Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๒” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์จุลวรรค ภาค ๑ และภาค ๒ มีสาระสำคัญที่กล่าวถึงขันธกะต่าง ๆ จำนวน ๑๒ ขันธกะ อันได้แก่ (๑) กัมมักขันธกะ (๒) ปาริวาสิกักขันธกะ (๓) สมุจจยักขันธกะ (๔) สมถักขันธกะ (๕) ขุททกวัตถุกขันธกะ (๖) เสนาสนักขันธกะ (๗) สังฆเภทกักขันธกะ (๘) วัตตักขันธกะ (๙) ปาติโมกขัฏฐปนักขันธกะ (๑๐) ภิกขุนีขันธกะ (๑๑) ปัญจสติกักขันธกะ (๑๒) สัตตสติกักขันธกะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๒” เล่มนี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณพันปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๑” นี้ แปลและเรียบเรียงโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวรรค ภาค ๑ และภาค ๒ มีสาระสำคัญที่กล่าวถึงขันธกะต่างๆ มีจำนวน ๑๐ ขันธกะ อันได้แก่ (๑) มหาขันธกะ (๒) อุโปสถขันธกะ (๓) วัสสูปนายิกขันธกะ (๔) ปวารณาขันธกะ (๕) จัมมขันธกะ (๖) เภสัชชขันธกะ (๗) กฐินขันธกะ (๘) จีวรขันธกะ (๙) จัมเปยยขันธกะ (๑๐) โกสัมพิกขันธกะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๑” นี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา ของพระภิกษุสามเณร นิสิต และประชาชน

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๒” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท เสขิยะ ๗๕ สิกขาบท และอธิกรณสมถะ ๗ รวมถึงอธิบายขยายความเนื้อหาในคัมภีร์ภิกขุณีวิภังค์ ซึ่งว่าด้วยอสาธารณบัญญัติ (เฉพาะสิกขาบทของภิกขุนี) ๑๓๐ สิกขาบท อันได้แก่ (๑) ปาราชิก ๔ สิกขาบท (๒) สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท (๔) ปาจิตตีย์ ๙๖ สิกขาบท และ (๕) ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ๘ สิกขาบท หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๒” เล่มนี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๑” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์แปลภาษาไทยที่อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ สิกขาบท และ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๒ เล่ม ๑” เล่มนี้ จักอำนวยประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓” นี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงานที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะสมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๓” แปลและเรียบเรียงโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะ ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิก จตุตถปาราชิก มีสาระสำคัญดังนี้
    ในตติยปาราชิก ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับพรรณนาตติยปาราชิกสิกขาบท พรรรนาเรื่องต้นบัญญัติ เรื่องอานาปานสติสมาธิ พรรณราบทภาชนีย์ เรื่องปลีกย่อย วินีตวัตถุ สำหรับในทุติยปาราชิก ท่านพรรณนาจตุตถสิกขาบทปาราชิก เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เรื่องภิกษุเข้าใจว่าตนได้บรรลุ สิกขาบทพร้อมทั้งวิภังค์ บทภาชนีย์ เรื่องสุทธิกวาระ เรื่องวัตตุกามวาระ เรื่องปัจจัยปฏิสังยุตตวาระ ประเภทแห่งอนาบัติ พรรณนาคำลงท้าย

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๒

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๒” นี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระชาวชมพูทวีป ชื่อว่าพุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงานที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงประโยค ป.ธ. ๙ โดยเฉพาะสมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก
    “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๒” แปลและเรียบเรียงโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคัมภีร์ที่อธิบายขยายความที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะ ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิก ทุติยปาราชิก มีสาระสำคัญดังนี้
    ในปฐมปาราชิก ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับพรรณนาสุทินนภาณวาร ลิงตัวเมีย เรื่องภิกษุวัชชีบุตร วินัย ๔ อย่าง บทภาชนีย์คำว่าภิกษุ สิกขาและสาชีพ การบอกคืนสิกขา มูลบัญญัติ จตุกกะเบื้องต้น จตุกกะ ๒๖๙ จตุกกะ ประเภทแห่งสันถตจตุกกะ ประเภทแห่งจตุกกะของภิกษุผู้เป็นศัตรู ประเภทแห่งจตุกกะมีพระราชาผู้เป็นศัตรูเป็นต้น วารแห่งอาบัติและอนาบัติ เรื่องปลีกย่อย และวินีตวัตถุ สำหรับในทุติยปาราชิก ท่านอธิบายเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องพระธนิยะ วินิจฉัยนอกบาลี พรรณนาสิกขาบทวิภังค์และบทภาชนีย์ อวหาร ๒๕ วิธี ทรัพย์ที่ในที่ต่าง ๆ เช่น แผ่นดิน อากาศ ที่แจ้ง เรือ ยาน สวน วิหาร นา พื้นที่ ป่า น้ำ เรื่องไม้ชำระฟัน ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต ไม่มีเท้า ๒ เท้า ๔ เท้า หรือมีมากเท้า การนัดหมาย การทำนิมิต การสั่ง ประเภทแห่งอาบัติและอนาบัติ เรื่องปลีกย่อยและวินีตวัตถุ

Mar 15

สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๑

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๑” คัมภีร์แปลเป็นภาษาไทยเล่มนี้ อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์เฉพาะพาหิรนิทาน เวรัญชกัณฑ์ มีสาระสำคัญดังนี้ ในพาหิรนิทาน ท่านอรรถกถาจารย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ถึง ครั้งที่ ๓ แต่ละครั้งแสดงเหตุเกิดขึ้นแตกต่างกัน พร้อมทั้งการกสงฆ์ เวลาที่ทำ สถานที่ที่ทำ และใน เวรัญชกัณฑ์ ท่านอธิบายเรื่องต่างๆ เช่น ฌาน ๔ ญาณ ๓ มีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น เรื่องการอนุโมทนา พระธรรมเทศนา เรื่องอาการที่น่าเลื่อมใส เรื่องการถึงสรณคมน์ เรื่องการประกาศตนเป็นอุบาสก เรื่องความอดอยากของประชาชน ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์เป็นอยู่ลำบาก เรื่องการบันลือสีหนาทของ พระมหาโมคคัลลานะ เรื่องการทูลขอให้บัญญัติพระวินัย เรื่องพุทธประเพณี
    สำหรับ “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๑” คัมภีร์แปลเป็นภาษาไทยเล่มนี้ อธิบายขยายความ ที่เป็นประเด็นสำคัญในคัมภีร์มหาวิภังค์ ที่เกี่ยวกับพาหิรนิทาน และเวรัญชกัณฑ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ เล่ม ๑” คัมภีร์แปลเป็นภาษาไทยเล่มนี้ จักอำนวย ความสะดวกในการศึกษาสืบค้นของนิสิต นักศึกษา พุทธศาสนิกชน

Mar 10

วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓ (กันยายน – ธันวาคม ๒๕๖๔)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วารสารมหาจุฬาวิชาการ เป็นวารสารวิชาการ ราย ๔ เดือน (ปีละ ๓ ฉบับ) คือ ฉบับที่ ๑ เดือน มกราคม-เมษายน, ฉบับที่ ๒ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน-ธันวาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางของมหาวิทยาลัย ในการเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิต นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ในขอบข่ายเนื้อหาสาขาวิชาสังคมวิทยา ศิลปศาสตร์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓ กันยายน – ธันวาคม ๒๕๖๔ ได้รวบรวมบทความวิชาการของผู้บริหาร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์ต่างสถาบันได้ส่งบทความทางวิชาการมาร่วมตีพิมพ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทำให้มีคณาจารย์ ได้มีโอกาสศึกษาพุทธธรรมและมีการนำไปประยุกต์ บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักคำสอนทางพระศาสนาอันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม ในฉบับนี้ กองบรรณาธิการและคณะทำงานฝ่ายประสานงานได้รับเกียรติจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอก ส่งบทความทางวิชาการ เพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน ๓๐ บทความ เป็นภาคภาษาไทยล้วน ในบทความทั้งหมด แบ่งเป็นบทความวิชาการ ๙ บทความ บทความวิจัย ๒๑ บทความ ซึ่งรายละเอียดบทความต่าง ๆ กองบรรณาธิการ ได้กล่าวถึงเนื้อหาของแต่ละบทความโดยสรุปภายในเล่ม

Mar 10

วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๔)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วารสารมหาจุฬาวิชาการ เป็นวารสารวิชาการ ราย ๔ เดือน (ปีละ ๓ ฉบับ) คือ ฉบับที่ ๑ เดือน มกราคม-เมษายน, ฉบับที่ ๒ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน-ธันวาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางของมหาวิทยาลัย ในการเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิต นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ในขอบข่ายเนื้อหาสาขาวิชาสังคมวิทยา ศิลปศาสตร์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม – สิงหาคม ๒๕๖๔ ได้รวบรวมบทความวิชาการของผู้บริหาร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาต่างสถาบันได้ส่งบทความทางวิชาการมาร่วมตีพิมพ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทำให้มีคณาจารย์ ได้มีโอกาสศึกษาพุทธธรรมและการนำไปประยุกต์ บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาอันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม ในฉบับนี้ กองบรรณาธิการและคณะทำงานฝ่ายประสานงานได้รับเกียรติจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอก ส่งบทความทางวิชาการ เพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน ๒๗ บทความ มี ๒ ภาค คือ ภาคภาษาไทย ๒๖ บทความ และ ภาคภาษาอังกฤษ ๑ บทความ ในบทความทั้งหมด แบ่งเป็นบทความวิชาการ ๓ บทความ บทความวิจัย ๒๔ บทความ ซึ่งรายละเอียดบทความต่าง ๆ กองบรรณาธิการ ได้กล่าวถึงเนื้อหาของแต่ละบทความโดยสรุปภายในเล่ม

Mar 10

วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ (มกราคม – เมษายน ๒๕๖๔)

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

  • วารสารมหาจุฬาวิชาการ เป็นวารสารวิชาการ ราย ๔ เดือน (ปีละ ๓ ฉบับ) คือ ฉบับที่ ๑ เดือน มกราคม-เมษายน, ฉบับที่ ๒ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม, ฉบับที่ ๓ เดือนกันยายน-ธันวาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางพระพุทธศาสนา เพื่อสนับสนุนให้เกิดวารสารทางวิชาการกลางของมหาวิทยาลัย ในการเผยแพร่บทความวิชาการและบทความวิจัยแก่ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิต นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านศาสนาและปรัชญา พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ในขอบข่ายเนื้อหาสาขาวิชาสังคมวิทยา ศิลปศาสตร์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน ๒๕๖๔ ได้รวบรวมบทความวิชาการของผู้บริหาร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาต่างสถาบันได้ส่งบทความทางวิชาการมาร่วมตีพิมพ์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ทำให้มีคณาจารย์ ได้มีโอกาสศึกษาพุทธธรรมและการนำไปประยุกต์ บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักคำสอนทางพระศาสนาอันเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม ในฉบับนี้ กองบรรณาธิการและคณะทำงานฝ่ายประสานงานได้รับเกียรติจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอก ส่งบทความทางวิชาการ เพื่อลงตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน ๒๖ บทความ มี ๒ ภาค คือ ภาคภาษาไทย ๒๕ บทความ และ ภาคภาษาอังกฤษ ๑ บทความ ในบทความทั้งหมด แบ่งเป็นบทความวิชาการ ๕ บทความ บทความวิจัย ๒๑ บทความ ซึ่งรายละเอียดบทความต่าง ๆ กองบรรณาธิการ ได้กล่าวถึงเนื้อหาของแต่ละบทความโดยสรุปภายในเล่ม

Older posts «

» Newer posts