Aug 04

จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) ที่ผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป“จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภถึงไว้ในคำนำว่า ในวาระโอกาสที่พระเดชพระคุณพระธรมรัตนวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร เจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่ ได้ปรารภที่จะสมโภชพระอารามวัดราชสิทธาราม หลังจากที่ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุ และบูรณะโบราณสถานในวัดราชสิทธาราม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นผลงานชิ้นล่าสุด และในปีนี้เป็นวาระครบรอบ ๕๐ ปี ที่พระเดชพระคุณฯ เป็นพระอนุจรพระศากยบุตติวงศ์ มาจำพรรษาณ วัดราชสิทธาราม ซึ่งถือว่าเป็นมงคลวโรกาสอันดี พระเดชพระคุณฯ จึงจัดงานสมโภชในคราวเดียวกันในการนี้ พระเดชพระคุณพระธรรมรัตนวิสุทธิ์ ได้มอบหมายให้ผู้เรียบเรียง จัดทำหนังสือจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เพื่อเป็นที่ระลึกด้วย ผู้เรียบเรียงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสปฏิการคุณร่มเงาพระอาราม ในโอกาสอันสำคัญยิ่ง จึงทุ่มเทสุดความสามารถ เพราะหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะเป็นที่ระลึกแล้ว ยังเป็นหลักฐานสำคัญด้านจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชสิทธารามต่อไปในอนาคต เพราะนอกจากจะทำให้เห็นจิตรกรรมของเดิมแล้วยังได้แสดงขั้นตอนการอนุรักษ์ตามหลักวิชาการ ที่จิตรกรครั้งโบราณได้ทำมา ทำให้ทราบทั้งประวัติจิตรกรรมเดิมและการอนุรักษ์ นอกจากนี้ ยังได้ทำหนังสือเรื่องเวสสันดรชาดกอีกหนึ่งเล่ม เพื่อประกอบจิตรกรรมเรื่องเวสสันดรภายในพระอุโบสถด้วย หนังสือเล่มนี้ สำเร็จลงด้วยความอนุเคราะห์จาก นายประดิษฐ์ เกติวงศ์ นายช่างศิลปกรรมระดับอาวุโส สำนักโบราณคดีกรมศิลปากร ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทุกขั้นตอนให้ อาจารย์วีรพจน์ เอโกมล ถ่ายภาพจิตรกรรมให้ และนายธนเทพ วงษ์พันธุ์ ได้ช่วยพิมพ์ต้นฉบับ จัดทำรูปเล่มและปกให้ ขออนุโมทนา และขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้จึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจใฝ่รู้วิชาการพุทธศาสนา ตลอดจนครู นักเรียน และนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วไปเป็นอย่างดี

Aug 04

วันสำคัญ ในพระพุทธศาสนาเชิงลึก วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา อัฏฐมีบูชา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “วันสำคัญ ในพระพุทธศาสนาเชิงลึก วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา อัฏฐมีบูชา” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) พิมพ์เผยแพร่แล้ว ๑๑ ครั้ง เป็นจำนวนมากกว่า ๓๐,๐๐๐ เล่ม และผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป“วันสำคัญ ในพระพุทธศาสนาเชิงลึก วิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา อัฏฐมีบูชา” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภถึงไว้ในคำนำตอนหนึ่งว่า วันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายถือปฏิบัติ เพื่อเป็นการสร้างบุญเสริมบารมีให้กับตนเอง ด้วยหวัง “อัตตสมบัติ” อันเป็นสมบัติทิพย์ติดตัวไปทุกภพทุกชาติ ตราบเข้าสู่พระนิพพานวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ชาวพุทธจะร่วมกันจัดพิธีบูชาเป็นพิเศษ เมื่อถึงวันเหล่านี้ นอกจากนี้ ก็ยังมีวันสำคัญเกี่ยวกับพระวินัย คือ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ซึ่งพุทธศาสนิกชนก็จะทำบุญเป็นพิเศษอีกเช่นกัน ส่วนวันธรรมสวนะ หรือที่เรียกว่า “วันพระ” จะมีเดือนละ ๔ วัน พุทธศาสนิกชนก็ได้ทำบุญตักบาตร ให้ทาน รักษาศีล เจริญจิตภาวนาทุกเดือน ตลอดทั้งปี อีกทั้งในหนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้นำมาเฉพาะเรื่องวันสำคัญทั้งคือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่ชาวพุทธได้จัดพิธีบูชากันเป็นพิเศษ เพื่อนำประวัติของพระพุทธเจ้า และประวัติความเป็นมาของการจัดพิธี พร้อมทั้งเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญของแต่ละวันนั้น มาให้พุทธศาสนิกชน ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาได้อ่านได้ศึกษา เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องและกว้างขึ้น และกล่าวถึงคำกล่าวบูชาถวายเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ที่เป็นภาษาบาลี พร้อมคำแปลมารวมไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนได้นำไปใช้ในการทำพิธีกล่าวคำบูชา เมื่อใช้แล้วควรเก็บรักษาไว้ใช้ในคราวต่อไป เพราะนอกจากจะใช้เป็นคู่มือประกอบพิธีดังกล่าวแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญเหล่านั้นด้วย จึงหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจใฝ่รู้วิชาการพุทธศาสนา ตลอดจนครู นักเรียน และนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วไปเป็นอย่างดี

Aug 04

พุทธบัญญัติ ๒๒๗

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พุทธบัญญัติ ๒๒๗” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พุทธบัญญัติ ๒๒๗” เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงจากหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งพิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช ๒๕๓๙ วัตถุประสงค์การเรียบเรียง เพื่อเป็นตำราวิชาการประกอบการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และเป็นตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ “ศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา” ที่พระภิกษุสามณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจ สามารถใช้เป็นคู่มือศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี โดยจะได้ทราบความเป็นมา หลักการ เหตุผล ประยชน์ และวัตถุประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ทรงบัญญัติพระวินัยการเรียบเรียงพุทธบัญญัตินี้ นับว่ายากพอสมควร เพราะมีมากถึง ๒๒๗ สิกขาบท ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละสิกขาบทก็มีเนื้อหามาก ต้องเลือกสรรเนื้อหาที่มีสาระเหมาะสม และควรนำเสนอให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ทั้งปรับสำนวนภาษาให้เข้าใจง่าย แต่บางสำนวนก็คงไว้ตามเดิม เช่นพระบัญญัติต้นข้อความทุกสิกขาบทยังคงสำนวนภาษาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนวโกวาท ที่ใช้เป็นตำราเรียนนักธรรมชั้นตรี ยกตัวอย่างเช่น ในปาราชิกสิกขาบหที่ ๑ ว่า “ภิกษุเสพเมถุน ต้องปาราชิก” แต่ในพระไตรปิฎกเขียนว่า “ภิกษุใด เสพเมถุน ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาราชิก หาสังวาสมิได้” เป็นตัน ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบทั้งสำนวนในหนังสือนวโกวาท และสำนวนในพระไตรปิฎก แม้ผู้เรียบเรียงได้พยายามให้รายละเอียดแต่ละสิกขาบทเป็นอย่างดี เพื่อความเข้าใจของผู้ศึกษา แต่ก็ยังมีบางสิกขาบทที่เข้าใจยาก ผู้ศึกษาและผู้สนใจสามารถค้นคว้าได้จากพระไตรปัฎกภาษาไทย ฉบับดังกล่าวตามที่ได้แจ้งตัวเลขแสดงถึงเล่มหัวข้อ และหน้า ไว้ในแต่ละลิกขาบทนั้น ๆ แล้ว หวังว่า “พุทธบัญญัติ ๒๒๗” จะก่อให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลแก่พระภิกษุสามณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจที่จะศึกษาเรียนคำสอนทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระวินัยสืบไป

Aug 04

พระเทวทัต ตันตำรับฆ่าตัดตอน

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พระเทวทัต ตันตำรับฆ่าตัดตอน” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พระเทวทัต ตันตำรับฆ่าตัดตอน” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า ปัจจุบันคำว่า “ฆ่าตัดตอน” มีการพูดกันบ่อยทุกวงการ ถ้าจะพูดแต่ “ตัดตอน” อย่างเดียว โดยไม่เกี่ยวกับ “การฆ่า” ก็จะเห็นได้ว่า มีคำพูดที่มีความหมายอย่างเดียวกันนี้หลายคำ เช่น ตัดไฟตันลม, ตัตปัญหา,ตัตหนทาง, ตัตเสบียง และตัดหน้า เป็นต้น ซึ่งใช้ในความหมายทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ซึ่งคนไทยเมื่อได้ยินก็จะเข้าใจทันที ในวงการแพทย์ก็ใช้ประจำ เช่น การฉีตวัคซีนเพื่อสกัดกั้นไม่ให้โรคระบาด ไม่ให้ลุกลาม รวมถึงการคุมทำเนิต และการทำแท้ง ก็เพื่อป้องกันหรือตัดปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่าจะตามมาภายหลัง เป็นต้น และผู้เขียนมีความเห็นว่า เรื่องตัดตอนดังกล่าวมีคู่กับสังคมมนุษย์มานานแล้ว พระเทวทัตอาจทำตามอย่างคนรุ่นก่อนๆ แต่ไม่มีเรื่องเล่าขานสืบกันมา ส่วนเรื่องพระเทวทัตมีประวัติชัดเจน จึงนำเรื่องของท่านมาแสตงให้ทราบในวงกว้าง และเปิดประเด็นให้คิดว่า นอกจากพระเทวทัตแล้ว มีใครบ้างที่ปฏิบัติตามแบบพระเทวทัต หวังว่า “พระเทวทัตต้นต่ำรับฆ่ตัดตอน” นี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องเกี่ยวกับพระเทวทัตในแง่มุมอื่น ๆ. ที่ยังไม่ค่อยมีผู้นำมาเขียนกันมากนัก ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในพระไตร่ปิฎก และอรรถกถา ผู้เรียบเรียงขอนำเฉพาะบางส่วนบางตอนที่นำสนใจมาให้ทราบกัน เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ สำหรับผู้ใคร่ศึกษาเรื่องนี้ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา พระสุตตันตปิฎก ก็กล่าวเรื่องทำนองไว้อีกด้วย

Jul 27

มหาเวสสันดรชาดก

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “มหาเวสสันดรชาดก” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้
    “มหาเวสสันดรชาดก” เล่มนี้ กล่าวถึงเนื้อหาเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ พร้อมภาพประกอบ ซึ่งเป็นจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชสิทธารามราชวรวิหาร ซึ่งเนื้อหามีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ มีกัณฑ์ทศพร เป็นต้นโดยละเอียด และยังได้นำต้นฉบับกัณห์มหาพน ซึ่งมีทั้งภาษาขอม เขียนลงในใบลาน และภาษาไทยเขียนลงในสมุดข่อย อันเป็นฉบับเดิมมาลงไว้ด้วย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ เผยแพร่ และเทิดทูนเกียรติคุณของท่านให้ปรากฏ ในการนี้ ผู้เรียบเรียงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสปฏิการคุณร่มเงาพระอารามในอกาสอันสำคัญยิ่งจึงทุ่มเทอย่างสุดความสามารถเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุดและเป็นประวัติศาสตร์ของวัดราชสิทธาราม ต่อไป

Jul 27

เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) พิมพ์เผยแพร่แล้ว ๒๒ ครั้ง เป็นจำนวนมากกว่า ๕๗,๗๐๐ เล่ม และผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป
    สำหรับ “เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา” เล่มนี้ กล่าวถึง เอตทัคคะ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางพระพุทธศาสนา ที่พระบรมศาสดาทางประทานแต่งให้พุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้มีความรู้ความสามารถยอดเยี่ยมในด้านนั้น ๆ เป็นตำแหน่งเฉพาะบุคคลที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งเพียงรูปเดียวเท่านั้น แม้จะมีท่านอื่น ๆ มีความรู้ความสามารถในด้านเดียวกัน ก็จะไม่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาอีก ซึ่งเนื้อหาจะเป็นเช่นไร หาอ่านได้เนื้อหาสาระภายในเล่ม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรม และผู้สนใจวิชาการทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะประวัติของพุทธบริษัททั้ง ๔ ในครั้งพุทธกาล ตลอดไป

Jul 27

ตายอย่างไรไปสวรรค์

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “ตายอย่างไรไปสวรรค์” เล่มนี้ เป็นผลงานของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป
    สำหรับ “ตายอย่างไรไปสวรรค์” เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องตายเป็นธรรมชาติที่สัตวโลกได้รับเสมอเหมือนกันทั้งหมด มีการเกิดเป็นเบื้องต้น มีการเปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและมีการตายเป็นที่สุด เกิดกับตายมาด้วยกัน เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด และทุกคนก็ทราบดีว่าไม่มีทางหลีกเสี่ยงได้ แต่ก็มีคนไม่มากนักที่เข้าใจธรรมชาติของชีวิตและความตายที่แท้จริง จึงมีสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ได้เปิดการเรียนการสอน จัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้กันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีหนังสือทั้งที่เป็นตำราทางวิชาการบ้าง ประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้เขียนบ้าง พิมพ์ออกเผยแพร่จำนวนมาก
    คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงเปิดหลักสูตรสายาวิชาชีวิตและความตาย เพื่อบริการวิชาการด้านนี้แก่ภิกษุสงฆ์และประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจ เกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิตมนุษย์และชีวิตสัตวโลกทั่วไป ถ้าคนส่วนใหญ่เข้าใจในสัจธรรมของชีวิตดีแล้ว เชื่อว่าปัญหาความขัดแย้ง ความเครียดความกลัว ความวิตกกังวล ตลอดจนกิเลสตัณหาต่าง ๆ จะเบาบางลง
    หนังสือเล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้พยายามรวบรวมหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องชีวิตและความตายมารวมไว้ในเล่มเดียวกันเท่าที่พอจะทำได้ เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้าสำหรับนิสิตนักศึกษา และท่านผู้สนใจใฝ่หาคามจริงของชีวิตสืบไป

Jul 27

ศีล ๕ ทางสู่ประตูสวรรค์

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “ศีล ๕ ทางสู่ประตูสวรรค์” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) พิมพ์เผยแพร่แล้ว ๑๑ ครั้ง เป็นจำนวนมากกว่า ๓๐,๐๐๐ เล่ม และผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป
    “ศีล ๕ ทางสู่ประตูสวรรค์” เล่มนี้ กล่าวถึงศีล เป็นหลักปฏิบัติในวิถีชีวิตของมวลมนุษยชาติ เพื่อความสงบสุขของสังคม เป็นของเก่ามีมาก่อนพุทธกาลยาวนานมาก แต่ถึงกระนั้น สังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยก็วุ่นวายเดือดร้อนเพราะคนขาดศีลอันเนื่องจากถูกกิเลสครอบงำ ทำตามอำนาจกิเลสพาไป แม้จะรณรงค์เผยแพร่ให้ทุกคนปฏิบัติในศีลก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ศีล เป็นคำที่ชาวพุทธทั่วโลกมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนไทยตั้งแต่เกิดพอรู้เดียงสาเชื่อว่าทุกคนจะได้ยินคำนี้ ไม่ว่าจะในลักษณะใด เพราะศีลเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของชีวิต เป็นพื้นฐานของสังคม และพื้นฐานของมนุษย์ ที่จะทำให้สังคมมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
    ศีล เป็นบทบัญญัติมี ๕ ประการ เรียกว่า ศีล ๕ มีท่านผู้รู้หลายท่านได้เรียบเรียงเป็นหนังสือไว้เป็นอันมาก ในส่วนสาระสำคัญของเนื้อหานั้นส่วนใหญ่เหมือนกัน เพราะมาจากแหล่งเดียวกัน ล้วนแต่น่าสนใจทั้งสิ้น จะแตกต่างบ้างก็เฉพาะในส่วนปลีกย่อย ผู้เรียบเรียงเห็นว่ายังมีบางประเด็นที่ควรนำเสนอให้พุทธศาสนิกชน และผู้สนใจควรทราบเพิ่มเติม จึงได้รวบรวมมาไว้ในเล่มเดียวกัน เป็นการอธิบายขยายความให้เข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งนำนิทานชาดกเกี่ยวกับเรื่องศีลมาเป็นตัวอย่างประกอบ
    หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเรื่องศีล ๕ และผู้สนใจวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับศีล ๕ สืบไป

Jul 27

วัฒนธรรมไทย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

“วัฒนธรรมไทย” เล่มนี้เป็นผลงานเขียนของพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ.(สมาน กลฺยาณธมฺโม) และผู้เขียนได้มอบต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนคือพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้มอบหนังสือดี มีคุณค่าทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายในโอกาสต่อไป
“วัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ กล่าวถึงวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า เป็นมรดกอันล้ำค่าของมวลมนุษยชาติที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม ปรับปรุงแก้ไข และสืบทอดกันตลอดมาจนเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่ทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของ และถือเป็นวิถีชีวิตของคนในชาตินั้น ๆ ด้วย วัฒนธรรมจึงนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อวิถีชีวิตมนุษย์และเป็นสัญลักษณ์ของชาติอย่างโดดเด่น
“วัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ ได้เรียบเรียงเนื้อหาเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญอันเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทยโดยรวมเท่านั้น เพราะถ้าจะนำเรื่องที่เป็นวัฒนธรรมทั้งหมดของคนไทยทุกภาคมารวมไว้ก็คงจะเป็นหนังสือที่มีความหนาหลายร้อยหน้า ซึ่งไม่สะดวกต่อการศึกษาคันคว้า เนื่องจากวัตถุประสงค์การเรียบเรียงก็เพื่อเป็นตำราเชิงวิชาการด้านวัฒนธรรมตามขอบข่ายของหลักสูตรที่กำหนดไว้ จึงเหมาะที่จะเป็นตำราเรียนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และเสริมความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป เพราะปัจจุบันสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับวิชาวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก จึงได้จัดไว้ในหลักสูตรด้วยจึงหวังว่า สาระจากหนังสือเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปเป็นอย่างดี

Jul 26

พัฒนาจิตแนวพุทธ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “พัฒนาจิตแนวพุทธ” เล่มนี้ เป็นผลงานเขียนของ พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์, ผศ. (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผลงานต้นฉบับเล่มนี้ ผู้เขียนได้มอบให้สำนักพิมพ์ มจร เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ มจร ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้“พัฒนาจิตแนวพุทธ” เล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรารภไว้ว่า เล่มนี้เป็นหนังสือเชิงวิชาการที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของจิตในลักษณะต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหนังสือประกอบการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักวิชาการทางพุทธจิตวิทยา ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะต่างทราบกันดีว่าทั่วโลกพากันแข่งขันพัฒนาด้านวัตถุเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมาก มนุษย์มีความเป็นอยู่ด้านกายภาพสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่สภาพจิตใจกลับยิ่งเครียดขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นการสวนทางกับทางด้านกายภาพ ทั้งนี้ เพราะขาดการดูแลจิต อันเป็นตัวรับสภาพทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับมนุษย์การพัฒนาจิต พระพุทธศาสนาเรียกว่า จิตภาวนาบ้าง สมาธิภาวนาบ้าง หรือวิปัสสนาภาวนาบ้าง อันเป็นมรดกจากแดนชมพูทวีป คือประเทศอินเดียถือปฏิบัติกันมายาวนาน จนบรรลุมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติพรหมสมบัติ และนิพพานสมบัติ จำนวนมาก เมื่อเกิดมาพบพระพุทธศาสนาได้รับมรดกอันล้ำค่าสุดวิเศษแล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ก็นับว่าพลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย แล้วอีกกี่ชาติจึงจะได้พบอีกการศึกษาเรื่องจิตที่เรียกว่า “จิตวิทยา” มีแพร่หลายในกลุ่มประเทศตะวันตก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความผิดปกติทางจิตอันเกิดจากสาเหตุต่างๆ และศึกษาพฤติกรรมของจิต แต่ “จิตภาวนา” มีการศึกษาแพร่หลายในกลุ่มประเทศตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาโดยใช้หลักกรรมฐานเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อพัฒนาจิตให้สะอาด สว่าง สงบไม่ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนทนทุกข์ จนสามารถหลุดพ้นเป็นอิสระจากอำนาจกิเลสได้การพัฒนาจิตนั้น เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษยชาติอย่างน้อยก็โปรดระลึกว่า เราเกิดมาเพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้น ทำให้รู้เท่าทันอารมณ์ รู้เท่าทันกิเลส ทำให้เกิดการหักห้าม ยับยั้ง ระงับอารมณ์มีให้ไหลไปตามกิเลสได้ จึงนับว่ามีคุณประโยชน์อย่างมาก ถ้าไม่พัฒนา จิตก็จะเสื่อมลงตามอำนาจกิเลส สุดแต่กิเลสจะชักนำไป สุดท้ายก็ตกสู่อบายภูมิ การพัฒนาจิตนอกจากได้รับผลดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญบุญระดับสูงตามหลักบุญกี้ริยาวัตถุ คือ ทาน ศีล ภาวนา อีกด้วย ส่วนด้านเนื้อหาทางพุทธจิตวิทยาที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีจำนวนมาก โดยเฉพาะคัมภีร์พระอภิธรรม ซึ่งกล่าวถึงเรื่องจิตโดยตรง แต่ที่นำมากล่าวในที่นี้เพียงเล็กน้อยพอเป็นพื้นฐานการศึกษาและปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียบเรียงพยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกเว้นบางศัพท์บางคำที่เป็นศัพท์เฉพาะต้องคงไว้เพื่อความชัดเจนของเนื้อหา สำหรับภาษาบาลีที่นำมาเขียนไว้ด้วยนั้นวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงที่มาของเนื้อหา และเพื่อให้ผู้อ่านได้เรียนรู้การอ่านการเชียนภาษาบาลีไปด้วยจึงหวังว่า หนังสือเล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่ผู้สนใจใคร่ศึกษาใคร่ปฏิบัติ ใคร่พัฒนาจิต พัฒนาชีวิต ยกระดับจิต ยกระดับชีวิตให้สูงขึ้นตามสมควรแก่การปฏิบัติ ขอบุญกุศล คุณความดีอันเกิดจากหนังสือเล่มนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่บิดามารดา พระอุปัชฌาย์ อาจารย์และผู้มีพระคุณ รวมถึงผู้อ่านทุกท่านด้วย

Older posts «

» Newer posts