อบุคคลถูกตัณหาครอบงำ ย่อมเศร้าโศก แต่เมื่อสามารถครอบงำตัณหาได้ ขุดรากตัณหาได้ด้วยอรหัตตมัคคญาณ ย่อมไม่เศร้าโศก

ภิกขุวรรค  หมวดว่าด้วยภิกษุ มี ๑๒  เรื่อง ๒๓ คาถา ในวรรคนี้ มุ่งเน้นภิกษุ คำว่า ภิกษุ ในวรรคนี้หมายถึงบุคคลผู้สำรวมมือ เท้า และวาจา ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย มุ่งเจริญกัมมัฏฐาน (ดูเรื่องแห่งภิกษุฆ่าหงส์) หมายถึงบุคคลผู้ไม่ถือมั่นในนามรูป (ดูเรื่องแห่งพราหมณ์ถวายทานอันเลิศ ๕ อย่าง) ในวรรคนี้มีสาระสำคัญที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเกี่ยวกับภิกษุ และเป็นสาระสำคัญที่ปรารภพฤติกรรมซึ่งแตกต่างกันของภิกษุแต่ละรูปแต่ละกลุ่ม เช่น เรื่องภิกษุ ๕ รูป ผู้สำรวมทวารรูปละทวาร ทรงแสดง ว่า ภิกษุผู้สำรวมทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย วาจา และใจ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะ เรื่องภิกษุฆ่าหงส์ ทรงแสดงว่า บุคคลผู้สำรวมมือ เท้า วาจา สำรวมตน ยินดีเจริญกัมมัฏฐาน มีจิตตั้งมั่น อยู่ผู้เดียว สันโดษ เรียกว่า ภิกษุ และเรื่องพระนังคลกูฏเถระผู้เตือนตนเอง เจริญกัมมัฏฐานจนสามารถบรรลุอรหัตตผลได้ พระผู้มีพระภาคทรงปรารภท่านเป็นแบบอย่างแก่ภิกษุทั้งหลายว่า จงเตือนตนเอง จงคุ้มครองตนเอง มีสติป้องกันอกุศลกรรมมิให้เกิดในตน เมื่อทำได้อย่างนี้ก็จักอยู่ เป็นสุข

พราหมณวรรค  หมวดว่าด้วยพราหมณ์  มี  ๔๐ เรื่อง ๔๒ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ ตามเนื้อหาสาระ ในวรรคนี้หมายถึงทั้งพระขีณาสพและพราหมณ์โดยชาติกำเนิด แต่พระผู้มีพระภาคทรงมุ่งแสดงถึงคุณสมบัติของพระขีณาสพเป็นหลัก เช่นในเรื่องพราหมณ์ผู้เลื่อมใสมาก พระผู้มีพระภาคทรงเรียกบุคคลผู้ตัดกระแสคือตัณหาได้ รู้แจ้งสภาวะที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ (นิพพาน) ว่า พราหมณ์ ในเรื่องภิกษุ หลายรูป ทรงเรียกบุคคลผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งสองคือสมถะและวิปัสสนา ปราศจาก โยคะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชาว่า พราหมณ์ และในเรื่องบรรพชิตรูปใด รูปหนึ่ง ทรงเรียกบุคคลผู้ลอยบาปได้ว่า พราหมณ์

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๗ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว  จำนวน ๖ วรรค คือ

มลวรรค หมวดว่าด้วยมลทิน  ในวรรคนี้เน้นถึงมลทินต่างๆ เช่น  มลทินของชีวิต : ได้แก่ กิเลสและอกุศลธรรม มลทินของมนต์  : การไม่ท่องบ่น มลทินของบ้านเรือน  : ความไม่ขยัน

ธัมมัฏฐวรรค หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ในวรรคนี้ เน้นถึงคุณธรรมที่ทำให้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม โดยทรงแสดงไปตามหน้าที่ของแต่ละบุคคลที่ทรงตรัสถึง เช่น คุณธรรมของผู้พิพากษา คือวินิจฉัยคดี และสาเหตุแหงคดี  ทั้งฝ่ายที่เป็นจริง และไม่เป็นจริง

มัคควรรค หมวดว่าด้วยมรรค  ในวรรคนี้ เน้นถึงอริยมรรค มีองค์ ๘ว่าเป็นทางอันประเสริฐที่สุด ทรงย้ำว่า “ทางเพื่อความหมดจดแห่งทรรศนะคือทางนี้เท่านั้น มิใช่ทางอื่น” เหตุที่ทำให้ไม่พบทาง(อริยมรรค)  คือไม่ขยัน เกียจคร้าน  มีความคิดใฝ่ต่ำ  ปราศจากความเพียร  จึงไม่ประสบทางด้วยละวิธีที่จะทำให้พบทาง คือ รักษากาย วาจา และสำรวมใจ

ปกิณณกวรรค หมวดว่าด้วยเบ็ดเตล็ด  ในวรรคนี้ เน้นถึงหลักธรรมทั่วไป เช่น ในเรื่องบุรพกรรมของพระพุทธองค์ ทรงสอนให้สละสุขเล็กน้อยเพื่อความสุขอันยิ่งใหญ่ ในเรื่องภิกษุโอรสของเข้าวัชชี ผู้เห็นชาวเมืองจัดงานสมโภช คิดจะสึกไปครองเรือน ทรงสอนว่า  การบวชเป็นของยาก

นิรยวรรค  หมวดว่าด้วยนรก   ในวรรคนี้ ทรงสอนเรื่องนรก  ซึ่งเป็นสถานที่รองรับคนชั่ว  รวมทั้งผู้ที่ต้องตกนรก  ซึ่งเป็นผู้ที่ทำกรรมชั่วต่างๆ  เช่น ชอบกล่าวคำไม่จริง  ทำความชั่ว  ซ้ำยังโกหกว่าไม่ได้ทำ

นาควรรค  หมวดว่าด้วยช้าง ในวรรคนี้ เน้นการสอนเรื่องการฝึกตน เปรียบเทียบกับการฝึกช้าง  เนื่องจากช้างเป็นสัตว์สำคัญในการสงคราม  การเดินทาง  และเป็นสัตว์ที่ฝึกง่าย  เมื่อได้รับการฝึกดีแล้ว  ย่อมเป็นสัตว์ฉลาด  มีความอดทนสูง  ผู้ที่ฝึกตนได้แล้ว ประเสริฐกว่าช้างที่ฝึกแล้ว  ผู้ที่ไม่ฝึกฝนตน พระองค์ได้ตรัสเปรียบเทียบกับหมู่

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวมลวรรค หมวดว่าด้วยมลทิน มีจำนวน ๑๒ เรื่อง ๒๑ คาถา ในวรรคนี้ คำว่า มลทิน หมายถึงกิเลสต่าง ๆ หรือส่วนเสียต่าง ๆ เช่น ในเรื่องบุตรของคนฆ่าโค และเรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง มลทิน หมายถึงกิเลสมีราคะ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๗/๗) ในเรื่องพระติสสเถระ มลทิน หมายถึงอกุศลกรรม ความปราศจากปัญญาพิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑) ในเรื่องพระโลลุทายี มลทิน หมายถึงการไม่ท่องบ่นมนตร์ เป็นเหตุให้มนตร์เสื่อม หมายถึงความไม่ขยันหมั่นเพียรซ่อมแซมบ้านเรือน เป็นเหตุให้บ้านเรือนทรุดโทรม หมายถึงความเกียจคร้านไม่หมั่นชำระร่างกาย เป็นเหตุให้มีผิวพรรณมัวหมอง และหมายถึงความประมาทไม่รักษาทรัพย์ เป็นเหตุให้ทรัพย์ สูญหาย ไม่คุ้มครองอินทรีย์ ๖ เป็นเหตุให้กิเลสเข้ามาครอบงำได้ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๓) ในเรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง มลทิน หมายถึงความประพฤตินอกใจสามีหรือภรรยา ความตระหนี่ และอกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น

ธัมมัฏฐวรรค หมวดว่าด้วยผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๗ คาถา ในวรรคนี้  คำว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีความหมายตามนัย เช่น  ในเรื่องมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา หมายถึง ผู้ปราศจากอคติ ๔ มีฉันทาคติ เป็นต้น พิพากษาคดีโดยธรรม ในเรื่องพระ ฉัพพัคคีย์ หมายถึงผู้ไม่มีเวรไม่มีภัย ในเรื่องพระเอกุทานขีณาสพ หมายถึงผู้ไม่ ประมาท ในเรื่องพระลกุณฑกภัททิยเถระ หมายถึงพระเถระผู้ตรัสรู้อริยสัจ บรรลุโลกุตตรธรรม ๙ ประการ มีอหิงสา สัญญมะ(ศีล) ทมะ(การสำรวมอินทรีย์) ปราศจากกิเลส ในเรื่องภิกษุหลายรูป หมายถึงผู้ตัดความริษยา มีปัญญา ในเรื่องหัตถกภิกษุ หมายถึงสมณะผู้ระงับกิเลสทั้งหลายได้ ในเรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง หมายถึงภิกษุผู้ลอยบาปทั้งหลายได้ เป็นอยู่ด้วยปัญญา ในเรื่องเดียรถีย์ หมายถึงมุนี ผู้ฉลาดเลือกชั่งแต่สิ่งดีละสิ่งชั่ว ในเรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ หมายถึงพระอริยะผู้ ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ในเรื่องภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้นหลายรูป หมายถึงผู้มีปาริสุทธิศีล ๔ มีธุดงคคุณ ๑๓ ประการ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก บรรลุสมาบัติ ๘ ได้สัมผัสเนกขัมมสุข

มัคควรรค หมวดว่าด้วยมรรค มีจำนวน ๑๒ เรื่อง ๑๗ คาถา ในวรรคนี้ คำว่า มรรค หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เป็นต้น หมายถึงวิปัสสนาปัญญา หมายถึงการมนสิการโดยแยบคายในอารมณ์ ๓๘ ประการ อันเป็นทางแห่งปัญญา (ขุ.ธ.อ. ๗/๖๖) หมายถึงการตัดป่าคือกิเลสมีราคะ เป็นต้น มีสาระสำคัญ เช่น ในเรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ เรื่องสูกรเปรต เรื่อง สัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ และเรื่องนางปฏาจารา ทรงแสดงว่า อริยมรรคมี องค์ ๘ เป็นทางแห่งความสิ้นทุกข์ ตรัสรู้อริยสัจ บรรลุวิราคธรรมคือนิพพาน เป็นทางพ้นจากบ่วงแห่งมารคือวัฏฏะ ในเรื่องอนิจจลักษณะ เป็นต้น มรรค หมายถึงวิปัสสนาที่พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นเหตุให้เบื่อหน่ายในทุกข์

ปกิณณกวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด มีจำนวน ๙ เรื่อง ๑๖ คาถา เน้นถึงธรรมทั่วไป ไม่ระบุชัดถึงธรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ในเรื่องบุพกรรมของพระองค์ ทรงแสดงถึงเรื่องการสละความสุขเล็กน้อยเพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่คือนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๘๗) ในเรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ ทรงแสดงเรื่องความมุ่งหวังแต่สุขเพื่อตนแล้วก่อทุกข์แก่ผู้อื่นเป็นเหตุให้ไม่อาจพ้นจากเวรได้ เรื่องพระลกุณฏกภัททิยะ ทรงแสดงว่า การฆ่ามารดา บิดา กษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ ชาวแว่นแคว้น และเจ้าพนักงานได้ จัดว่าเป็นพราหมณ์ผู้อยู่อย่างไร้ทุกข์ ความหมายของคำเหล่านั้น เช่น มารดา หมายถึงตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดในภพต่าง ๆ บิดา หมายถึงอัสมิมานะ กษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ)

นิรยวรรค หมวดว่าด้วยคนทำความชั่วตกนรก มีจำนวน  ๙ เรื่อง ๑๔ คาถา ในวรรคนี้ คำว่า ความชั่ว มีความหมายหลายนัย  เช่น เรื่องปริพาชิกาชื่อสุนทรี หมายถึงการกล่าวตู่ผู้อื่นด้วยเรื่องเท็จ และการทำความชั่วแล้วปิดบังว่า มิได้ทำเป็นเหตุให้ได้รับผลคือตกนรก เรื่องภิกษุผู้อยู่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา หมายถึงความทุศีลพูดอวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตนเพื่อแสวงหาลาภเป็นเหตุให้ได้รับผลคือตกนรก ในเรื่องนี้ทรงแสดงเชิงเปรียบเทียบให้เห็นผลต่างระหว่างความทุกข์ที่ได้รับ จากความเป็นผู้ทุศีลที่บริโภคอาหารซึ่งชาวบ้านถวายแล้วต้องตกนรกหลายแสนกัปกับความทุกข์คือความร้อนที่ได้รับจากการกลืนกินก้อนเหล็กร้อนว่า ความทุกข์ที่ได้รับจากการกลืนกินก้อนเหล็กร้อนนั้นมีผลน้อยกว่า เพราะแม้จะได้รับทุกขเวทนาก็ได้รับเพียงในชาตินี้เท่านั้น

นาควรรค หมวดว่าด้วยช้าง มีจำนวน ๘ เรื่อง         ๑๔ คาถา ในวรรคนี้  คำว่า ช้าง แปลจากนาคศัพท์ เพราะนาคศัพท์มาจาก นค แปลว่า ภูเขา สัตว์ที่ใหญ่โตดุจภูเขา ชื่อว่านาคะ (ช้าง) (อภิธา.ฏีกา คาถาที่ ๓๖๐) นี้เป็นความหมายทางคดีโลก แต่ทางคดีธรรมมีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา และใจ (๒) หมายถึง ผู้ไม่ถึงอคติ ๔ ไม่ดำเนินชีวิตด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา และอนุสัย (๓) หมายถึงผู้ไม่หวนกลับมาหากิเลสที่ละได้แล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๑) ช้างเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง การค้า และการสงคราม เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญมากในครั้งพุทธกาล เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ฝึกหัดได้ดี ฉลาดแสนรู้ พระพุทธองค์ทรงแสดงเชิงประยุกต์เปรียบเทียบระหว่างการฝึกตนกับการฝึกช้าง เปรียบเทียบระหว่างคนที่ฝึกตนได้กับช้างที่ได้รับการฝึกหัดมาดีว่า มีผลคล้ายคลึงกัน

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๖ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว  จำนวน ๖ วรรค คือ

อัตตวรรค หมวดว่าด้วยตน ในวรรคนี้  เน้นถึงตน คำว่า ตน ในที่นี้หมายถึงผู้กระทำ (สยกัตตา) โดยทั่วไป  ไม่ได้หมายถึงอัตตา หรืออาตมัน  ในศาสนาพราหมณ์  พระองค์ทรงสอนให้รู้จักรักษาตนด้วยการทำดี  ให้รู้จักวางจังหวะของชีวิต  การทำหน้าที่ต่อผู้อื่น  ไม่ควรทำหน้าที่ของตนให้บกพร่อง  ก่อนจะสอนคนอื่น ควรพยายามสอนตนให้ได้ก่อน เพื่อป้องกันความเดือดร้อนที่จะเกิดแก่ตน

โลกวรรค หมวดว่าด้วยโลก เน้นถึงโลก  คำว่า โลก  มีความหมายหลายอย่าง คือ โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือแผ่นดิน โลกคือแผ่นดิน  โลกคือภพนี้และภพหน้า  โลกคือขันธ์ ๕ โลกคือชาวโลก  โลกคือวัฏทุกข์   โดยมุ่งหมายให้อยู่ในโลกอย่างไม่ประมาท ไม่ควรเป็นคนรกโลก  ให้อยู่อย่างมีคุณธรรม จึงจะมีความสุข  และทรงสอนให้เห็นความเป็นจริงของโลก

พุทธวรรค หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้า  ในวรรคนี้เน้นถึงพระพุทธเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้า พุทธภาวะ และคำสั่งสอน  คำว่า พระพุทธเจ้า คือผู้ที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยพระองค์เอง  และทรงสอนสามารถสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้ การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นยากยิ่งนัก   พุทธภาวะ คือ คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า  เช่นทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด  มีพระญาณหาที่สุดมิได้  ไม่มีร่องรอย ทรงก้าวล่วงมารและเสนามาร  สามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ เช่น ยมกปาฏิหาริย์  ทรงเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของมนุษย์  เพราะทำให้ถึงความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง และหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง  การทำกุศลให้ถึงพร้อม  การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

สุขวรรค หมวดว่าด้วยความสุข ในวรรคนี้เน้นถึงวิธีสร้างความสุขที่แท้จริงให้แก่ชีวิต  คือ ไม่ก่อเวร  ไม่ทำตนให้เดือดร้อน  กำจัดความกังวล  ละความชนะและความพ่ายแพ้  แสวงหาความสงบ  คบหาพระอริยะ อยู่ร่วมกับนักปราชญ์  ไม่คบคนพาล โดยทรงชี้ให้เห็นว่า การแข่งดีมุ่งจะเอาชนะผู้อื่น ทำให้ไม่มีความสุข ก่อให้เกิดภัยเวรและทรงแสดงถึงสิ่งสุดยอดต่างๆ เช่น ยอดแห่งไฟ : ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ยอดแห่งทรัพย์ :  ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง

ปิยวรรค หมวดว่าด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก  คำว่า สิ่งเป็นที่รัก มีความหมาย ๒ นัย คือ ๑.ทางโลก หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรรมารมณ์  ที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ  หรือหมายถึงกิเลสตัณหา ๒.ทางธรรม หมายถึง บุญกุศล  ศีล สมาธิ ปัญญา นิพพาน  และทรงสอนวิธีปฏิบัติต่อสิ่งอันเป็นที่รัก

โกธวรรค หมวดว่าด้วยความโกรธ เน้นถึงความโกรธ  โดยทรงสอนเรื่องความโกรธ  โทษแห่งความโกรธ  วิธีละความโกรธ ประโยชน์ของการละความโกรธ วิธีละความโกรธ  คือให้เห็นว่าเป็นโลกธรรม  มีมาทุกยุคทุกสมัย  เช่น ความโกรธที่เกิดจากถูกนินทาว่าร้าย  คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก  หน้าที่ของเราคือ  สำรวยกาย วาจา ใจ ไม่ไห้กำเริบ ถ้ามีคนโกรธ พึงปฏิบัติตามธรรม ด้วยคำว่า บุคคลพึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวอัตตวรรค หมวดว่าด้วยตน มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๐ คาถา คำว่า ตน ในวรรคนี้ ทรงมุ่งตรัส ในระดับโลกิยะ มุ่งหมายถึงผู้กระทำ(สยกัตตา)โดยทั่วไป เช่น ในเรื่องโพธิราชกุมาร ข้อความที่ตรัสว่า “ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก … พึงประคับประคองตนไว้ให้ได้” หมายถึง ถ้าเป็นคฤหัสถ์เมื่อรักตน ก็ควรทำบุญมีทานและศีล เป็นต้น ถ้าเป็นบรรพชิต ก็ควรขวนขวายทำวัตรปฏิบัติ ศึกษาปริยัติและเจริญกัมมัฏฐาน เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๕) หรือ เช่น ในเรื่องมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ ข้อความที่ตรัสว่า “ตนแลเป็นที่พึงของตน” หมายถึงตนเองเท่านั้นที่จะสามารถทำกุศลแล้วเข้าถึงสวรรค์ หรือบรรลุมรรคผล ได้ที่พึ่งคืออรหัตตผลได้ ไม่มีใครอื่นจะทำให้ได้ เป็นต้น (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๕)

โลกวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องโลก มีจำนวน  ๑๑ เรื่อง ๑๒ คาถา คำว่า โลก ในวรรคนี้ มีความหมายหลายนัย เข่น ในเรื่องภิกษุหนุ่ม โลก หมายถึงโลกคือหมู่สัตว์ หรือโลกคือแผ่นดิน ในเรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ เรื่องนางจิญจมาณวิกา เรื่องอสทิสทาน และเรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี โลก หมายถึงกาลเวลาคือภพนี้และ ภพหน้า ในเรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ๕๐๐ รูป เรื่องอภัยราชกุมาร เรื่องพระ สัมมัชชนเถระ และเรื่องพระอังคุลิมาลเถระ โลก หมายถึงโลกคือขันธ์ ๕ เป็นต้น ในเรื่องธิดานายช่างหูก โลก หมายถึงโลกิยมหาชน ในเรื่องภิกษุ ๓๐ รูป โลก หมายถึง โลกคือวัฏฏทุกข์ (ขุ.ธ.อ. ๖/๓๑-๔๒)

พุทธวรรค หมวดว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า มีจำนวน ๙  เรื่อง   ๑๘ คาถา คำว่า พระพุทธเจ้า หมายถึงผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง คือ อริยสัจ ๔ เป็นต้นโดยชอบและด้วยพระองค์เอง ในวรรคนี้ คือ ใน ๔ เรื่องแรกทรงแสดงสภาวะแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า คือทรงชนะกิเลสได้ไม่กลับแพ้อีก ทรงปราศจากร่องรอย คือราคะ โทสะ โมหะ ไร้ตัณหา ยินดีในนิพพาน และการที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในโลกได้นั้น ยากยิ่งกว่าการเกิด การดำรงอยู่ และการฟังธรรมของมนุษย์ ในเรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ ทรงแสดงหลักคำสอนของ ในเรื่อง ภิกษุผู้ไม่ยินดี ทรงแสดงว่า สาวกของพระพุทธเจ้าย่อมยินดีในความสิ้นตัณหา ในเรื่องอัคคิทัตตปุโรหิต ทรงแสดงว่า พระรัตนตรัย คือที่พึ่งอันเกษม ในเรื่องพระอานนทเถระ เรื่องภิกษุหลายรูป และเรื่องพระเจดีย์ทองของพระกัสสปทศพล ทรงแสดงว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นบุรุษอาชาไนยเกิดในตระกูลใด ตระกูลนั้นย่อมได้รับแต่ความสุข ประสพแต่บุญที่มิอาจจะประมาณได้

สุขวรรค หมวดว่าด้วยความสุข     มีจำนวน ๘ เรื่อง ๑๒ คาถา คำว่า ความสุข ในวรรคนี้ หมายถึงความไม่มีเวรต่อกัน ไม่มีความเดือดร้อนเพราะกิเลส การละความติดใจในกามคุณ ๕ ความปราศจากกิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ และโมหะ การอยู่ร่วมกับพระอริยะ และโดยที่สุดหมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๑๓-๑๒๔) ในวรรคนี้ นอกจากทรงแสดงถึงความสุขโดยสภาวะต่าง ๆ แล้ว ยังทรงแสดงความทุกข์โดยสภาวะที่ตรงกันข้ามกับความสุขอีกด้วย เช่น การอยู่อย่างมีเวรต่อกัน ความหมกมุ่นในกามคุณ ๕ เป็นต้น

ปิยวรรค หมวดว่าด้วยสิ่งเป็นที่รัก มีจำนวน ๙ เรื่อง  ๑๒ คาถา คำว่า สิ่งเป็นที่รัก ในวรรคนี้คือ ในเรื่องบรรพชิต ๓ รูป เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง เรื่องนางวิสาขา และเรื่องเจ้าลิจฉวี สิ่งเป็นที่รัก หมายถึงปิยารมณ์ (อารมณ์ที่น่ารัก) ได้แก่ กามคุณ ๕ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๐-๑๓๕) เรื่องอนิตถิคันธกุมาร สิ่งเป็นที่รัก หมายถึง วัตถุกามและกิเลสกาม (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๓๘) เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง หมายถึง ตัณหา  ทั้ง ๖ เรื่องแรกดังกล่าวมา ทรงแสดงว่า สิ่งเป็นที่รักเป็นเหตุให้เกิดความโศกและภัยต่าง ๆ ผู้ปราศจากสิ่งเป็นที่รัก ย่อมไม่มีความโศกและภัย ส่วน ๓ เรื่องสุดท้าย คือ เรื่องเด็กน้อย ๕๐๐ คน เรื่องพระอนาคามีเถระ และเรื่องนายนันทิยะ สิ่งเป็นที่รัก หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ สัมมาทัสสนะ โลกุตตรธรรม ๙ อริยสัจ ๔ ศีล สมาธิ ปัญญา นิพพาน และบุญกุศลที่เคยสั่งสมไว้

โกธวรรค หมวดว่าด้วยความโกรธ มีจำนวน  ๘ เรื่อง ๑๔ คาถา คำว่า โกรธ หมายถึงความขุ่นเคืองใจอย่างรุนแรง ไม่พอใจอย่างรุนแรง  ในวรรคนี้ทรงแสดงให้เห็นโทษแห่งความโกรธคือ ความทุกข์ ประโยชน์ของการละความโกรธคือความสุข และวิธีละความโกรธ เช่น ในเรื่องนางอุตตราอุบาสิกา ทรงแสดงว่า พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ หรือในเรื่องอตุลอุบาสก ทรงแสดงว่า โลกธรรมคือสิ่งประจำโลก มีมานานแล้ว มิใช่พึ่งมี ทรงสอนให้รู้จักทำใจไม่ให้โกรธว่า ในโลกนี้ คนไม่ถูกนินทาไม่มี และในเรื่องพระฉัพพัคคีย์ ทรงสอนให้สำรวมกาย วาจา และใจ มิให้กำเริบ มีศีลมั่นคง ดำรงชีวิตให้ปราศจากข้อตำหนิ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๗๔)

Mar 10

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๕ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ป.ธ.๓  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว  จำนวน ๓ วรรค คือ

ปาปวรรค  หมวดว่าด้วยบาป   มุ่งเน้นให้รู้จักบุญและบาป รวมทั้งผลของบุญและบาปว่ามีความแตกต่างกัน ให้พยายามรีบเร่งทำบุญและเว้นบาป   บุญต้องหาบ บาปต้องละ ถ้าทำบุญช้า บาปมักจะเข้ามาแทนที่

ทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา   มุ่งเน้นเกี่ยวกับการลงทัณฑ์ คือการใช้กำลังทำร้าย  เข่นฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่น  ให้ได้รับความเดือดร้อน หรือพูดวาจาหยาบคายให้รายป้ายสี  มุ่งหมายให้เห็นว่า  สัตว์ทั้งหลายรักสุข เกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น  ไม่ควรเบียดเบียนกัน  ผู้ที่เบียดเบียนผู้อื่น  จะได้รับโทษต่างๆ เช่น ได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า  เสื่อมทรัพย์ ถูกทำร้าย มุ่งหมายให้เว้นการลงทัณฑ์ ให้อยู่เหมือนพราหมณ์(ผู้ลอยบาป) สมณะ(ผู้สงบ) ภิกษุ (ผู้ทำลายกิเลส)

ชราวรรค หมวดว่าด้วยชรา  มุ่งเน้นเกี่ยวกับความชรา คือความแก่  ความทรุดโทรม  ซึ่งเป็นเสมือนไฟเผาผลาญชีวิตสรรพสัตว์อยู่เป็นนิตย์  ความแก่ชรานี้ แม้จะเป็นความจริงด้านหนึ่งของชีวิต  แต่ก็ไม่เป็นที่น่าปรารถนาของมนุษย์ไม่ว่าหญิงหรือชาย  หากสอนเรื่องนี้ด้วยวิธีการธรรมดา  อาจไม่เป็นที่พอใจของผู้ฟัง  และไม่เกิดประโยชน์มากนัก  มุ่งหมายให้ใช้วิธีการสอนต่างๆ กัน เช่น  ทรงสอนอุตตราภิกษุณีผู้มีอายุ ๑๒๐ ปีว่า  “ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว  เป็นที่อาศัยของโรค  แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเปื่อยผุพังนี้ จักแตกสลายทำลายไป  เพราะชีวิตสั้นสุดลงที่ความตาย”  ผลจากพระดำรัสนี้  ทำให้อุตตราภิกษุณี บรรลุเป็นพระโสดาบัน อันธรรมดาว่าแม้ชีวิตจะต้องแก่ชราไป ตามกาลเวลา  ถ้ารู้จักแสวงหาปัญญา และไม่ประมาท  ไม่มัวเมาอยู่ในโลก  ก็เป็นการแก่อย่างมีคุณค่า ไม่แก่เปล่า

คู่มือ ประโยค ป.ธ.๓  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๕  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวปาปวรรค  หมวดว่าด้วยบาป  มีจำนวน ๑๒ เรื่อง ๑๖ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นถึงบาป คำว่า บาป หมายถึงกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรืออกุศลจิต พระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้เห็นโทษของการทำบาป คือความทุกข์ และให้ละเว้นหลีกเลี่ยงจากบาป ดุจคนรักชีวิตหลีกเลี่ยงยาพิษได้ ให้เห็นอานิสงส์คือความสุขที่เกิดจากการสั่งสมบุญ คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต และการให้ทาน การบำเพ็ญวัตรมีอุปัชฌายวัตร เป็นต้น ให้รีบทำบุญเพราะถ้าทำบุญช้า ใจจะยินดีในบาป คนทำบาปย่อมได้รับผลของบาปมิอาจจะหลีกลี้หนีพ้นไปได้ ดุจเดียวกับความตายที่ไม่อาจจะพ้นไปได้ ฉะนั้น กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวทัณฑวรรค หมวดว่าด้วยอาชญา  มีจำนวน ๑๑ เรื่อง ๑๗ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นการลงทัณฑ์ คำว่า ลงทัณฑ์ คือ การใช้กำลังทำร้าย เข่นฆ่า หรือเบียดเบียนบุคคลอื่น หรือสัตว์อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนโดยการใช้ท่อนไม้ ก้อนดิน และวาจาที่ หยาบคายให้ร้าย ป้ายสี ทรงแสดงว่า ความเดือดร้อน ความทุกข์ ไม่มีใครต้องการ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมกลัวความทุกข์ ความเดือดร้อน จะมีก็แต่พระขีณาสพเท่านั้นที่ปราศจากความกลัว เมื่อรู้อย่างนี้ จึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น และไม่ควรให้ใครเบียดเบียน เพราะผู้เบียดเบียนผู้อื่นย่อมได้รับโทษอย่าง ๑ ใน ๑๐ อย่าง คือมี ทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงแสดงให้เข้าถึงความเป็นพราหมณ์ (ผู้ลอยบาป) ความเป็นสมณะ (ผู้ระงับบาป) ความเป็นภิกษุ (ผู้ทำลายกิเลสได้) โดยการป้องกันอกุศลวิตกด้วยความมีหิริและสังเวคธรรม คือ สโหตตัปปญาณ (ญาณที่มีโอตตัปปะ) เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ มีสติมั่นคง เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์ และกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวชราวรรค หมวดว่าด้วยชรา มีจำนวน ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา  ในวรรคนี้ มุ่งเน้นความชรา คำว่า ชรา หมายถึงความแก่ ความทรุดโทรม จัดเป็นกองหนึ่งในไฟ ๑๑ กองที่แผดเผาสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ ไฟ ๑๑ กองนั้น คือ ราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส  พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เหตุที่สัตว์ทั้งหลายถูกไฟ ๑๑ กองนี้เผา ก็เพราะถูกความมืดคืออวิชชาปกคลุมไว้ ดังนั้น จึงควรรีบแสวงหาดวงประทีปคือญาณ ไม่ควรประมาทยึดติดในร่างกายนี้ที่เป็นรัง แห่งโรค มีแต่จะเก่าทรุดโทรมแตกสลายไป แต่ธรรมของสัตบุรุษ คือ โลกุตตรธรรม ๙ ประการ หาได้เก่าแก่ทรุดโทรมไปไม่

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๔ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ (๑) ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต  มีจำนวน ๑๑ เรื่อง  ๑๖ คาถา คำว่า บัณฑิต หมายถึงผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคือกุศลกรรมบถ  ๑๐ ประการ โดยสรุปก็คือทำดี พูดี คิดดี  (๒) อรหันตวรรค หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๔ คาถา  คำว่า อรหันต์  หมายถึงผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสด้วยอริยมรรค  หรือผู้อยู่ห่างไกลจากกิเลส ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ ผู้ไม่มีที่ลับในการทำบาป และ (๓) สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน  มีจำนวน ๑๔ เรื่อง ๑๐ คาถา  ในวรรคนี้เน้นลักษณะเปรียบเทียบกันระหว่างสิ่งที่เป็นสาระ การกระทำที่เป็นสาระ  และชีวิตที่มีสาระ จำนวนหนึ่ง  กับสิ่งที่ไร้สาระ  การกระทำที่ไร้สาระ และชีวิตที่ไร้สาระ จำนวน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เช่น  ในเรื่องพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี  พระพุทธองค์ตรัสว่า   ธรรมะบทเดียวที่คนฟังแล้วสงบได้  ดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ทั้ง ๑๐๐ คาถา การชนะตนเพียงคนเดียว ดีกว่าการชนะข้าศึกตั้ง ๑,๐๐๐ คน เป็นต้น

คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๔  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้  แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๓ วรรค คือ

ปัณฑิตวรรค หมวดว่าด้วยบัณฑิต  มีจำนวน ๑๑ เรื่อง  ๑๖ คาถา คำว่า บัณฑิต หมายถึงผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคือกุศลกรรมบถ  ๑๐ ประการ โดยสรุปก็คือทำดี พูดดี คิดดี  ในวรรคนี้ตรัสถึงคุณลักษณะของบัณฑิตว่า บัณฑิตมีลักษณะคอยชี้โทษเหมือนชี้บอกขุมทรัพย์  บัณฑิตมีลักษณะคอยกล่าวสอนพร่ำสอน  และห้ามจากความชั่ว  เป็นกัลยาณมิตรยินดีในธรรมที่พระอริยะประกาศไว้   มีหน้าที่ฝึกตนดุจคนไขน้ำ  ทำหน้าที่ไขน้ำ เป็นต้น  มีลักษณะมั่นคง ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ  ฟังธรรมแล้วย่อมผ่องใส เว้นฉันทราคะในขันธ์ ๕ไม่ยินดีไม่ยินร้าย  เมื่อโลกธรรมมากระทบ ไม่ทำบาปเพราะอ้างความจำเป็น   ย่อมลอยข้ามฝั่งนี้คือสักกายทิฏฐิ ไปถึงฝั่งโน้นคือนิพพานได้

อรหันตวรรค หมวดว่าด้วยพระอรหันต์ มีจำนวน ๑๐ เรื่อง ๑๔ คาถา  คำว่า อรหันต์  หมายถึงผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสด้วยอริยมรรค  หรือผู้อยู่ห่างไกลจากกิเลส ผู้ควรแก่ปัจจัย ๔ ผู้ไม่มีที่ลับในการทำบาป  หมายถึงผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนสามารถกำจัดกิเลสได้หมด ในวรรคนี้มีเนื้อหาเน้นคุณสมบัติของพระอรหันต์คือไม่มีความเร่าร้อนกระวนกระวาย ไม่ติดอาลัย  บรรลุนิพพาน เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์  ไม่หวั่นไหวเพราะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ จะอยู่ ณ สถานที่ใด จะเป็นบ้านหรือป่าก็ตาม สถานที่นั้นย่อมเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ เพราะท่านไม่มีแสวงหากามอีกต่อไป

สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน  มีจำนวน ๑๔ เรื่อง ๑๐ คาถา  ในวรรคนี้เน้นลักษณะเปรียบเทียบกันระหว่างสิ่งที่เป็นสาระ การกระทำที่เป็นสาระ  และชีวิตที่มีสาระ จำนวนหนึ่ง  กับสิ่งที่ไร้สาระ  การกระทำที่ไร้สาระ และชีวิตที่ไร้สาระ จำนวน ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ เช่น  ในเรื่องเพชฌฆาตโจรเคราแดง  และเรื่องพระเถระชื่อว่าพาหิยะ พระพุทธองค์ตรัสว่า คำพูดคือคาถาที่มีประโยชน์  กล่าวคือ คำพูดหรือคาถาที่แสดงเรื่องนิพพาน หรือขันธ์ ๕  เป็นต้น แม้มีเพียงคำเดียวหรือคาถาเดียว  ก็ยังดีกว่าคำพูดหรือคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา ในเรื่องพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี  พระพุทธองค์ตรัสว่า   ธรรมะบทเดียวที่คนฟังแล้วสงบได้  ดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ทั้ง ๑๐๐ คาถา การชนะตนเพียงคนเดียว  ดีกว่าการชนะข้าศึกตั้ง ๑,๐๐๐ คน เป็นต้น

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๓ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ

ปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ มี ๑๒  เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้เน้นการเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้กับธรรรม ระหว่างดอกไม้กับกิเลส  ระหว่างความหลงเพลินเลือกเก็บดอกไม้กับความยินดีกามคุณ ๕

พาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล มี ๑๕ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า คนพาล หมายถึงคนโง่ ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ไม่รู้จักพระสัทธรรม จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอยู่ร่ำไป

คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๓  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้  แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวปุปผวรรค หมวดว่าด้วยดอกไม้ มี ๑๒  เรื่อง ๑๖ คาถา ในวรรคนี้จะประมวลเรื่องราวที่มีเนื้อหาการเปรียบเทียบระหว่างดอกไม้กับธรรรมบ้าง ระหว่างดอกไม้กับกิเลสบ้าง  ระหว่างอาการที่เก็บดอกไม้กับอาการอื่นๆ บ้าง  เช่น เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป มีเนื้อหาเปรียบเทียบรระหว่างการเลือกเก็บดอกไม้ของนายมาลามารกับการเลือปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๗ ๓๗ ประการของพระเสขะ  ในเรื่องภิกษุผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน  มีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างการตัดดอกไม้กับการตัดวัฏฏะในภูมิ ๓ อันได้แก่กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ในเรื่องเจ้าชายวิฑูฑภะและเรื่องนางปติปูชิกา  เปรียบเทียบระหว่างความหลงเพลินเลือกเก็บดอกไม้กับความยินดีกามคุณ ๕  ในเรื่องโกสิยเศรษฐีผู้ตระหนี่  เปรียบเทียบการที่ผึ้งเข้าไปดูดน้ำหวานของดอกไม้ ไม่ทำลายสีและกลิ่นของดอกไม้ กับการที่ภิกษุเข้าไปสู่ตระกูลไม่ทำลายตระกูล เป็นต้น  และกล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวพาลวรรค หมวดว่าด้วยคนพาล มี ๑๕ เรื่อง ๑๖ คาถา คำว่า คนพาล หมายถึงคนโง่ ที่ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักพระสัทธรรม จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ  เช่น ชายคนใดคนหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า  สังสารวัฏยาวนานสำหรับคนพาล  ผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม ดุจราตรีหนึ่งยายนานสำหรับคนผู้นอนไม่หลับ และดุจระยะทางโยชน์หนึ่งยาวไกลสำหรับคนผู้เมื่อยล้า ในเรื่องอานันทเศรษฐี  พระพุทธองค์ตรัสว่า  คนพาลย่อมยึดมั่นถือมีนว่าบุตรของเรา ทรัพย์ของเรา ทัจริงตัวตนไม่มี  บุตรและทรัพย์จะมีได้อย่างไร ในเรื่องพระอุทายี  พระพุทธองค์ตรัสว่า  คนพาลแม้อยู่ใกล้บัณฑิตตลอดชีวิต ก็ไม่รู้ธรรมเหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง ฉะนั้น เป็นต้น

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๒ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๒  วรรค คือ

อัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มี ๙  เรื่อง ๑๒ คาถา คำว่า ความไม่ประมาท เป็นชื่อของสติ ผู้ที่ไม่มีความประมาทย่อมประสบผลที่พึงปรารถนาต่างๆ โดยที่สุดให้บรรลุมรรคผลนิพพาน

จิตตวรรค หมวดว่าด้วยการฝึกจิต  มี ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา คำว่า จิต หมายถึงธรรมชาติที่คิดและสั่งสมอารมณ์ ซึ่งผู้ที่ฝึกจิตได้ ก็ใช้อริยมรรคข่มจิต ระงับจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ดิ้นรนไปมา เปลี่ยนแปลงง่าย เที่ยวไปไกล ไม่มีรูปร่าง  ไม่มีสี  อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นให้เป็นจิตที่เกษม พ้นจากบ่วงมารคืออวิชชา ตัณหาและอุปาทานได้

คู่มือ ประโยค ๑-๒  “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๒  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้  แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวอัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท มี ๙  เรื่อง ๑๒ คาถา ในวรรคนี้จะประมวลกล่าวถึงความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความสำเร็จผลที่พึงปรารถนาต่างๆ โดยที่สุดเป็นทางแห่งการบรรลุอมตนิพพาน มารวมไว้ด้วยกัน เช่น เรื่องพระนางสามาวดี ว่าด้วยความไม่ประมาทเป็นเหตุให้บรรลุนิพพานปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิง  เรื่องนายกุมภโฆสก  ว่าด้วยความไม่ประมาทเป็นเหตุให้ได้รับเกียรติยศ เป็นต้น และกลาวถึงเนื้อหาหรือเรื่องราวจิตตวรรค หมวดว่าด้วยการฝึกจิต  มี ๙ เรื่อง ๑๑ คาถา คำว่า จิต หมายถึงธรรมชาติที่คิดและสั่งสมอารมณ์ ซึ่งมีคุณลักษณะคือ ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ดิ้นรนไปมา เปลี่ยนแปลงง่าย และยังมีคุณลักษณะอีกคือ เที่ยวไปไกล  เที่ยวไปดวงเดียว  ไม่มีรูปร่าง  อาศัยอยู่ในถ้ำ คำว่า การฝึก  หมายถึงการฝึกด้วยอริยมรรค ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตผล  ซึ่งผู้ที่ฝึกจิตได้ ก็จะใช้อริยมรรคชั้นใดชั้นหนึ่งข่มจิต ระงับจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ดิ้นรนไปมา เปลี่ยนแปลงง่าย ทั้งเที่ยวไปไกล  เที่ยวไปดวงเดียว  ไม่มีรูปร่าง  อาศัยอยู่ในถ้ำนั้น ให้เป็นจิตที่เกษม พ้นจากบ่วงมารคืออวิชชา ตัณหาและอุปาทาน ได้ และในเนื้อหาเล่มนี้ยังมีการตั้งหัวข้อเรื่อง เพื่อให้จดจำได้ง่าย พร้อมมีภาพประกอบ เพื่อความบันเทิงใจ

Mar 10

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑ แปลโดยพยัญชนะ”

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  แปลโดยพยัญชนะ”  เล่มนี้ แปลมาจากอรรถกถาธรรมบท ภาษาบาลี  ภาค ๑ ซึ่งเป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ผู้มีชื่อเสียงกึกก้อง เดินทางไปสิงหล (เกาะลังกา)  เพื่อแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี  เมื่อ  พ.ศ.๙๕๖  เป็นสำนวนการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาแปลมคธเป็นไทย  ชั้นประโยค ๑-๒  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศึกษาเนื้อหาหรือเรื่องราว จำนวน ๑  วรรค คือ ยมกวรรค  หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่กัน  มีจำนวน ๑๔ เรื่อง  ๒๐ คาถา ในวรรคนี้เน้นถึงธรรมที่ตรงกันข้าม ถูกประมวลมาไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้ามนั้น คือความคิดชั่วกับความคิดดี การจองเวรกับการไม่จองเวร เป็นต้น

คู่มือ ประโยค ๑-๒ “อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  แปลโดยพยัญชนะ”   เล่มนี้ แปลโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  กล่าวถึงธรรมที่ตรงกันข้าม  ถูกรวบรวมไว้ในหมวดเดียวกัน ธรรมที่ตรงกันข้าม ได้แก่ความคิดไม่ดี กับความคิดดี  การจองเวรกับการไม่จองเวร  การแตกความสามัคคีกับความสามัคคี  ผู้มีจิตไม่มั่นคงกับผู้มีจิตมั่นคง  ผู้ไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์กับผู้ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์  สิ่งที่ไม่มีสาระกับสิ่งที่มีสาระ  จิตที่ไม่ได้รับการอบรมกับจิตที่ได้รับการอบรม  ผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกกับผู้ทำบุญย่อมบันเทิงใจ  ผู้เรียนมากแต่ประมาทย่อมไม่ได้บรรลุมรรคผล กับผู้เรียนน้อยแต่ไม่ประมาทย่อมได้บรรลุมรรคผล  ในเนื้อหาเล่มนี้ยังมีการตั้งหัวข้อเรื่อง เพื่อให้จดจำได้ง่าย พร้อมมีภาพประกอบ เพื่อความบันเทิงใจ

Mar 09

สุขภาพใจ (ฟรี)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ “สุขภาพใจ” เล่มนี้ เป็นธรรมโอสถ มุ่งแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาจะต้องประกอบด้วย ๓ ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ ๑ พัฒนาสมรรถภาพ ส่วนที่ ๒ พัฒนาคุณภาพ และส่วนที่ ๓ พัฒนาสุขภาพ การพัฒนาสมรรถภาพ คุณภาพ และสุขภาพ เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคน และพัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ สมรรถภาพคือทำการให้เป็นคนเก่ง คุณภาพทำให้เป็นคนดี และคนที่เก่งและดีเข้ากับใครๆ ได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ ทำงานดี คนที่มีสุขภาพกายดีจะมีความอดทน มีความแข็งแรง ทนทานและยึดหยุ่น คนที่มีสุขภาพจิตดีจะไม่กระทบกันง่าย จะรู้จักยึดหยุ่น คือปล่อยว่างเมื่อถึงคราวควรปล่อยว่าง หยุดเมื่อสมควรหยุด

 

 

 

Mar 09

พุทธจักรวาลวิทยา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ “พุทธจักรวาลวิทยา” เล่มนี้ผู้เขียนนำเสนอโลกและจักรวาลทางพระพุทธศาสนา ยกหลักฐานอ้างอิงและเหตุผลมาประกอบได้อย่างน่าเชื่อถือ แสดงจุดยืนของพระพุทธศาสนาและมิติของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา มีเนื้อหาในเชิงจริยศาสตร์ เชื่อมโยงให้เห็นความเป็น อิทัปปัจจยตา ความอิงอาศัยกันและกันของสรรพสิ่ง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ อันแสดงให้เห็นว่า สรรพสิ่งตกอยู่ในสภาพไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ทั้งยังแสดงให้เห็นอีกว่า ตราบที่มนุษย์ยังไม่สิ้นกิเลส ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏตลอดไป พร้อมทั้งแสดงอิทธิพลของจักรวาลวิทยาที่มีต่อสังคมไทย ในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านตำนาน วรรณกรรม และสถาปัตยกรรม

จักรวาลวิทยาเป็นศาสตร์หรือเป็นวิชาแขนงหนึ่งที่พยายามจะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและจักรวาลในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น การดำรงอยู่ และจัดสิ้นสุดของโลกและจักรวาล และจากการแสวงหาความจริงดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดกลุ่มนักคิด ๒ กระแสหลัก กล่าวคือ กลุ่มเทวนิยมที่มองว่าโลกและจักรวาลเกิดจากพระเป็นเจ้า และกลุ่มธรรมชาตินิยมที่มองว่า โลกและจักรวาลนั้นเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ และวิวัฒนาการมาโดยลำดับโดยตัวของมันเอง

Older posts «

» Newer posts