Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาษาบาลี ที่พระพุทธโฆสาจารย์รจนา ซึ่งมีเนื้อหา ๒๓ ปริจเฉท กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ ปริจเฉท คือสีลนิเทศ และธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ ปริจเฉท ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (๙) พรหมวิหารนิเทศ (๑๐) อารุปปนิเทศ (๑๑) สมาธินิเทศ (๑๒) อิทธิวิธนิเทศ (๑๓) อภิญญา-นิเทศ และพระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความก็ได้แก่ ปัญญา อยู่ใน ๙ ปริจเฉท ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑๔ ถึง ๒๒ ได้แก่ (๑๔) ขันธนิเทศ (๑๕) อายตนธาตุนิเทศ (๑๖) อินทริยสัจจนิเทศ (๑๗) ปัญญาภูมินิเทศ (๑๘) ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ (๑๙) กังขาวิตรณวิสุทธิ-นิเทศ (๒๐) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๑) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๒) ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๓) ปัญญาภาวนานิสังสนิเทศ ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๒๒ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นี่แหละจะเรียกว่า แผนที่หรือทางสู่พระนิพพาน
    วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒ นี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ นิเทศ คือ (๑๑) สมาธินิเทศ แสดงวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญากัมมัฏฐาน กับจตุธาตุววัตถาน-กัมมัฏฐาน อันเป็นกัมมัฏฐานหมวดสุดท้ายในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ (๑) อาหาเร-ปฏิกูลสัญญา หมายถึง การทำความสำำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร โดยมุ่งพิจารณาไปที่กวฬิงการาหาร อาหารที่เป็นคำๆ ทั้งโดยการแสวงหา การบริโภค การหมักหมม และการขับถ่ายเป็นต้น (๒) จตุธาตุววัฏฐาน เป็นการกำหนดพิจาณาธาตุ ๔ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) เป็นอารมณ์ โดยการพิจารณาอวัยวะในร่างกายที่เป็นธาตุนั้น ๆ เช่น กำหนดพิจารณาผม และขน เป็นปฐวีธาตุ พิจารณาสิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบ เช่น น้ำำดี น้ำเสลด เป็นอาโปธาตุ พิจารณาสิ่งที่มีลักษณะอบอุ่นเป็นเตโชธาตุ พิจารณาสิ่งที่มีลักษณะไหว เป็นวาโยธาตุ การกำหนดพิจารณาในธาตุทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเป็นเหตุให้เพิกถอนอัตตสัญญาความสำคัญหมายในความเป็นสัตว์บุคคลออกได้ จนไม่เกิดความยินดียินร้ายในอารมณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้จิตมีสมาธิมากยิ่งขึ้น (๑๒) อิทธิวิธนิเทศ แสดงเรื่องอภิญญา ท่านพูดถึงอภิญญา ๕ ประการ คือ (๑) อิทธิ-วิธญาณ การแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) ทิพพโสตธาตุญาณ การรู้ดุจได้ยินด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ การกำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติหนหลังได้ (๕) จุตูปปาตญาณ การรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายได้ ท่านขยายความ (๑) อิทธิวิธญาณ ไว้ว่า การที่บุคคลจะแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้นั้น จะต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการเข้าฌาน ในการออกจากฌานตามลำดับ โดยที่สุดแม้การกำหนดอารมณ์ การกำหนดองค์ฌานก็ต้องทำให้เกิดความชำนาญด้วยอาการ ๑๔ อย่าง มีการเข้าฌานไปตามลำดับกสิณเป็นต้นจึงจะแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีถึง ๑๐ ประการ คือ ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ฤทธิ์ของพระอริยะ ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา ฤทธิ์ที่ประกอบโดยชอบในส่วนนั้นเป็นปัจจัย ต่อจากนั้นท่านได้แสดงมูลเหตุของการเกิดฤทธิ์ว่ามาจากจิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยอาการ ๑๐ อย่างที่ชื่อว่า “อาเนญชะ” มีจิตที่ไม่ฟุบลง จิตไม่ฟูขึ้นเป็นต้น ท่านแสดงพร้อมทั้งยกตัวอย่างบุคคลที่แสดงฤทธิ์ได้ (๑๓) อภิญญานิเทศ แสดงเรื่องอภิญญาที่เหลือจากนิเทศที่ผ่านมา คือ (๒) ทิพพโสตธาตุ การได้ยินเสียง ๒ อย่าง ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ (๓) เรื่องเจโตปริยญาณ การกำหนดรู้จิต ๑๖ ประเภท เช่น จิตมีราคะหรือจิตปราศจากราคะเป็นต้น (๔) เรื่องปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนในชาติปางก่อน ว่าเคยทำกุศลหรืออกุศลอะไรไว้ (๕) เรื่องจุตูปปาตญาณ การกำหนดรู้ความเกิดและความดับของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรม ที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในสุคติและทุคติเป็นต้น และเรื่องเบ็ดเตล็ดในอภิญญา

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (๙) พรหมวิหารนิเทศ (๑๐) อารุปปนิเทศ (๑๑) สมาธินิเทศ (๑๒) อิทธิวิธนิเทศ (๑๓) อภิญญานิเทศ และ พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความก็ได้แก่ ปัญญา อยู่ใน ๙ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๑๔ ถึง ๒๒ ได้แก่ (๑๔) ขันธนิเทศ (๑๕) อายตนธาตุนิเทศ (๑๖) อินทริยสัจจนิเทศ (๑๗) ปัญญาภูมินิเทศ (๑๘) ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ (๑๙) กังขาวิตรณวิสุทธิ-นิเทศ (๒๐) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๑) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๒) ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๓) ปัญญา ภาวนานิสังสนิเทศ ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๒๒ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นี่แหละจะเรียกว่า แผนที่ หรือทางสู่พระนิพพาน
    สำหรับ วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑ นี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย ๓ นิเทศ คือ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ แสดงวิธีการเจริญอนุสสติกัมมัฏฐานที่เหลืออีก ๔ ประการ คือ (๗) มรณานุสสติ การพิจารณาความตายเป็นอารมณ์ เพื่อข่มนิวรณ์ทั้งหลาย (๘) กายคตาสติ พิจารณากายเป็นอารมณ์ (๙) อานาปานสติ พิจารณาลมหายใจออก หายใจเข้าเป็นอารมณ์ โดยการศึกษาสนธิ ๕ มนสิการ ๘ วิธีให้เข้าใจกำหนดลม ๑๖ ขั้น จนมีอานิสงส์ให้ได้บรรลุ อรหัตตผล (๑๐) อุปสมานุสสติ การระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์พร้อมทั้งอานิสงส์ที่ เกิดขึ้นในการเจริญกัมมัฏฐานแต่ละอย่าง (๙) พรหมวิหารนิเทศ แสดงวิธีการเจริญพรหมวิหารกัมมัฏฐาน ๔ ประการ คือ (๑) เมตตา กัมมัฏฐาน ฝึกเจริญเมตตาทั้งโดยเจาะจง โดยไม่เจาะจง และโดยไม่มีประมาณ พร้อมทั้งอานิสงส์ เมตตา ๑๑ ประการ (๒) กรุณากัมมัฏฐาน การเจริญกรุณาแผ่ความปรารถนาดีไปในบุคคลและ สัตว์ทั้งหลาย (๓) มุทิตากัมมัฏฐาน การเจริญมุทิตาแผ่ความยินดีไปในบุคคลที่คุ้นเคยกันก่อนึงไปในบุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน (๔) อุเบกขากัมมัฏฐาน ฝึกแผ่ความวางเฉยไปในบุคคลทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก วางใจเป็นกลางในความสุขและความทุกข์ของสัตว์เหล่านั้น ท่านได้อธิบาย โดยละเอียดพร้อมทั้งโทษของการไม่เจริญและอานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหาร เพราะเป็นเหตุ แห่งอัปปนาฌาน (๑๐)อารุปปนิเทศ แสดงวิธีการเจริญอารุปปกัมมัฏฐานซึ่งเป็นขั้นตอนต่อจากการเจริญ รูปกัมมัฏฐานเบื้องต้นที่ผ่านมาแล้ว ได้แก่ (๑) อากาสานัญจายตนฌาน การกำหนดพิจารณา อากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๒) วิญญาณัญจายตนฌาน การกำหนดพิจารณา วิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (๓) อากิญจัญญายตนฌาน การกำหนดพิจารณาภาวะที่ไม่มี อะไร ๆ เป็นอารมณ์ (๔) เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน การกำหนดพิจารณาการเข้าถึงภาวะ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็นอารมณ์ โดยแสดงวิธีการปฏิบัติเป็นขั้นตอนต่อกันไป อย่างละเอียดพร้อมอานิสงส์แห่งการเจริญอารูปฌาน

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (๙) พรหมวิหารนิเทศ (๑๐) อารุปปนิเทศ (๑๑) สมาธินิเทศ (๑๒) อิทธิวิธนิเทศ (๑๓) อภิญญานิเทศ และ พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความก็ได้แก่ ปัญญา อยู่ใน ๙ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๑๔ ถึง ๒๒ ได้แก่ (๑๔) ขันธนิเทศ (๑๕) อายตนธาตุนิเทศ (๑๖) อินทริยสัจจนิเทศ (๑๗) ปัญญาภูมินิเทศ (๑๘) ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ (๑๙) กังขาวิตรณวิสุทธิ-นิเทศ (๒๐) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๑) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๒) ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ (๒๓) ปัญญา ภาวนานิสังสนิเทศ ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๒๒ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา นี่แหละจะเรียกว่า แผนที่ หรือทางสู่พระนิพพาน
    สำหรับ วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒ นี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย ๕ นิเทศ คือ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ แสดงถึงข้อปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะลงมือปฏิบัติ กัมมัฏฐาน นั่นคือให้เข้าใจการตัดความกังวล ๑๐ ประการมีความกังวลเรื่องที่อยู่ ความกังวลเรื่อง ตระกูลเป็นต้น ให้เรียนรู้กัมมัฏฐาน ๒ อย่างมีการแผ่เมตตาในเพื่อนภิกษุเป็นต้น รวมทั้งศึกษา ให้รู้ลักษณะของผู้ที่จะเป็นอาจารย์ที่ตนควรเข้าไปหา เรียนรู้ถึงจริตจริยาแล้วจึงวินิจฉัยกัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจเสียก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจมอบตัวลงเป็นศิษย์ของอาจารย์ ท่านใด เพื่อไม่เกิดความผิดพลาดและเสียใจภายหลัง (๔) ปถวีกสิณนิเทศ เมื่อท่านแสดงวิธีการแสวงหาครูอาจารย์และสถานที่ที่ควรแก่การ ปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้ว จึงแสดงวิธีการเจริญปถวีกสิณกัมมัฏฐานโดยพิสดาร เริ่มแต่การแสวงหา ดินสีต่าง ๆ ที่จะนำมาทำดวงกสิณ วิธีการเพ่งพิจารณาจนได้นิมิต การรักษานิมิต และความฉลาด ในอุบายที่จะทำให้อัปปนาฌานที่เรียกว่าอัปปนาโกศลเกิด มีการทำวัตถุให้สะอาด และการทำ อินทรีย์ให้เสมอกันเป็นต้น ทั้งความฉลาดในการเจริญกัมมัฏฐานในระดับฌานทั้ง ๔ มีปฐมฌาน เป็นต้น (๕) เสสกสิณนิเทศ ท่านแสดงกสิณกัมมัฏฐานที่เหลืออีก ๙ อย่าง คือ อาโปกสิณ การเพ่ง น้ำเป็นอารมณ์ เตโชกสิณ การเพ่งไฟเป็นอารมณ์ วาโยกสิณ การเพ่งลมเป็นอารมณ์ นีลกสิณการเพ่งวัตถุสีเขียวมีดอกไม้เป็นต้นเป็นอารมณ์ ปีตกสิณ การเพ่งวัตถุสีเหลืองมีดอกไม้เป็นต้น เป็นอารมณ์ โลหิตกสิณ การเพ่งวัตถุสีแดงมีดอกไม้เป็นต้นเป็นอารมณ์ โอทาตกสิณ การเพ่งวัตถุ สีขาวมีดอกไม้เป็นต้นเป็นอารมณ์ อาโลกกสิณ การเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ และปริจฉินนาสกสิณ การเพ่งช่องว่างเป็นอารมณ์ พร้อมทั้งความฉลาดและผลที่เกิดขึ้นจากการเจริญกสิณเหล่านี้ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ ท่านแสดงวิธีการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ๑๐ ประการ ได้แก่ (๑) อุทธุมาตกอสุภะ พิจารณาซากศพที่พองขึ้น (๒) วินีลกอสุภะ พิจารณาซากศพที่มีสีเขียว (๓) วิปุพพกอสุภะ พิจารณาซากศพที่มีน้ำหนองไหล (๔) วิฉิทกอสุภะ พิจารณาซากศพที่ขาดแยก จากกัน (๕) วิขายิตกอสุภะ พิจารณาซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน (๖) วิกขิตตกอสุภะ พิจารณา ซากศพที่กระจัดกระจายอยู่ (๗) หตวิกขิตตกอสุภะ พิจารณาซากศพที่ถูกฟันกระจัดกระจาย (๘) โลหิตกอสุภะ พิจาณาซากศพที่มีโลหิตเปรอะเปื้อน (๙) ปุฬวกอสุภะ พิจาณาซากศพที่เต็ม ไปด้วยหมู่หนอน (๑๐) อัฏฐิกอสุภะ พิจารณาซากศพที่เหลือแต่ร่างกระดูก แสดงวิธีการไป การมา การพิจารณาในแต่ละประเภท จนถือเอานิมิตต่างๆ วิธีการผูกจิตไว้ในนิมิตนั้น ทำให้เกิด ความชำนาญ จนเป็นเหตุให้เกิดปฐมฌานขึ้น สามารถบรรเทาราคะลงได้ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ แสดงวิธีการเจริญฉอนุสสติกัมมักฐาน ๖ ได้แก่ (๑) พุทธานุสสติ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ (๒) ธัมมานุสสติ การระลึกถึงพระธรรมเป็นอารมณ์ (๓) สังฆานุสสติ การระลึกถึงพระสงฆ์เป็นอารมณ์ (๔) สีลานุสสติ การระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์ (๕) จาคานุสสติ การระลึกถึงการบริจาคเป็นอารมณ์ (๖) เทวตานุสสติ การระลึกคุณมีศรัทธา เป็นต้นที่ทำให้เป็นเทวดาเป็นอารมณ์ ท่านอธิบายวิธีการเจริญอนุสสติเหล่านี้เป็นอารมณ์ อย่างละเอียด พร้อมทั้งแสดงอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการเจริญอนุสสติกัมมัฏฐานแต่ละอย่าง มีการ ทำให้องค์ฌานเกิดขึ้นเป็นต้น

Apr 20

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์ปริวาร มีสาระสำคัญดังนี้ ๑๖ มหาวาระ จูฬสังคามะ มหาสังคามะ เสทโมจนคาถา ปัญจวรรค กัมมวัคควัณณนา อปโลกนกัมมกถา อัตถวสวัคคาทิวัณณนา นิคมนกถา
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ อธิบาย ขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์ปริวาร ซึ่งว่าด้วยการถาม-การตอบปัญหาทางพระวินัย ที่ประมวลมาจากพระวินัยปิฎกทั้ง ๗ เล่ม โดยจัดว่างเป็นหัวข้อใหญ่ ๒๑ ข้อ มีภิกขุวิภังค์ โสฬสมหาวาระ (ว่าด้วยมหาวาระในภิกขุวิภังค์ ๑๖ วาระ) เป็นต้น ตัวอย่างการถามเรื่องปาราชิก – ปฐมปาราชิกสิกขาบท ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน ปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร – มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันปัญญัติอยู่หรือ – มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ – มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน เป็นต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือ “สมันตปาสาทิกา แปล ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา ของพระภิกษุสามเณร นิสิต และประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์ปริวาร มีสาระสำคัญดังนี้ ๑๖ มหาวาระ จูฬสังคามะ มหาสังคามะ เสทโมจนคาถา ปัญจวรรค กัมมวัคควัณณนา อปโลกนกัมมกถา อัตถวสวัคคาทิวัณณนา นิคมนกถา
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ อธิบาย ขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์ปริวาร ซึ่งว่าด้วยการถาม-การตอบปัญหาทางพระวินัย ที่ประมวลมาจากพระวินัยปิฎกทั้ง ๗ เล่ม โดยจัดว่างเป็นหัวข้อใหญ่ ๒๑ ข้อ มีภิกขุวิภังค์ โสฬสมหาวาระ (ว่าด้วยมหาวาระในภิกขุวิภังค์ ๑๖ วาระ) เป็นต้น ตัวอย่างการถามเรื่องปาราชิก – ปฐมปาราชิกสิกขาบท ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน ปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร – มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันปัญญัติอยู่หรือ – มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ – มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน เป็นต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือ “สมันตปาสาทิกา แปล ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา ของพระภิกษุสามเณร นิสิต และประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๒” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์จุลวรรค ภาค ๑ และภาค ๒ มีสาระสำคัญที่กล่าวถึงขันธกะต่าง ๆ จำนวน ๑๒ ขันธกะ อันได้แก่ (๑) กัมมักขันธกะ (๒) ปาริวาสิกักขันธกะ (๓) สมุจจยักขันธกะ (๔) สมถักขันธกะ (๕) ขุททกวัตถุกขันธกะ (๖) เสนาสนักขันธกะ (๗) สังฆเภทกักขันธกะ (๘) วัตตักขันธกะ (๙) ปาติโมกขัฏฐปนักขันธกะ (๑๐) ภิกขุนีขันธกะ (๑๑) ปัญจสติกักขันธกะ (๑๒) สัตตสติกักขันธกะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๒” เล่มนี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณพันปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๑” นี้ แปลและเรียบเรียงโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวรรค ภาค ๑ และภาค ๒ มีสาระสำคัญที่กล่าวถึงขันธกะต่างๆ มีจำนวน ๑๐ ขันธกะ อันได้แก่ (๑) มหาขันธกะ (๒) อุโปสถขันธกะ (๓) วัสสูปนายิกขันธกะ (๔) ปวารณาขันธกะ (๕) จัมมขันธกะ (๖) เภสัชชขันธกะ (๗) กฐินขันธกะ (๘) จีวรขันธกะ (๙) จัมเปยยขันธกะ (๑๐) โกสัมพิกขันธกะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๑” นี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา ของพระภิกษุสามเณร นิสิต และประชาชน

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๒” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท และอธิกรณสมถะ ๗ รวมถึงอธิบายขยายความเนื้อหาในคัมภีร์ภิกขุณีวิภังค์ ซึ่งว่าด้วยอสาธารณบัญญัติ (เฉพาะสิกขาบทของภิกขุนี) ๑๓๐ สิกขาบท อันได้แก่ (๑) ปาราชิก ๔ สิกขาบท (๒) สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท (๔) ปาจิตตีย์ ๙๖ สิกขาบท และ (๕) ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๘ สิกขาบท หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๒” เล่มนี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๑” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ สิกขาบท และ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๑” เล่มนี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓” นี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงานที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะสมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓” แปลและเรียบเรียงโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะ ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิก จตุตถปาราชิก มีสาระสำคัญดังนี้
    ในตติยปาราชิก ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับพรรณนาตติยปาราชิกสิกขาบท พรรรนาเรื่องต้นบัญญัติ เรื่องอานาปานสติสมาธิ พรรณราบทภาชนีย์ เรื่องปลีกย่อย วินีตวัตถุ สำหรับในทุติยปาราชิก ท่านพรรณนาจตุตถสิกขาบทปาราชิก เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เรื่องภิกษุเข้าใจว่าตนได้บรรลุ สิกขาบทพร้อมทั้งวิภังค์ บทภาชนีย์ เรื่องสุทธิกวาระ เรื่องวัตตุกามวาระ เรื่องปัจจัยปฏิสังยุตตวาระ ประเภทแห่งอนาบัติ พรรณนาคำลงท้าย

Older posts «

» Newer posts