Category Archive: E-book

Apr 08

พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” เป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับความหมายและขอบข่ายของนิเวศวิทยา หลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยา เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์กับธรรมชาติ แนวทางการอนุรักษ์ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตำรา “พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท ซึ่งมุ่งให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิเวศวิทยา มนุษย์กับระบบนิเวศ นิเวศวิทยาในพระพุทธศาสนา หลักการสำคัญด้านนิเวศวิทยาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก อีกทั้งได้กล่าวถึงวิกฤตการณ์ของระบบนิเวศในปัจจุบันรวมถึงให้มนุษย์รู้จักประยุกต์ใช้หลักธรรมสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานิเวศวิทยาอันแสดงให้เห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามีแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ของระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี เนื้อหาภายในเล่มนี้จะสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่มุ่งให้เกิดความน่ารื่นรมย์ เป็นรมณียสถาน ให้แสดงเห็นถึงบรรยายกาศ สงบ ร่มเย็น อนุรักษ์ธรรมชาติทางพระพุทธศาสนา หวังว่า “พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านพระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยาแก่พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาและประชาชนสืบไป

Apr 08

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ที่กำหนดให้ศึกษาหลักเบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เปรียบเทียบพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ วิวัฒนาการของโลก จักรวาล และมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ทฤษฎีวิวัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีสัมพันธภาพและทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา ผลกระทบระหว่างวิทยาศาสตร์และประยุกตวิทยากับพระพุทธศาสนา ตำรา “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ แต่งโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราขวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเปรียบเทียบความหมาย ลักษณะ ขอบข่ายและวิธีการแสวงหาความจริงของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พระพุทธศาสนากับทฤษฎีวิวัฒนาการ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีสัมพัทธภาพ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และผลกระทบระหว่างวิทยาศาสตร์และประยุกตวิทยากับพระพุทธศาสนา หวังว่า ตำรา “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ ตลอดไป

Apr 08

Tipitaka Studies

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “Tipitaka Studies” is a core subject in Buddhism esignated to study the origin, history and development of the Tipitaka scripture, classification of the structure and content of Tipitaka, brief explanation of commentators, maintenance and inheritance by Mukhapātha (word of mouth) and writing, Buddhist scripture sequence, history of the Tipitaka in Thailand and the benefit …

Continue reading »

Apr 08

พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ เป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษาคุณลักษณะของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในฐานะพุทธจิตวิทยา หลักคำสอนพื้นฐานในพุทธจิตวิทยา การศึกษาในทัศนะของนักพุทธจิตวิทยา กระบวนการจิตวิทยาตามหลักพระพุทธศาสนา จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ การศึกษาในทัศนะของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับพุทธจิตวิทยากับการกำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการ แนวทางการ จัดการศึกษา หลักการจัดการศึกษา สาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตำรา “พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหแบ่งเป็น ๘ บท ซึ่งมุ่งให้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับพุทธจิตวิทยา อิทธิพลของพุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย พุทธจิตวิทยาว่าด้วยการสัมผัสและการรับรู้ พุทธจิตวิทยากับการสร้างแรงจูงใจ พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาอารมณ์ พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาเชาวน์ปัญญา รวมถึงการใช้พุทธจิติทยาในการพัฒนาบุคลิกภาพ และการใช้หลักพุทธจิตวิทยาในการป้องกันและรักษาสุขภาพจิต อันมีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ แรงจูงใจ การรับรู้ อารมณ์ เชาวน์ปัญญาของปัจเจกชน หวังว่า ตำว่า “พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านจิตวิทยาแนวพุทธเชิงบูรณาการ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Apr 08

ภาษาอังกฤษแนวใหม่ : ครบเครื่องเรื่องประโยค

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) หนังสือ “ภาษาอังกฤษแนวใหม่ : ครบเครื่องเรื่องประโยค” เป็นงานเขียนของ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง ซึ่งเป็นศิษย์เกาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาอังกฤษผู้มีประสบการณ์ มหาวิทยาลัยเห็นว่า หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอเทคนิคใหม่ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง เป็นอย่างมากที่ได้มอบต้นฉบับให้มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์และเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต่อไป หนังสือ “ภาษาอังกฤษแนวใหม่ : ครบเครื่องเรื่องประโยค” เป็นตำราสองภาษา คือ ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการของ ของ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง ที่ได้รวบรวมการสร้างประโยค์ไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้ง่ายต่อการใช้ไปใช้ในการพูดหรือเขียน อาจกล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอหลักการแต่งประโยคภาษาอังกฤษได้อย่างครบถ้วนที่สุด ซึ่งถ้านำไปฝึกหัดให้เกิดความช้ำชองแล้ว จะทำให้พูดหรือเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

Apr 08

พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) มหาวิทยาลัยได้กำหนดรายวิชา “พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” ไว้ในหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต เพื่อให้พระภิกษุสามเณรเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการเมืองกับปกครองของไทย หลักพุทธธรรมที่มีต่อการเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่ทางการเมืองการปกครอง อีกทั้งวิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อระบบการเมืองการปกครองของไทย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของไทย อันก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวางในการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ทางการเมืองการปกครอง โดยอาศัยหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาสนับสนุนการเมืองการปกครองที่ดีงาม ตำรา“พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” เล่มนี้เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษา ศึกษาบทบาทของพระพุทธศาสนาที่มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา พุทธธรรมที่มีส่วนเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่การเมือง องค์กรทางคณะสงฆ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองของไทยบทบาทของพระสงฆ์ต่อการเมืองไทยบทบาทของพระสงฆ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยและประเทศอื่น ตำรา“พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หวังว่า ตำรา“พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการเมืองการปกครองเชิงพุทธบูรณาการ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ ตลอดไป

Apr 08

การเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “การเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา” เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาศึกษาพระพุทธศาสนาประยุกต์ที่กำหนดให้ศึกษา ความหมาย ประเภท และศิลปะการเขียนโดยทั่วไป ธรรมชาติและหลักการของบทความทางพระพุทธศาสนา ปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา รวมถึงขั้นตอนของการเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา และฝึกวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของการเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา ตำรา “การเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา”เล่มนี้ แต่งโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น 6 บท มุ่งหมายให้ฝึกเขียนบทความทางภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา และสามารถอ่านและเขียนบทความภาษาอังกฤษทางพระพุทธศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังว่า “การเขียนบทความทางพระพุทธศาสนา”เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านมนุษย์ศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

Apr 08

Advanced English

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) “Advanced English” is one of the subjects in general education subject, stating that “to study grammatical structures of sentences and practices of listening, speaking, reading, and writing skills, focusing on reading, writing and comprehension of English passages, which consist of vocabularies, sentence structure relating to studied documents”.

Apr 08

พุทธวิธีการสอน

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) ตำรา “พุทธวิธีการสอน” เล่มนี้ เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษา ความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับ หลักการ วิธีการ กระบวนการสอนของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการพัฒนาจิตและเจริญปัญญา ตำรา “พุทธวิธีการสอน” เล่มนี้ แต่ง โดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระ ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาความหมายและความเป็นมาเกี่ยวกับหลักการวิธีการ กระบวนการในการสอนของพระพุทธเจ้าในแบบที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของผู้รับฟังหรือผู้ที่พอจะบรรลุเข้าถึงความเป็นจริงของชีวิต โดยเน้นหลักการสอนตามหลักไตรสิกขา อริยสัจ อนุปุพพิกถา นวังคสัตถุศาสน์ และโยนิโสมนสิการ รวมทั้งการพัฒนาจิตและเจริญปัญญา หวังว่า ตำรา “พุทธวิธีการสอน” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการ ด้านพุทธศาสตร์และครุศาสตร์ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

Apr 03

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชากระทู้ธรรม

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิชากระทู้ธรรม เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ๔ ข้อ คือ เพื่อให้ผู้เรียนท่องและจดจำพุทธศาสนสุภาษิตได้คล่องปากขึ้นใจ เพื่ออธิบายขยายความพุทธศาสนสุภาษิตได้แจ่มแจ้ง เพื่อนำพุทธศาสนสุภาษิตไปใช้ในการแสดงธรรม บรรยายธรรมได้ถูกต้องเป็นไปตามกาลเทศะของงานต่างๆเพื่อเขียนหนังสือได้อย่างมีเหตุผลมีความรู้ในการเผยแพร่หลักธรรมพระพุทธศาสนาได้แจ่มแจ้ง และมีคุณภาพมากให้แก่สังคม หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ ตอน ประกอบด้วยหลักการและวิธีการเขียนวิชากระทู้ธรรม โครงการสร้าง มีภาพการ์ตูน สื่อธรรมให้เข้าใจได้ง่าย มีตัวอย่างการแต่งกระทู้ธรรม และอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตตามลำดับ หวังว่า หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชากระทู้ธรรม” เล่มนี้ จะอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการเกี่ยวกับการเขียนและอธิบายหลักธรรมแก่พระภิกษุ สามเณร นักเรียนและประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Older posts «

» Newer posts