Mar 30

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชากระทู้ธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

วิชากระทู้ธรรม เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ๔ ข้อ คือ เพื่อให้ผู้เรียนท่องและจดจำพุทธศาสนสุภาษิตได้คล่องปากขึ้นใจ เพื่ออธิบายขยายความพุทธศาสนสุภาษิตได้แจ่มแจ้ง เพื่อนำพุทธศาสนสุภาษิตไปใช้ในการแสดงธรรม บรรยายธรรมได้ถูกต้องเป็นไปตามกาลเทศะ เพื่อเขียนหนังสืออย่างมีเหตุผล มีความรู้ความสามารถในการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉานและมีคุณภาให้แก่สังคม หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ ตอน ประกอบด้วยหลักการและวิธีการเขียนวิชากระทู้ธรรม โครงสร้าง การแต่งกระทู้ธรรมตามแนวข้อสอบธรรมสนามหลวงอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตตามลำดับหมวดครบถ้วน พร้อมมีรูปภาพประกอบ สื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ประกอบกับการยกตัวอย่างพุทธศาสนสุภาษิตมาอธิบายได้สอดคล้อง ทั้งผู้ขยันหมั่นศึกษา ฝึกเขียนอย่างสม่ำเสมอ ย่อมได้รับประโยชน์เต็มที่ หวังว่า “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณร นักเรียนและประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 30

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก พุทธานุพุทธประวัติ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

วิชา “พุทธานุพุทธประวัติ” เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียน ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ความเชื่อ และเหตุการณ์ยุคก่อนพุทธกาลและสมัยพุทธกาล ในชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย โดยศึกษาวิเคราะห์ถึงประวัติพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา เช่น การประสูติ การตรัสรู้ การประกาศพระศาสนาการปรินิพพาน โดยพิสดาร ตลอดถึงพุทธบริษัท เช่น ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยประกาศพระพุทธศาสนา รวมถึงการรวบรวมคำสั่งสอนที่เรียกว่าสังคายนาไว้ด้วย หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก พุทธานุพุทธประวัติ” เล่มนี้มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักสูตรธรรมสนามหลวง มีลำดับเนื้อหาชัดเจน แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา ๑๔ ปริจเฉท มุ่งหมายให้ศึกษาเรียนรู้เประวัติศาสตร์ทั้งก่อนพุทธกาล และสมัยพุทธกาล โดยพิสดาร โดยการกล่าวถึงการประสูติ ตรัสรู้ประกาศพระพุทธศาสนา และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า รวมถึงพุทธบริษัทผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา รวมถึงประวัติการสังคายนาทั้ง ๕ ครั้ง อีกด้วย ในเล่มนี้ มีรูปภาพประกอบ สื่อให้เข้าได้เนื้อหาได้โดยง่าย และคำถาม-คำตอบ ที่สั้น เข้าใจง่าย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพระภิกษุสามเณรและผู้ที่สนใจทั่วไป หวังว่า “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นเอก พุทธานุพุทธประวัติ” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณร นักเรียนและประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 30

มนุษย์กับสังคม ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา ““มนุษย์กับสังคม” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นมาเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ตามหลักการทางสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันสังคม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาล และสันติภาพ กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม การวิเคราะห์ ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน รวมทั้งแนวการแก้ปัญหาแบบสันติวิธ และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย รายวิชา “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษย์กับสังคม พฤติกรรมมนุษย์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม สถาบันทางสังคมและการขัดเกลาทางสังคม กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ประชาสังคม หลักธรรมาภิบาลและสันติภาพ ปัญหาสังคมกับการจัดระเบียบทางสังคม รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยแบบสันติวิธี หวังว่า “มนุษย์กับสังคม” ฉบับปรับปรุงเล่มนี้คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านสังคมศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ สืบไป

Mar 30

ภาษากับการสื่อสาร ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “ภาษากับการสื่อสาร” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาหมวดทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ คุณค่าและระดับของภาษา ความหมาย ความสำคัญ ประเภท องค์ประกอบของการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบันการเปลี่ยน แปลงทางภาษา การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย ตำรา “ภาษากับการสื่อสาร” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๙ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเกี่ยวกับภาษา การสื่อสาร ภาษากับการสื่อสาร พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมถึงงานสารบรรณ หวังว่า “ภาษากับการสื่อสาร” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านภาษา และการสื่อสาร แก่คณาจารย์ นิสิต และประชาชน สืบไป

Mar 30

งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา” เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา ศึกษางานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ เช่น เตภูมิกถา ของพญาลิไท มังคลัตถทีปนี ของพระสิริมังคลาจารย์ กาพย์มหาชาติของพระเจ้าทรงธรรม สังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัต (แก้ว) วัดพระเชตุพน พระมงคลวิเสสกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แก่นพุทธศาสน์ของพุทธทาสภิกขุ กรรมทีปนีของพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) พุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิทยาของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ และงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬา-ลงกรณวิทยาลัย” และเป็นรายวิชาหนึ่งใน ๑๐ รายวิชา ที่เป็นรายวิชาข้อสอบกลาง ด้วย รายวิชา “งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๗ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยและล้านนา สมัยอยุธยาและธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันตลอดถึงให้ศึกษาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เช่น พุทธธรรม วิมุตติมรรค รวมถึงงานวิจัยทางพระพุทธ-ศาสนาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก หวังว่า “งานวิจัยและวรรณกรรมทางพระพุทธ-ศาสนา” ฉบับปรับปรุงเล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านวรรณกรรมและงานวิจัยแก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 30

เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้นิสิตได้ศึกษา ทั้งด้านเทคนิคและวิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา การใช้ห้องสมุด การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต การแสวงหาความรู้และสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้เชิงวิชาการ การเขียนรายงานทางวิชาการ และการเขียนภาคนิพนธ์ ตำรา “เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเทคนิคและวิธีการศึกษาระดับอุดมศึกษา กระบวนการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ระดับอุดม ศึกษา การใช้ห้องสมุด การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต การแสวงหาความรู้และสารสนเทศเพื่อการศึกษา กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้เชิงวิชาการ การเขียนรายงานทางวิชาการ การเขียนภาคนิพนธ์ หวังว่า ตำรา “เทคนิคการศึกษาระดับอุดมศึกษา” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านเทคนิคและวิธีการต่างๆแก่คณาจารย์ นิสิตและผู้สนใจสืบไป

Mar 30

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายในเล่มนี้ ได้อธิบายหลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน พระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๕ บท มุ่งหมายเรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระสูตรที่เชื่อมโยงกับมหาสติปัฏฐานสูตร เช่น อปัณณกสูตร สติสูตร อาการบรรลุมรรคผลและคุณธรรมของพระอริยบุคคล ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยการเดินจงกรม ๖ ระยะ นั่งกำหนด ๖ ระยะ ส่งและสอบอารมณ์ หวังว่า ตำ“ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖” เล่มนี้ จะเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาเล่าเรียนด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนสืบไป

Mar 30

ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในวิชาแกนพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายในเล่มนี้ ได้อธิบายวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน สภาวธรรมที่เกิดดับในขณะปฏิบัติ วิธีการแก้สภาวธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมในสมัยปัจจุบัน เปรียบเทียบกับมหาสติปัฏฐานสูตร การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยการเดินจงกรม และนั่งกำหนด การส่งและการสอบอารมณ์ ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อหา ๘ บท คือ (๑) หลักการปฏิบัติในมหาสติปัฏฐานสูตร (๒) การส่ง สอบอารมณ์ แก้สภาวธรรม (๓) กัมมัฏฐานตามแนวพอง-ยุบ (๔) กัมมัฏฐานตามแนวพุทโธ (๕) กัมมัฏฐานตามแนวสัมมา อะระหัง (๖) กัมมัฏฐานตามแนวเคลื่อนไหว (๗) กัมมัฏฐานแบบอานาปานสติตามแนวพุทธทาสภิกขุ และ(๘) กัมมัฏฐานตามแนว นะมะพะทะ หวังว่า ตำรา “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗” จะเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาเล่าเรียนด้านการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนสืบไป

Mar 30

การปกครองคณะสงฆ์ไทย ฉบับปรับปรุง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “การปกครองคณะสงฆ์ไทย” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา ที่กำหนดให้ศึกษา “พัฒนาการของระบบการปกครองคณะสงฆ์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบัน ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับต่างๆ กฎ ระเบียบ คำสั่งและประกาศที่สำคัญของคณะสงฆ์ การประยุกต์การปกครองและการบริหารในปัจจุบันสำหรับคณะสงฆ์ไทย”และเป็นรายวิชาหนึ่ง ในจำนวน ๑๐ รายวิชาที่เป็นข้อสอบกลางด้วย ตำรา “การปกครองคณะสงฆ์ไทย” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย ๗ บท มุ่งให้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ การปกครองคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล การปกครองคณะสงฆ์สมัยหลังพุทธกาล การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยปัจจุบัน ตลอดถึงทิศทางการปกครองคณะสงฆ์ไทยในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำรา “การปกครองคณะสงฆ์ไทย” ฉบับปรับปรุง เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการปกครองคณะสงฆ์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Mar 27

เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดให้ศึกษาเรื่องเทคนิคและวิธีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ครอบคลุมถึงเศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งเป็นการเรียนรู้ถึงหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำรา “เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๙ บท มุ่งหมายเรียนรู้ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ และผลของระบบเศรษฐกิจต่อชีวิตประจำวัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน อุปสงค์ อุปทาน และกลไกราคาตลาด ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ บทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน การค้นและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ เงินและสถาบันการเงิน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังว่า ตำราเล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านหลักการเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รูปแบบต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสืบไป

Older posts «

» Newer posts