Mar 22

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติ” เล่มนี้ ได้พัฒนาขึ้นตามโครงการพัฒนาเนื้อหาและสื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม ยิ่งบประมาณ ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อสนองพันธกิจด้านบริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัย (๒) เพื่อพัฒนาเนื้อหาและสื่อการศึกษาพระปริยัติธรรมทุกระดับให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทันสมัย (๓) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับ โดยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติ” เล่มนี้ มีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักสูตรธรรมสนามหลวง มีสำนวนกระชับอ่านง่าย มีลำตับเนื้อหาชัดเจน มีเชิงอรรถบอกที่มาของธรรมะแต่ละหมวดตรงตามคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์วิเสสและมีรูปภาพประกอบลำดับเนื้อหาของหนังสือมีดังนี้
    ๑. ชื่อหัวข้อธรม (พร้อมวงเล็บบอกลำดับหัวข้อธรรมในแต่ละหมวด)
    ๒. จุดประสงค์ของการเรียน (เพื่อบอกจุดประสงค์ของธรรมะแต่ละหมวด)
    ๓. ความนำ (เพื่อเข้าสู่เนื้อหา)
    ๔.เนื้อหา (ตามหลักสูตรสนามหลวง)
    ๕. อธิบาย (ขยายความหมาย)
    ๖. แนวถามตอบจากข้อสอบสนามหลวง (ตามแนวข้อสอบและเฉลยสนามหลวง)
    สำหรับชื่อหัวข้อธรรมและเนื้อหา ยึดถือตามแนวหนังสือนวโกวาท ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส หลักสูตรธรรมสนามหลวง แต่บางบทผู้เขียนได้นำคำแปลจากพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาใช้แทน และบางถ้อยคำได้ปรับใช้ภาษาใหม่ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังคงความหมายเดิมไว้ทุกประการ
    ดังนั้น หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติ” เล่มนี้ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี ตลอดถึงผู้สนใจทั่วไป

Mar 22

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาวินัยมุข และเบญจศีล-เบญจธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาวินัยมุขและเบญจศีล-เบญจธรรม” เล่มนี้ ได้พัฒนาขึ้นตามโครงการพัฒนาเนื้อหาและสื่อการศึกษาพระปริยัติธรรม ยิ่งบประมาณ ๒๕๕๒ โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อสนองพันธกิจด้านบริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัย (๒) เพื่อพัฒนาเนื้อหาและสื่อการศึกษาพระปริยัติธรรมทุกระดับให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทันสมัย (๓) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับ โดยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาวินัยมุขและเบญจศีล-เบญจธรรมเล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้ผู้ศึกษารู้สึกหนักใจในการสอบ เพราะมีเนื้อหาที่เข้าใจยาก และมีส่วนที่จะต้องจดจำอยู่มาก แต่หนังสือเล่มนี้ มีการอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจง่าย กระชับ แต่ครอบคลุมหลักสูตรเนื้อหาทั้งหมดของวิชาวินัยมุข และเบญจศีล-เบญจธรรม ตามที่แม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดไว้ทุกประการ มีภาพการ์ตูน สื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่ยากให้ง่ายมากขึ้นในตอนท้ายเล่มยังมีตัวอย่างแนวคำถามคำตอบที่เคยออกสอบสนามหลวงในพ.ศ. ต่างๆ มาให้อ่านเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบอีกด้วย ดังนั้น หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชา วินัยมุขและเบญจศีล-เบญจธรรม” เล่มนี้ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี ตลอดถึงผู้สนใจทั่วไป

Mar 22

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชากระทู้ธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วิชากระทู้ธรรม เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ๔ ข้อ คือ เพื่อให้ผู้เรียนท่องและจดจำพุทธศาสนสุภาษิตได้คล่องปากขึ้นใจ เพื่ออธิบายขยายความพุทธศาสนสุภาษิตได้แจ่มแจ้ง เพื่อนำพุทธศาสนสุภาษิตไปใช้ในการแสดงธรรม บรรยายธรรมได้ถูกต้องเป็นไปตามกาลเทศะของงานต่าง ๆ เพื่อเขียนหนังสือได้อย่างมีเหตุผลมีความรู้ในการเผยแพร่หลักธรรมพระพุทธศาสนาได้แจ่มแจ้ง และมีคุณภาพมากให้แก่สังคม
    หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ ตอน ประกอบด้วย (๑) หลักการและวิธีการเขียนวิชากระทู้ธรรม โครงการสร้าง มีภาพการ์ตูน สื่อธรรมให้เข้าใจได้ง่าย (๒) มีตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม และ(๓)อธิบายพุทธศาสนสุภาษิตตามลำดับ
    หวังว่า หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการเกี่ยวกับการเขียนและอธิบายหลักธรรมแก่พระภิกษุ สามเณร นักเรียนและประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Sep 27

แก่นพุทธธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • หนังสือ “แก่นพุทธธรรม” เล่มนี้ เกิดขึ้นมาจากโครงการเพิ่มทักษะ (Upskills) การสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา รุ่นที่ ๑ ที่ผู้เขียนได้บรรยาย เรื่อง “แก่นพุทธธรรม” แก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกวันศุกร์ เดือนละ ๔ ครั้ง และเมื่อบรรยายครบตามโครงการแล้ว คณะทำงานที่ประกอบด้วย ๕ ส่วนงาน คือ กองวิชาการ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ กองสื่อสารองค์กร ส่วนงานบริหาร สำนักส่งเสริมฯ และกองกิจการวิทยาเขต ในโครงการเพิ่มทักษะ (Upskills) การสอนรายวิชาพระพุทธศาสนาและพุทธปรัชญา ได้ร่วมกันถอดเทปและรวบรวมเรียงเนื้อหา “แก่นพุทธธรรม” แล้วส่งให้ผู้เขียนปรับแก้ไขเนื้อหาจนสำเร็จเป็นรูปเล่มเนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วยปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๑ ปัญหาเกี่ยวกับโลกและชีวิตคืออะไร ทัศนะทางพระพุทธศาสนา เทียบเคียงกับวัตถุนิยมยุคใหม่ปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๒ โลกและชีวิตเป็นอย่างไร ?ปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๓ โลกและชีวิตเป็นไปอย่างไร ?ปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๔ เรารับรู้โลกภายนอกได้อย่างไร ?ปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๕ โลกและชีวิตดีงามเป็นอย่างไร ?ปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๖ จะไปสู่ความดีงามนั้นได้อย่างไร ?ซึ่งปัญหาพื้นฐานข้อที่ ๖ จะไปสู่ความดีงามนั้นได้อย่างไร ? ก็จะประกอบด้วย ปัญญาสิกขา : วิปัสสนากรรมฐาน หรือวิปัสสนาภาวนา องค์ประกอบในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน ๒ แบบ : (๑) สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน (๒) วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน สติปัฏฐาน ๔ : วิธี/วิถี/มรรคาไปสู่ความดีงามอานาปานปัพพะ(สติ):สติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำแนวปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร อานิสงส์แห่งการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน ความสรุป และสรุปทบทวนปัญหาเกี่ยวกับโลกและชีวิตหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “แก่นพุทธธรรม” เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธแก่คณาจารย์ นิสิตและประชาชนทั่วไปตลอดไป

Aug 04

พุทธประวัติตามแนวปฐมสมโพธิ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พุทธประวัติตามแนวปฐมสมโพธิ” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) พิมพ์เผยแพร่แล้ว ๑๒ ครั้ง เป็นจำนวนมากกว่า ๒๐,๐๐๐ เล่ม และผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป“พุทธประวัติตามแนวปฐมสมโพธิ” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภตอนหนึ่งว่า หนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาพุทธานุพุทธประวัติหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก ซึ่งมีหนังสือปฐมสมโพธิ อยู่ในหลักสูตรด้วย และโดยที่หนังสือปฐมสมโพธินั้น จัดว่าเป็นวรรณคดีชั้นสูง ซึ่งสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส กวีเอกของไทย ทรงพระนิพนธ์ขึ้นโดยใช้สำนวนโวหารลึกซึ้งเข้าใจยาก ส่วนมากจะเป็นสำนวนภาษาบาลี สันสกฤต และคำไทยโบราณ ซึ่งผู้เรียนนักธรรมและผู้อ่านทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีความรู้ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และหลักภาษาไทยมาเป็นพื้นฐานอย่างดีแล้ว จะเข้าใจความหมายและเนื้อหาสาระได้ยาก อีกทั้งยังเน้นเรื่องอภินิหารอีกมากมายหลายบทหลายตอน ด้วยเหตุนี้ จึงได้จัดเรียบเรียงถ้อยคำสำนวนขึ้นใหม่ โดยยังคงเนื้อหาสาระของเรื่องไว้ตามเดิม เพียงแต่ใช้ภาษาที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่ายขึ้น แม้จะไม่รู้ภาษาบาลีมาก่อน นอกจากบางคำบางสำนวนซึ่งเป็นที่เข้าใจกันเป็นอย่างตีอยู่แล้วก็จะคงสำนวนเดิมไว้ เพื่อรักษาอรรถรสของภาษาอันไพเราะให้คงอยู่ในเนื้อหาต่อไป และก็ยังคงมีเรื่องอภินิหารไว้บ้างตามที่เห็นสมควรนอกจากนี้ยังได้เพิ่มเนื้อหาสาระบางประการที่มิได้กล่าวไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิ นำมาสอดแทรกเพื่อช่วยให้เนื้อหาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักอำนวยประโยชน์แก่การเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และผู้สนใจพระประวัติชองพระพุทธเจ้า ประวัติพระพุทธศาสนาได้ตามสมควร.

Aug 04

สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระดี ศรีอุทัยธานี

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระดี ศรีอุทัยธานี” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) ที่ผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป“สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) พระดี ศรีอุทัยธานี” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า ในการบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๗ ปี แห่งการมรณภาพของเจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) และครบรอบ ๑๘ ปีแห่งการตั้งชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสายเอเชียทางหลวงหมายเลข จ ตรงบ้านท่าน้ำอ้อย ตำบลน้ำทรง จังหวัดนครสวรรค์ ข้ามไปยังจังหวัดอุทัยธานี ชื่อว่า “สะพานสมเด็จพระวันรัต เฮง.เขมจารี” และผู้เรียบเรียง ได้รับคำแนะนำจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระเทพวิริยาภรณ์ (ชญาชัชชัญ) เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ให้เรียบเรียงประวัติท่านเจ้าประคุณสมเด็จ พระวันรัต (เฮง เขมจารี) ในฐานะเป็นคนจังหวัดอุทัยธานีด้วยกัน โดยท่านจะเป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์ เพื่อเป็นที่ระลึกและมอบแก่ผู้มาร่วมงานบำเพ็ญกุศลอุทิศแด่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ณ บริเวณอุทยานสมเด็จฯ เขมจารี เชิงสะพานข้ามแม่น้ำฝั่งจังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ท่านมรณภาพก่อนผู้เรียบเรียงเกิด แต่พระอุปัชฌาย์ของเรียบเรียง คือ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ “พระอุทานธรรมโศภิต (พร้อม สุมโน)” อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมโศภิต อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี เป็นศิษย์ใกล้ชิดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้เล่าถึงปฏิปทาอาจาระ และคำสอนของสมเด็จฯ ให้ภิกษุสามเณรในวัดฟังบ่อย ๆ จนผู้เรียบเรียงเกิดความเคารพและศรัทธาในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯไปด้วยเมื่อพระเดชพระคุณ พระเทพวิริยาภรณ์ มีความประสงค์จะเผยแพร่ประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เป็นที่แพร่หลายแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะชาวจังหวัดอุทัยธานี ผู้เรียบเรียงรู้สึกชาบซึ้งและอนุโมทนาในกุศลเจตนาของพระเดชพระคุณฯ เป็นอย่างยิ่ง จึงรับดำเนินการด้วยความยินดีและเต็มใจ และได้เริ่มค้นหาประวัติของท่าน พบมีพิมพ์ไว้ในหนังสือประวัติวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พระราชอุทัยกวี (พุฒ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีสถิตฯ อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกรูปหนึ่ง จึงได้นำมาพิมพ์เผยแพร่ รวมทั้งพระธรรมเทศนาอันทรงคุณค่า ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้แสดงไว้

Aug 04

จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) ที่ผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป“จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภถึงไว้ในคำนำว่า ในวาระโอกาสที่พระเดชพระคุณพระธรมรัตนวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร เจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่ ได้ปรารภที่จะสมโภชพระอารามวัดราชสิทธาราม หลังจากที่ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุ และบูรณะโบราณสถานในวัดราชสิทธาราม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นผลงานชิ้นล่าสุด และในปีนี้เป็นวาระครบรอบ ๕๐ ปี ที่พระเดชพระคุณฯ เป็นพระอนุจรพระศากยบุตติวงศ์ มาจำพรรษาณ วัดราชสิทธาราม ซึ่งถือว่าเป็นมงคลวโรกาสอันดี พระเดชพระคุณฯ จึงจัดงานสมโภชในคราวเดียวกันในการนี้ พระเดชพระคุณพระธรรมรัตนวิสุทธิ์ ได้มอบหมายให้ผู้เรียบเรียง จัดทำหนังสือจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เพื่อเป็นที่ระลึกด้วย ผู้เรียบเรียงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสปฏิการคุณร่มเงาพระอาราม ในโอกาสอันสำคัญยิ่ง จึงทุ่มเทสุดความสามารถ เพราะหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะเป็นที่ระลึกแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญด้านจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชสิทธารามต่อไปในอนาคต เพราะนอกจากจะทำให้เห็นจิตรกรรมของเดิมแล้วยังได้แสดงขั้นตอนการอนุรักษ์ตามหลักวิชาการ ที่จิตรกรครั้งโบราณได้ทำมา ทำให้ทราบทั้งประวัติจิตรกรรมเดิมและการอนุรักษ์ นอกจากนี้ ยังได้ทำหนังสือเรื่องเวสสันดรชาดกอีกหนึ่งเล่ม เพื่อประกอบจิตรกรรมเรื่องเวสสันดรภายในพระอุโบสถด้วย หนังสือเล่มนี้ สำเร็จลงด้วยความอนุเคราะห์จาก นายประดิษฐ์ เกติวงศ์ นายช่างศิลปกรรมระดับอาวุโส สำนักโบราณคดีกรมศิลปากร ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทุกขั้นตอนให้ อาจารย์วีรพจน์ เอโกมล ถ่ายภาพจิตรกรรมให้ และนายธนเทพ วงษ์พันธุ์ ได้ช่วยพิมพ์ต้นฉบับ จัดทำรูปเล่มและปกให้ ขออนุโมทนา และขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้จึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจใฝ่รู้วิชาการพุทธศาสนา ตลอดจนครู นักเรียน และนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วไปเป็นอย่างดี

Aug 04

วันสำคัญ ในพระพุทธศาสนาเชิงลึก วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา อัฏฐมีบูชา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “วันสำคัญ ในพระพุทธศาสนาเชิงลึก วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา อัฏฐมีบูชา” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) พิมพ์เผยแพร่แล้ว ๑๑ ครั้ง เป็นจำนวนมากกว่า ๓๐,๐๐๐ เล่ม และผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป“วันสำคัญ ในพระพุทธศาสนาเชิงลึก วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา อัฏฐมีบูชา” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภถึงไว้ในคำนำตอนหนึ่งว่า วันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายถือปฏิบัติ เพื่อเป็นการสร้างบุญเสริมบารมีให้กับตนเอง ด้วยหวัง “อัตตสมบัติ” อันเป็นสมบัติทิพย์ติดตัวไปทุกภพทุกชาติ ตราบเข้าสู่พระนิพพานวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ชาวพุทธจะร่วมกันจัดพิธีบูชาเป็นพิเศษ เมื่อถึงวันเหล่านี้ นอกจากนี้ ก็ยังมีวันสำคัญเกี่ยวกับพระวินัย คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ซึ่งพุทธศาสนิกชนก็จะทำบุญเป็นพิเศษอีกเช่นกัน ส่วนวันธรรมสวนะ หรือที่เรียกว่า “วันพระ” จะมีเดือนละ ๔ วัน พุทธศาสนิกชนก็ได้ทำบุญตักบาตร ให้ทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนาทุกเดือน ตลอดทั้งปี อีกทั้งในหนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้นำมาเฉพาะเรื่องวันสำคัญทั้งคือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่ชาวพุทธได้จัดพิธีบูชากันเป็นพิเศษ เพื่อนำประวัติของพระพุทธเจ้า และประวัติความเป็นมาของการจัดพิธี พร้อมทั้งเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญของแต่ละวันนั้น มาให้พุทธศาสนิกชน ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาได้อ่านได้ศึกษา เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องและกว้างขึ้น และกล่าวถึงคำกล่าวบูชาถวายเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ที่เป็นภาษาบาลี พร้อมคำแปลมารวมไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนได้นำไปใช้ในการทำพิธีกล่าวคำบูชา เมื่อใช้แล้วควรเก็บรักษาไว้ใช้ในคราวต่อไป เพราะนอกจากจะใช้เป็นคู่มือประกอบพิธีดังกล่าวแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญเหล่านั้นด้วย จึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจใฝ่รู้วิชาการพุทธศาสนา ตลอดจนครู นักเรียน และนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วไปเป็นอย่างดี

Aug 04

พุทธบัญญัติ ๒๒๗

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พุทธบัญญัติ ๒๒๗” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พุทธบัญญัติ ๒๒๗” เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งพิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙ วัตถุประสงค์การเรียบเรียง เพื่อเป็นตำราวิชาการประกอบการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และเป็นตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ “ศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา” ที่พระภิกษุสามณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจ สามารถใช้เป็นคู่มือศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี โดยจะได้ทราบความเป็นมา หลักการ เหตุผล ประยชน์ และวัตถุประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ทรงบัญญัติพระวินัยการเรียบเรียงพุทธบัญญัตินี้ นับว่ายากพอสมควร เพราะมีมากถึง ๒๒๗ สิกขาบท ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละสิกขาบทก็มีเนื้อหามาก ต้องเลือกสรรเนื้อหาที่มีสาระเหมาะสม และควรนำเสนอให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ทั้งปรับสำนวนภาษาให้เข้าใจง่าย แต่บางสำนวนก็คงไว้ตามเดิม เช่นพระบัญญัติต้นข้อความทุกสิกขาบทยังคงสำนวนภาษาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนวโกวาท ที่ใช้เป็นตำราเรียนนักธรรมชั้นตรี ยกตัวอย่างเช่น ในปาราชิกสิกขาบหที่ ๑ ว่า “ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก” แต่ในพระไตรปิฎกเขียนว่า “ภิกษุใด เสพเมถุน ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาราชิก หาสังวาสมิได้” เป็นตัน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบทั้งสำนวนในหนังสือนวโกวาท และสำนวนในพระไตรปิฎก แม้ผู้เรียบเรียงได้พยายามให้รายละเอียดแต่ละสิกขาบทเป็นอย่างดี เพื่อความเข้าใจของผู้ศึกษา แต่ก็ยังมีบางสิกขาบทที่เข้าใจยาก ผู้ศึกษาและผู้สนใจสามารถค้นคว้าได้จากพระไตรปัฎกภาษาไทย ฉบับดังกล่าวตามที่ได้แจ้งตัวเลขแสดงถึงเล่มหัวข้อ และหน้า ไว้ในแต่ละลิกขาบทนั้น ๆ แล้ว หวังว่า “พุทธบัญญัติ ๒๒๗” จะก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่พระภิกษุสามณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจที่จะศึกษาเรียนคำสอนทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระวินัยสืบไป

Aug 04

พระเทวทัต ตันตำรับฆ่าตัดตอน

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พระเทวทัต ตันตำรับฆ่าตัดตอน” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พระเทวทัต ตันตำรับฆ่าตัดตอน” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า ปัจจุบันคำว่า “ฆ่าตัดตอน” มีการพูดกันบ่อยทุกวงการ ถ้าจะพูดแต่ “ตัดตอน” อย่างเดียว โดยไม่เกี่ยวกับ “การฆ่า” ก็จะเห็นได้ว่า มีคำพูดที่มีความหมายอย่างเดียวกันนี้หลายคำ เช่น ตัดไฟตันลม, ตัตปัญหา,ตัตหนทาง, ตัตเสบียง และตัดหน้า เป็นต้น ซึ่งใช้ในความหมายทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ซึ่งคนไทยเมื่อได้ยินก็จะเข้าใจทันที ในวงการแพทย์ก็ใช้ประจำ เช่น การฉีตวัคซีนเพื่อสกัดกั้นไม่ให้โรคระบาด ไม่ให้ลุกลาม รวมถึงการคุมทำเนิต และการทำแท้ง ก็เพื่อป้องกันหรือตัดปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่าจะตามมาภายหลัง เป็นต้น และผู้เขียนมีความเห็นว่า เรื่องตัดตอนดังกล่าวมีคู่กับสังคมมนุษย์มานานแล้ว พระเทวทัตอาจทำตามอย่างคนรุ่นก่อนๆ แต่ไม่มีเรื่องเล่าขานสืบกันมา ส่วนเรื่องพระเทวทัตมีประวัติชัดเจน จึงนำเรื่องของท่านมาแสตงให้ทราบในวงกว้าง และเปิดประเด็นให้คิดว่า นอกจากพระเทวทัตแล้ว มีใครบ้างที่ปฏิบัติตามแบบพระเทวทัต หวังว่า “พระเทวทัตต้นต่ำรับฆ่ตัดตอน” นี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องเกี่ยวกับพระเทวทัตในแง่มุมอื่น ๆ. ที่ยังไม่ค่อยมีผู้นำมาเขียนกันมากนัก ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในพระไตร่ปิฎก และอรรถกถา ผู้เรียบเรียงขอนำเฉพาะบางส่วนบางตอนที่นำสนใจมาให้ทราบกัน เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ สำหรับผู้ใคร่ศึกษาเรื่องนี้ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา พระสุตตันตปิฎก ก็กล่าวเรื่องทำนองไว้อีกด้วย

Older posts «