Mcupbs

Author's details

Date registered: January 15, 2016

Latest posts

  1. ภาษาไทยไขขาน เล่ม ๓ — February 25, 2025
  2. ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก — December 11, 2024
  3. มหาจุฬาวิชาการ — November 27, 2024
  4. ภาษาไทยไขขาน เล่ม ๒ — November 25, 2024
  5. ภาษาไทยไขขาน เล่ม ๑ — November 25, 2024

Author's posts listings

Jul 26

พัฒนาจิตแนวพุทธ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “พัฒนาจิตแนวพุทธ” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พัฒนาจิตแนวพุทธ” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า เล่มนี้เป็นหนังสือเชิงวิชาการที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตในลักษณะต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหนังสือประกอบการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักวิชาการทางพุทธจิตวิทยา ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะต่างทราบกันดีว่าทั่วโลกพากันแข่งขันพัฒนาด้านวัตถุเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมาก มนุษย์มีความเป็นอยู่ด้านกายภาพสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่สภาพจิตใจกลับยิ่งเครียดขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นการสวนทางกับทางด้านกายภาพ ทั้งนี้ เพราะขาดการดูแลจิต อันเป็นตัวรับสภาพทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับมนุษย์การพัฒนาจิต พระพุทธศาสนาเรียกว่า จิตภาวนาบ้าง สมาธิภาวนาบ้าง หรือวิปัสสนาภาวนาบ้าง อันเป็นมรดกจากแดนชมพูทวีป คือประเทศอินเดียถือปฏิบัติกันมายาวนาน จนบรรลุมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพรหมสมบัติ และนิพพานสมบัติ จำนวนมาก เมื่อเกิดมาพบพระพุทธศาสนาได้รับมรดกอันล้ำค่าสุดวิเศษแล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ก็นับว่าพลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย แล้วอีกกี่ชาติจึงจะได้พบอีกการศึกษาเรื่องจิตที่เรียกว่า “จิตวิทยา” มีแพร่หลายในกลุ่มประเทศตะวันตก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความผิดปกติทางจิตอันเกิดจากสาเหตุต่างๆ และศึกษาพฤติกรรมของจิต แต่ “จิตภาวนา” …

Continue reading »

Jul 26

พิธีสวดนพเคราะห์

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “พิธีสวดนพเคราะห์” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พิธีสวดนพเคราะห์” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า มนต์ คือ คำสำหรับสวดที่มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถประสิทธิ์ประสาทพร ความสุขความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จต่าง ๆ ทั้งเป็นเครื่องกำจัดและป้องกันทุกข์ โศก โรค ภัย ทั้งปวงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ศาสนาใหญ่ ๆ ทุกศาสนาในโลก จึงมีบทสวดซึ่งก็คือคำสอนของศาสดานั่นเอง สำหรับให้ศาสนิกของตนได้สวดกัน ในพุทธศาสนาก็มีบทสวดจำนวนมาก มีหลายบทที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ภิกษุท่องจำ แล้วนำไปสวด ซึ่งมีปรากฏในพระไตรปิฎก บางบทนักปราชญ์ประพันธ์ขึ้นภายหลังเพื่อใช้สำหรับสวดในพิธีต่าง ๆการสวดนพเคราะห์ เป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนนิยมจัดและเข้าร่วมพิธี เพราะถือว่าเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์จัดยาก เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์สิ่งของเครื่องประกอบหลายอย่างค่าใช้จ่ายสูง และเจ้าพิธีจะต้องมีความรู้ความชำนาญในการจัดเป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันนี้ ผู้มีความรู้ตามหลักโบราณประเพณีที่แท้จริงมีน้อย อีกทั้งตำร่าเอกสารสำหรับเป็นแนวทางศึกษาปฏิบัติก็ยิ่งหายากทั้ง ๆ …

Continue reading »

Jul 26

พระพิธีธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “พระพิธีธรรม” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พระพิธีธรรม” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่สวดพระอภิธรรม ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ซึ่งพระเถรานุเถระ พุทธศาสนิกชน และพสกนิกร ได้ดูข่าวพระราชพิธีทุกวัน จึงทำให้อยากทราบเรื่องเกี่ยวกับพระพิธีธรรม และพระราชประเพณีพิธีที่ทรงปฏิบัติในการบำเพ็ญพระราชกุศล ในครั้งนี้ นอกจากนั้น พระพิธีธรรมทุกวัดที่เข้าปฏิบัติหน้าที่สวดพระอภิธรรมต่างได้รับการซักถามด้วยคำถามที่คล้าย ๆ กัน เช่น ทำไมจึงต้องนิมนต์เฉพาะพระพิธีธรรมมาสวด พัด ๔ เล่ม ๔ สี หมายความว่าอย่างไรและทำไมจึงต้องมีพัดพระราชาคณะตั้งที่ตู้พระธรรมด้วย เป็นต้นเรื่องนี้ แม้ผู้เรียบเรียงจะได้ปฏิบัติหน้าที่พระพิธีธรรมมานานกว่าสามสิบปีแต่ยังไม่พบหลักฐานเอกสารความเป็นมาอย่างชัดเจน …

Continue reading »

Jul 26

คาถาพาหุง พาสุข

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “คาถาพาหุง – พาสุข” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“คาถาพาหุง – พาสุข” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า พุทธศาสนิกชนนิยมสวดสืบทอดกันนาน เพราะทราบกันดีว่า เป็นบทสวดทรงพลานุภาพมีความหมายในทางป้องกันภัยต่าง ๆ และช่วยเสริมสิริมงคลทั้งแก่ผู้สวดและผู้ฟังเนื่องด้วยแต่ละบทนั้นกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธองค์บางเหตุการณ์มุ่งหมายปลงพระชนม์ บางเหตุการณ์มุ่งหมายให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง แต่พระพุทธองค์ก็ทรงชนะได้ทุกเหตุการณ์ และในตอนท้ายของทุกบท ได้อ้างถึงเดชานุภาพแห่งชัยชนะนั้น แล้วขอชัยมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้าหรือแก่ท่าน (ถ้าสวดให้ตนเองเปลี่ยน เต เป็น เม)ในหนังสือสวดมนต์ปัจจุบันนี้ นิยมแปลบทสวดเป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้สวดได้รู้ความหมายของบทสวด แต่ก็รู้เฉพาะบทสวดเท่านั้น ส่วนเรื่องความเป็นมาของแต่ละบทที่เรียกว่าตำนานนั้น มีพิมพ์เผยแพร่น้อย ผู้เรียบเรียงจึงเห็นว่า ถ้านำตำนานหรือเรื่องความเป็นมาของแต่ละบท มาเล่าประกอบในทุก ๆ บทก็จะเกิดประโยชน์แก่ผู้สวด และผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ค้นคว้าจากหนังสือตำราต่างๆ มีพุทธประวัติ …

Continue reading »

Jul 26

ตัณหา ไม่ปรานีใคร

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “ตัณหาไม่ปรานีใคร” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้ “ตัณหาไม่ปรานีใคร” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า ตัณหา เป็นคำพูดที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ยินได้ฟังกันจนชินหูและก็รู้ความหมายว่าคือ “ความอยาก” ส่วนมากก็รู้กันในระดับนี้ที่รู้แจ้ง ในรายละเอียดยิ่งไปกว่านี้ ส่วนมากก็จะอยู่ในกลุ่มผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมบ่อย ๆ แต่ก็เป็นเพียงแค่รู้เท่านั้น คนที่จะรู้เท่าทันฤทธิ์เดชของตัณหาแล้วพยายามหักห้ามพยายามบรรเทานั้นมีน้อยนัก ทั้ง ๆ ที่ถูกตัณหาครอบงำชักนำให้ทำในสิ่งอันไม่ควรแล้วหลงเกลือกกลั้วมัวเมาอยู่ในความสุขความเพลิดเพลินที่เกิดจากตัณหาอันเปรียบเสมือนยาพิษอาบน้ำผึ้ง ซึ่งไม่ต้องถึงกับตัดตัณหาได้หมดเหมือนพระอรหันต์ ขอแค่เพลาๆ ลงอย่าให้แสดงออกจนเป็นพิษเป็นภัยสร้างความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนและบุคคลผู้อยู่ร่วมในสังคมส่วนรวมก็น่าอนุโมทนาแล้ว เพราะสังคมโลกมนุษย์ที่วุ่นวายเดือดร้อนล้มตายกันทุกหย่อมหญ้าที่ประสบมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนี้ และก็ยังจะมีต่อไปในอนาคตอีกยาวไกลไม่สิ้นสุด ก็เพราะมนุษย์ผู้ตกอยู่ในอำนาจตัณหาทำให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น ผู้เรียบเรียงเห็นว่า การนำพิษภัยของตัณหาพร้อมตัวอย่างบุคคลผู้ตกเป็นทาสตัณหาในอดีตกาลมารวมไว้ให้ผู้อ่านได้ศึกษา ซึ่งอาจจะช่วยให้เกิดความรู้เท่าทันตัณหา และคิดที่จะผ่อนบรรเทาตัณหาของตนให้เบาบางไปได้บ้างอย่างไรก็ตาม ข้อมูลเนื้อหาบางเรื่องบางตอนอาจคลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการไปบ้าง อันเกิดจากความรู้น้อยของผู้เรียบเรียง ขอได้โปรดชี้แนะ เพื่อเป็นวิทยาทาน จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ตัณหาไม่ปรานีใคร” เล่มนี้ …

Continue reading »

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาษาบาลี ที่พระพุทธโฆสาจารย์รจนา ซึ่งมีเนื้อหา ๒๓ ปริจเฉท กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ ปริจเฉท คือสีลนิเทศ และธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ ปริจเฉท ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (๙) พรหมวิหารนิเทศ …

Continue reading »

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) …

Continue reading »

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) …

Continue reading »

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย …

Continue reading »

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย …

Continue reading »

Older posts «

» Newer posts