ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์มหาวงศ์ ได้รจนาโดย พระมหานามเถระ ชาวลังกาและได้รจนาเพิ่มเติมจนจบโดยคณะบัณฑิต คัมภีร์มหาวงศ์ เป็นตำนานที่ว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา แสดงเรื่องพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และพระราชาทั้งหลาย ตั้งแต่พระเจ้ามหาสมมตแห่งชมพูทวีปเป็นต้น แสดงเรื่องการที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ เป็นพงศาวดารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม มีชื่อเสียงที่สุดของชนชาติลังกา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีประวัติต่อเนื่องยาวนานมากกว่า ๒๕๐๐ ปี ตั้งแต่พระเจ้าวิชัย พ.ศ. ๑ เป็นต้นมา คัมภีร์มหาวงศ์ ถือได้ว่าเป็นงานที่สมบูรณ์ มีลีลาการประพันธ์สละสลวย ขั้นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะด้านภาษาและสำนวนโวหาร คือเริ่มและจบอย่างสมบูรณ์ กล่าวถึงราชวงศ์ครบถ้วน คัมภีร์มหาวงศ์ แบ่งเป็น ๒ ภาค มีเนื้อหาประกอบด้วยบท (ปริจเฉท) รวมทั้งสิ้น ๙๙ บท แปลโดย ผศ.สุเทพ พรมเลิศ อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับคัมภีร์วงศ์ ภาค ๒ เล่มนี้ ประกอบด้วย ๓๙ บท จำนวนรวม ๕,๐๕๕ คาถา กล่าวถึงการแสดงปาฏิหาริย์ของพระธาตุเขี้ยวแก้ว การพรรณนาการสมโภชพระธาตุเขี้ยวแก้ว พระราชากับการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา การสร้างอุปการคุณต่อพระพุทธศาสนา …
Category Archive: E-book
Apr 16
คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๑
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์มหาวงศ์ ได้รจนาโดย พระมหานามเถระ ชาวลังกาและได้รจนาเพิ่มเติมจนจบโดยคณะบัณฑิต คัมภีร์มหาวงศ์ เป็นตำนานที่ว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา แสดงเรื่องพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และพระราชาทั้งหลาย ตั้งแต่พระเจ้ามหาสมมตแห่งชมพูทวีปเป็นต้น แสดงเรื่องการที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ เป็นพงศาวดารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม มีชื่อเสียงที่สุดของชนชาติลังกา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีประวัติต่อเนื่องยาวนานมากกว่า ๒๕๐๐ ปี ตั้งแต่พระเจ้าวิชัย พ.ศ. ๑ เป็นต้นมา คัมภีร์มหาวงศ์ ถือได้ว่าเป็นงานที่สมบูรณ์ มีลีลาการประพันธ์สละสลวย ขั้นวรรณคดีที่ดีเยี่ยม สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะด้านภาษาและสำนวนโวหาร คือเริ่มและจบอย่างสมบูรณ์ กล่าวถึงราชวงศ์ครบถ้วน คัมภีร์มหาวงศ์ แบ่งเป็น ๒ ภาค มีเนื้อหาประกอบด้วยบท (ปริจเฉท) รวมทั้งสิ้น ๙๙ บท แปลโดย ผศ.สุเทพ พรมเลิศ อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับคัมภีร์วงศ์ ภาค ๑ เล่มนี้ ประกอบด้วย ๖๐ บท จำนวนรวม ๔,๙๕๕ คาถา กล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเกาะลังกา ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป การสังคายนาพระไตรปิฎก ๓ …
Apr 16
พระพุทธศาสนาเถรวาท
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิชา “พระพุทธศาสนาเถรวาท” เล่มนี้ เป็นวิชาบังคับหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ที่กำหนดให้ศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาทในด้านประวัติศาสตร์ พัฒนาการ นิกายสำคัญ หลักคำสอนสำคัญ ภาษาที่ใช้จารึกคัมภีร์ การจัดลำดับชั้นคัมภีร์ รูปแบบการถ่ายทอดและการรักษาคำสอนอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อประเทศต่างๆ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสังคม และการเมือง เป็นต้น วิชา “พระพุทธศาสนาเถรวาท” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๗ บท ซึ่งมุ่งให้ศึกษาเรียนรู้เรื่องประวัติและพัฒนาการพระพุทธศาสนาเถรวาท ภูมิหลังกำเนิดนิกายและกรณีศึกษาผลงานปราชญ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทหลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท ภาษาที่ใช้จารึกคัมภีร์การถ่ายทอดและการรักษาคำสอน การจัดลำดับชั้นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท อิทธิพลพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในกลุ่มประเทศเอเชีย อิทธิพลพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในกลุ่มประเทศยุโรปอเมริกา และออสเตรเลีย หวังว่า วิชา “พระพุทธศาสนาเถรวาท” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท แก่พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสืบไป
Apr 16
แต่งแปลบาลี ฉบับปรับปรุง
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “แต่งแปลบาลี” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนา ที่กำหนดให้ศึกษา หลักบาลีไวยากรณ์ การแต่งบาลี การแปลบาลีทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะให้ถูกต้องตามหลักภาษา การแต่งและการแปลประโยคพิเศษและสำนวนที่ควรทราบ การแปลบาลีเป็นไทยและแปลไทยเป็นบาลี จากหนังสือที่กำหนด หลักและวิธีการแต่งฉันท์ภาษาบาลี ตำรา “แต่งแปลบาลี”ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหา ประกอบด้วย ๘ บท คือ “หลักไวยากรณ์เพื่อการแต่งแปล ประโยคในภาษาบาลี ความสัมพันธ์ของบทในประโยค หลักการแปลบาลี หลักการแต่งบาลี แต่งแปลประโยคพิเศษและสำนวนบาลี การแปลบาลีเป็นไทย และการแปลไทยเป็นบาลี หวังว่า ตำรา “แต่งแปลบาลี” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการการเรียนภาษาบาลีเบื้องต้น ในพระพุทธศาสนาแก่ พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป
Apr 16
ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษานิมิต คำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน วิภาค การนิยามความหมาย ญัตติประพจน์ในแบบต่างๆ การแบ่งญัตติ ความเป็นปฏิปักษ์แห่งญัตติ ญัตติผสม การให้เหตุผล ปรัตถานุมานและปฤฉวาทีแบบต่างๆ ศึกษาหลักการและวิิธีการให้เหตุผลจากบทสนทนาของพระพุทธเจ้าในอนัตตลักขณสูตรหรือในสูตรอื่นๆ บทสนทนาในคัมภีร์กถาวัตถุ ญาณวิทยาในนิกายสรวาสติวาทิน วิภาษวิธีของนาคารชุน เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างตรรกศาสตร์ตะวันตกกับตรรกศาสตร์ตะวันออก โดยเฉพาะหลักการเชิงตรรกในคัมภีร์พระพุทธศาสนา” ตำรา “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๖ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้พื้นฐานตรรกศาสตร์ องค์ประกอบพื้นฐานของตรรกศาสตร์ ญัตติ การให้เหตุผล ปฤจฉวาที รวมถึงหลักและวิธีการให้เหตุผลในพระพุทธศาสนา หวังว่า ตำรา “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ “ตรรกศาสตร์เบื้องต้น” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการให้เหตุผลตามแนวพระพุทธศาสนา เชิงตรรก แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป
Apr 16
วัฒนธรรมไทย
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “วัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษา ความหมายและเนื้อหาของวัฒนธรรม พัฒนาการของวัฒนธรรมไทย ประเภทของวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การเผยแพร่และสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนา ผลกระทบของวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย ตำรา “วัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๑๑ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรม พัฒนาการวัฒนธรรมไทย เนื้อหาของวัฒนธรรมไทย การแพร่กระจายและการเปลี่ยนแปลทางวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น ทุนทางวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์และการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย การสร้างสรรค์และการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยกับการพัฒนา ผลกระทบของวัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย หวังว่า ตำรา “วัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมแก่พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป
Apr 16
ปรัชญาเบื้องต้น
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ปรัชญาเบื้องต้น” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษา “ความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา และวิทยาศาสตร์ สาขาปรัชญาและสาระสำคัญของปรัชญาสาขาต่างๆ พัฒนาการของปรัชญาตะวันออก และปรัชญาตะวันตก” ตำรา “ปรัชญาเบื้องต้น” เล่มนี้ เป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ตำรา “ปรัชญาเบื้องต้น” เล่มนี้ แต่งโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๗ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของปรัชญา ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนาและวิทยาศาสตร์ อภิปรัชญา ญาณวิทยา คุณวิทยา ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาตะวันตก หวังว่า ตำรา “ปรัชญาเบื้องต้น” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านปรัชญาแก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจตลอดไป
Apr 11
จัดจำหน่าย ebook เพิ่มเติม
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) สำนักพิมพ์ มจร ได้จัดทำตำราเรียน หนังสือนักธรรม และหนังสือทางวิชาการ เป็นหนังสือ E-book เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ยุคใหม่ ประหยัดราคา และรักษาสิ่งแวดล้อม หากท่านใดสนใจสามารถจัดซื้อได้ทางเว็บไซต์ www.mebmarket.com โดยท่านสามารถคลิกดูรายละเอียดเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่มได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ http://pbs.mcu.ac.th/?page_id=1838
Apr 11
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในรายวิชากลุ่มพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ หลักธรรมที่ควรรู้ได้แก่ วิปลาส ๓ อภิญญา ๖ วิสุทธิ ๗ วิชชา ๘ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๓ ระยะ นั่งกำหนด ๓ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์กรรมฐาน ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๖ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเกี่ยวกับ คืออะไร หลักการและวิธีการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อินทรีย์ ๕ คืออะไร วิธีการปรับอินทรีย์ ๕ ผลที่เกิดจากการปรับอินทรีย์ ๕ วิปลาส คืออะไร สาเหตุการเกิดวิปลาส วิธีแก้วิปลาส อภิญญา ๖ และ วิชชา ๘ วิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดอภิญญา ๖ …
Apr 11
ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒
ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒” เล่มนี้ เป็นรายวิชาหนึ่งในวิชากลุ่มพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๕ บท มุ่งให้ศึกษาเรียนรู้สาระสำคัญแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและอานาปานสติ สมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่เกี่ยวข้อง วิปัสสนากัมมัฏฐานภาคปฏิบัติตอน ๒ ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๕ บท ประกอบด้วย หลักการและวิธีการปฏิบัติกายานุปัสสนา-สติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐาน และอานาปานสติสูตร วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งแบบสมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะ หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ สิกขา ๓ วิชชา ๓ และสามัญญลักษณะ ๓ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยการเดินจงกรม ๒ ระยะ นั่งกำหนด ๒ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ หวังว่า ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนาและแนวทางการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานแก่คณาจารย์นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป