Mar 09

ทศพิธราชธรรม ๑๐ ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ “ทศพิธราชธรรม ๑๐ ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร ” เล่มนี้ เป็นผลงานของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร. เกิดขึ้นจากการที่สำนักงานเลขาธิการศาลธรรมนูญได้นิมนต์ให้ไปปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทศพิธราชธรรม ธรรมะสำหรับผู้นำองค์กร” ในโอกาสที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้จัดโครงการปาฐกถาพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ แล้วได้ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จนเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ ภายในเล่มผู้เขียนนำเสนอหลักธรรม ๑๐ ประการ กล่าวคือ ทาน ศีล ปริจาคะ อาชชวะ มัททวะ ตปะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ มาตั้งเป็นหัวข้อหลักแล้วอธิบายหลักธรรมของพระราชาอย่างลุ่มลึก สะท้อนหลักธรรมของผู้นำองค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยืนยืน

เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้นำในศตวรรษที่ ๒๑ กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในมิติต่าง ๆ ซึ่งการปรับตัวให้สอดรับกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นของผู้นำ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความอยู่รอดขององค์กร จากตัวแปรดังกล่าว จึงทำให้นักคิด และนักปฏิบัติการ ได้พยายามที่จะออกแบบหลักการและเครื่องมือเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการทั่วไป อีกทั้งก่อให้เกิดความสุข แก่ผู้บริหารองค์กร ในระดับต่างๆ อีกด้วย “ทศพิธราชธรรม” เป็นหลักการที่ทรงคุณค่าและมีความหมายต่อผู้นำในฐานะเป็นหลักปฏิบัติ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงออกแบบขึ้นมาเพื่อเป็นตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร ในการกำกับและควบคุมอารมณ์ เพื่อป้องกันมิให้ผู้นำประพฤติตนผิดพลาดและบกพร่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเชิงลบตามมา เช่น การบิดเบือน และการใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ กติกา และกฎหมายที่ได้กำหนดเอาไว้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรมีควรได้จากหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อความอยู่รอดองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

Mar 09

ชีวิตและความตาย ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา และตามทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ “ชีวิตและความตาย ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนาและตามทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย” เล่มนี้ผู้เขียนนำเสนอทั้งทรรศนะทางศาสนาและทางปรัชญา ทางศาสนาได้เสนอทรรศนะของพระพุทธศาสนา และทรรศนะทางปรัชญา ได้เสนอทรรศนะของนักปรัชญาอินเดีย นับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรรู้ไว้ ไม่ควรมองข้ามไป ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ตามหลักมรณัสสติของพระพุทธเจ้า

“เกิด แก่ เจ็บ ตาย” เป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องประสบพบเจอตราบเท่าที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ ดังนั้น ชีวิตคนเราที่เกิดมา ควรที่จะรู้และเข้าใจชีวิตของตนทั้งก่อนเกิด หลังเกิดขณะมีชีวิต และหลังตาย อันจะช่วยเตือนสติตนเองและดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาท อันจะทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างราบรื่นและมีความสุข

 

Mar 09

เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ “เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้” เป็นผลงานที่ผู้เรียบเรียง แต่งขึ้น เพื่อกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นเรื่องอดีตและปัจจุบัน เป็นแนวเรื่องสั้นที่แต่งขึ้นจากความจริงได้อย่างแนบเนียนและเป็นธรรมชาติ จากประสบการณ์ของผู้เรียบเรียง ซึ่งอยู่ในแวดวงร่มเงาพระพุทธศาสนามากว่า ๔๐ ปี แฝงไปด้วยความคติธรรมคำสอน เป็นเสมือนการตรวจทานความจริงของสังคมและชีวิตด้วยงานวรรณกรรมอย่างน่าติดตาม จำนวน ๒๑ เรื่อง มีเรื่อง ร้อยตรีตี๋ใหญ่ เป็นต้น เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว จะทำให้เกิดความรู้สึกของนักบวช ว่าต่างก็ยังเป็นผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข ยังมีเลือดเนื้อ ยังมีกิเลส และยังต้องมุ่งหาวิถีทางแห่งการพ้นทุกข์ทั้งจากทางโลกและทางธรรมโดยเปรียบมนุษย์เหมือนบัว ๔ เหล่า สังคมสงฆ์เอง ก็ไม่ต่างจากนั้น

Mar 09

พุทธปรัชญา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือพุทธปรัชญา เล่มนี้ เกิดขึ้นตามพันธกิจข้างต้น ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านพุทธปรัชญา ประกอบด้วยเนื้อหา ๕ บท ประกอบด้วย บริบททางสังคมศาสนาในสมัยพุทธกาล พุทธปรัชญาเถรวาท (ยุคบาลี) พุทธ-ปรัชญาเถรวาท (ยุคสันสกฤต) พุทธปรัชญามหายาน และพุทธปรัชญาวัชรยาน
ในเล่มได้นำเสนอคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีนัยเชิงปรัชญา อันเป็นตอบคำถามว่า พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาได้อย่างไร พุทธธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เนื้อหาส่วนไหนเป็นปรัชญา พุทธปรัชญาเกิดขึ้นพร้อมกับพระพุทธศาสนาหรือเกิดขึ้นในยุคไหน ได้เป็นอย่างดี และพุทธ-ปรัชญาเล่มนี้ เป็นชื่อรายวิชาหนึ่งที่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและสาขาวิชาปรัชญา ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mar 09

ความเปลี่ยนแปลงตามทรรศนะปรัชญาเถรวาท

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ ความเปลี่ยนแปลงตามทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาทเล่มนี้ผู้เขียนนำเสนอทั้งความหมายของความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เปลี่ยนแปลง และมองความเปลี่ยนแปลงเป็นกฎธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับหลักธรรมสำคัญในเรื่องไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ และกรรม  และยังกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงปฏิเสธสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ตลอดถึงคุณค่าของความเปลี่ยนแปลงในเชิงจริยธรรม ๒ ด้าน คือ ด้านทำจิตเพื่อความหลุดพ้น ด้านทำกิจด้วยความไม่ประมาท รวมถึงความรู้แจ้งความเปลี่ยนแปลงและวิธีเข้าถึงความรู้แจ้งความเปลี่ยนแปลง

Mar 09

บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ“บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร” เล่มนี้ เนื้อหาภายในเล่ม ผู้เรียบเรียงได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนเบื้องต้น เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา พร้อมทั้งอ้างอิงนักคิดชาวตะวันตกผ่านเอกสารและงานวิจัย เช่น โรเบิร์ต สเลเตอร์, เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน่, สตีเฟ่น อาร์. โควี่ย์ จากนั้นได้นำเสนอในประเด็นสำคัญ อันได้แก่ (๑) การบริหารและการเสริมสร้างพลังบริหารในสังคมยุคใหม่ พร้อมยกตัวอย่างของนักคิดตะวันออก และนักคิดตะวันตก เกี่ยวกับการบริหารตน บริหารคน และบริหารงานได้อย่างเป็นระบบ (๒) การบริหารตามหลักพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านพุทธวิธีบริหารและพุทธธรรมเพื่อการบริหาร (๓) การเสริมสร้างพลังบริหารตามหลักพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักขงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาเพิ่มพลังในการบริหาร (๔) พลังบริหารเชิงพุทธบูรณาการ โดยสรุปคุณวิเสสจากการบำเพ็ญไตรสิกขา และเสนอตัวแบบเชิงบูรณาการเพื่อพลังบริหาร โดยวิธีการรวบรวมข้อมูล จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท วิเคราะห์และจัดระบบข้อมูล ได้เป็นอย่างดียิ่ง

Mar 09

จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ซื้อหนังสือเล่มนี้(คลิก)

หนังสือเรื่อง “จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา” เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนเบื้องต้น เกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากนั้นได้นำเสนอในประเด็นสำคัญ อันได้แก่ (๑) สถานการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๓) เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมตามกรอบพุทธจริยศาสตร์อันประกอบด้วย ตอนที่ ๑ เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมของนักคิดตะวันตก ตอนที่ ๒ บทอภิปรายทั่วไป ตอนที่ ๓ แนวทางวินิจฉัยความดี-ความชั่ว ตอนที่ ๔ เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมตามกรอบพุทธจริยศาสตร์ (๔) วิเคราะห์เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมจากมุมมองปรัชญาตะวันตกและแนวทางประนีประนอม (๕) เป้าหมายระดับวิถีชีวิตในสังสารวัฏและเป้าหมายระดับอุดมคติ และสรุปผล ซึ่งในแต่ละประเด็น ผู้เขียนได้ดำเนินการงานวิจัยด้วยการสำรวจสถานการณ์และแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมศึกษาพุทธธรรมที่มีเนื้อหาเชิงจริยศาสตร์ ศึกษาเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมตามกรอบแห่งพุทธจริยศาสตร์ ศึกษาเป้าหมายแห่งพุทธจริยศาสตร์ โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธ-ศาสนาเถรวาท วิเคราะห์และจัดระบบข้อมูล เป็นอย่างดียิ่ง

Mar 09

วิมุตติมรรค

ซื้อหนังสือเล่มนี้(คลิก)

หนังสือ “ความเปลี่ยนแปลงตามทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาท” เล่มนี้ ผู้เขียนได้นำข้อมูลในสมัยที่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาปรัชญา ข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อบรรยายแก่นิสิต สาขาวิชาปรัชญา และข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความรู้ความเข้าใจส่วนตน ทั้งหมดนี้ผสมผสานกันเป็นหนังสือ โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นหลัก

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงตามทรรศนะเชิงอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ ประกอบด้วย ๖ บท คือ บทนำ ทรรศนะเรื่องความเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ของความเปลี่ยนแปลงกับหลักธรรมสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงปฏิเสธแนวคิดสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ คุณค่าของความเปลี่ยนแปลงในเชิงจริยธรรม และสรุปวิจารณ์

กล่าวโดยสรุป หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า ในพุทธปรัชญา ความเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะที่เสมอเหมือนกันของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสมบูรณ์พร้อมในตัวเอง เกิดจากส่วนประกอบต่างๆ มารวมกัน มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกัน มีอยู่ในรูปของกระแสการเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปรากฏการณ์ซึ่งไม่เกี่ยวกับผู้สร้างหรือเทพเจ้าใดๆ ทั้งสิ้น เป็นไปตามธรรมดา ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มีระเบียบ กฎเกณฑ์และทิศทางที่แน่นอน ความเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เป็นทัศนะแบบอภิปรัชญา เมื่อมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์ในด้านการปฏิบัติจัดเป็นจริยศาสตร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้

Mar 09

ปรัชญาโลก

ซื้อหนังสือเล่มนี้(คลิก)

หนังสือ “ปรัชญาโลก” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของพระราชปริยัติกวี, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน ๒๕ เรื่อง แต่ละเรื่องมีเนื้อหาไม่ยาว ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพราะล้วนให้คติธรรม ให้ปรัชญาแนวคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่จะทำให้ชีวิตอยู่อย่างมีเมตตา มีความสุข เช่น คิดเพลิน ๆ ไปกับเรื่อง “ชีวิต” นิยามคำว่า “ชีวิต” กับ “ปัญหา” ความจริงอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ “ชีวิต” “ชีวิต” คืออะไร ? “อะไร” คือชีวิต? ชีวิต ความทุกข์ และการฆ่าตัวตาย ทำอย่างไรเมื่อชีวิตมีทุกข์ อะไรดีกว่าระหว่าง “อยู่” กับ “ตาย” ว่าด้วยชีวิตและความขัดแย้ง ความขัดแย้งกับ “เวลาและอารมณ์” ความขัดแย้งธรรมชาติของโลก ธรรมชาติของมนุษย์ จนถึง เพลินไปกับ ชีวิต “ดี” กับ “ไม่ดี” อะไรคือนิยาม? “ถูก” กับ “ผิด” อะไรคือนิยาม?

Aug 27

หนังสือออกใหม่

หนังสือ “ปรัชญาโลก” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของพระราชปริยัติกวี, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน ๒๕ เรื่อง แต่ละเรื่องมีเนื้อหาไม่ยาว ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพราะล้วนให้คติธรรม ให้ปรัชญาแนวคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิต ที่จะทำให้ชีวิตอยู่อย่างมีเมตตา มีความสุข เช่น คิดเพลิน ๆ ไปกับเรื่อง “ชีวิต” นิยามคำว่า “ชีวิต” กับ “ปัญหา” ความจริงอะไรบางอย่างเกี่ยวกับ “ชีวิต” “ชีวิต” คืออะไร ? “อะไร” คือชีวิต? ชีวิต ความทุกข์ และการฆ่าตัวตาย ทำอย่างไรเมื่อชีวิตมีทุกข์ อะไรดีกว่าระหว่าง “อยู่” กับ “ตาย” ว่าด้วยชีวิตและความขัดแย้ง ความขัดแย้งกับ “เวลาและอารมณ์” ความขัดแย้งธรรมชาติของโลก ธรรมชาติของมนุษย์ จนถึง เพลินไปกับ ชีวิต “ดี” กับ “ไม่ดี” อะไรคือนิยาม? “ถูก” กับ “ผิด” อะไรคือนิยาม?

มีจำหน่ายที่สำนักพิมพ์ มจร. ในราคาเล่มละ ๑๐๐ บาท สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ ๐๖๓-๘๙๖-๙๖๖๒ หรือชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารทหารไทย ชื่อบัญชี สำนักพิมพ์ มจร เลขที่บัญชี ๑๕๕-๒-๑๓๖๘๘-๗ พร้อมส่งหลักฐานการโอนทาง INBOX พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ เพื่อการจัดส่ง

Older posts «

» Newer posts