Category Archive: E-book

Mar 30

เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้นิสิตได้ศึกษา ทั้งด้านเทคนิคและวิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา การใช้ห้องสมุด การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต การแสวงหาความรู้และสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้เชิงวิชาการ การเขียนรายงานทางวิชาการ และการเขียนภาคนิพนธ์ ตำรา “เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเทคนิคและวิธีการศึกษาระดับอุดมศึกษา กระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ระดับอุดม ศึกษา การใช้ห้องสมุด การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต การแสวงหาความรู้และสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้เชิงวิชาการ การเขียนรายงานทางวิชาการ การเขียนภาคนิพนธ์ หวังว่า ตำรา “เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านเทคนิคและวิธีการต่างๆแก่คณาจารย์ นิสิตและผู้สนใจสืบไป

Mar 30

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายในเล่มนี้ ได้อธิบายหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๕ บท มุ่งหมายเรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร เช่น อปัณณกสูตร สติสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ หวังว่า ตำ“ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖” เล่มนี้ จะเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาเล่าเรียนด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนสืบไป

Mar 30

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายในเล่มนี้ ได้อธิบายวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติ วิธีการแก้สภาวธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยการเดินจงกรม และนั่งกำหนด การส่งและการสอบอารมณ์ ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา ๘ บท คือ (๑) หลักการปฏิบัติในมหาสติปัฏฐานสูตร (๒) การส่ง สอบอารมณ์ แก้สภาวธรรม (๓) กัมมัฏฐานตามแนวพอง-ยุบ (๔) กัมมัฏฐานตามแนวพุทโธ (๕) กัมมัฏฐานตามแนวสัมมา อะระหัง (๖) กัมมัฏฐานตามแนวเคลื่อนไหว (๗) กัมมัฏฐานแบบอานาปานสติตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ(๘) กัมมัฏฐานตามแนว นะมะพะทะ หวังว่า ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗” จะเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาเล่าเรียนด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ของนิสิต นักศึกษา …

Continue reading »

Mar 30

การปกครองคณะสงฆ์ไทย ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “การปกครองคณะสงฆ์ไทย” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา ที่กำหนดให้ศึกษา “พัฒนาการของระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับต่างๆ กฎ ระเบียบ คำสั่งและประกาศที่สำคัญของคณะสงฆ์ การประยุกต์การปกครองและการบริหารในปัจจุบันสำหรับคณะสงฆ์ไทย”และเป็นรายวิชาหนึ่ง ในจำนวน ๑๐ รายวิชาที่เป็นข้อสอบกลางด้วย ตำรา “การปกครองคณะสงฆ์ไทย” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย ๗ บท มุ่งให้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ การปกครองคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล การปกครองคณะสงฆ์สมัยหลังพุทธกาล การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยปัจจุบัน ตลอดถึงทิศทางการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำรา “การปกครองคณะสงฆ์ไทย” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการปกครองคณะสงฆ์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 27

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาเรื่องเทคนิคและวิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ครอบคลุมถึงเศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งเป็นการเรียนรู้ถึงหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำรา “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๙ บท มุ่งหมายเรียนรู้ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ และผลของระบบเศรษฐกิจต่อชีวิตประจำวัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน อุปสงค์ อุปทาน และกลไกราคาตลาด ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ บทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน การค้นและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ เงินและสถาบันการเงิน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังว่า ตำราเล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รูปแบบต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสืบไป

Mar 27

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕” เล่มนี้เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้รวบรวบและเรียบเรียงถึงหลักการและวิธีการกำหนดรู้ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปฏิบัติ วิปัสสนากระบวนการเกิดดับของรูปนามตามแนวปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๕ ระยะ กำหนดนั่ง ๕ ระยะส่งและสอบอารมณ์กรรมฐาน มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๕ บท มุ่งหมายให้ศึกษาหลักการและวิธีการกำหนดรู้ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากระบวนการเกิดดับของรูปนามตามแนวปฏิจจสมุปบาท หลักธรรมที่ควรรู้ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๕ ระยะ กำหนดนั่ง ๕ ระยะส่งและสอบอารมณ์กรรมฐาน ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕” เล่มนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนิสิตนักศึกษาและผู้ที่สนใจต่อการปฏิบัติกรรมฐานสืบไป

Mar 27

ธรรมนิเทศ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ธรรมนิเทศ” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้รวบรวบและเรียบเรียงถึงหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปะการเขียนบทความ การพูดในที่ชุมนุมชน การพัฒนาบุคลิกภาพเกี่ยวกับการพูด การเทศนา การแสดงปาฐกถาธรรม การอภิปราย และวิธีใช้สื่อประกอบการบรรยาย ตำรา “ธรรมนิเทศ” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการพูด การเทศนา การแสดงปาฐกถาธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 27

ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ประวัติพระพุทธศาสนา” ฉบับปรับปรุง เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา โดยมีเนื้อหาอธิบายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา การแยกนิกายของพระพุทธศาสนา การขยายตัวพระพุทธศาสนาเข้าไปในนานาประเทศและอิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆรวมทั้งศึกษาขบวนการและองค์กรใหม่ๆในวงการพระพุทธศาสนา ยุคปัจจุบันและอนาคต มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๑๑ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญและลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา การแบ่งแยกแตกออกเป็นนิกายต่างๆ การขยายตัวของพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ยังนานาประเทศ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆตลอดถึงศึกษาขบวนการและองค์กรใหม่ๆของพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันและอนาคต ตำรา“ประวัติพระพุทธศาสนา” ฉบับปรับปรุง แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาสาระต่างๆแล้วสรุปร่วมกันเพื่อพัฒนาและแต่งตำราเล่มนี้ อันจะเป็นแหล่งสำหรับค้นคว้าเรียนรู้สำหรับนิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

Mar 27

ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “ภาษาศาสตร์เบื้องต้น” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษา ความหมายของภาษาและภาษาศาสตร์ สาขาของวิชาภาษาศาสตร์ เป็นต้น ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำรา “ภาษาศาสตร์เบื้องต้น” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๗ บท คือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาและภาษาศาสตร์ สาขาภาษาศาสตร์ สัทศาสตร์ สรศาสตร์ สัทอักษรไทย หลักการวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์ รวมถึงภาษาศาสตร์กับเปลี่ยนแปลงทางสังคม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำรา “ภาษาศาสตร์เบื้องต้น” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านภาษาและภาษาศาสตร์ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 24

พระไตรปิฎกศึกษา ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “พระไตรปิฎกศึกษา” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา ที่กำหนดให้ศึกษา ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำรา “พระไตรปิฎกศึกษา” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๙ บท มุ่งหมายให้ศึกษากำเนิด ความเป็นมา และพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจำแนกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก คำอธิบายโดยย่อของพระอรรถกถาจารย์ การรักษาสืบทอดโดยมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร ลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ในประเทศไทย พระไตรปิฎกนานาชาติและประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก

Older posts «

» Newer posts