Apr 11

พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ“พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ ” เล่มนี้ เป็นตำราและหนังสือสำหรับเป็นคู่มือการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จึงจำเป็นสำหรับผู้เริ่มศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หนังสือ“พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ ” เล่มนี้ เหมาะสำหรับผู้อ่านทั่วไป นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งนิสิตระดับปริญญาตรี ในสาขาพระพุทธศาสนาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก แต่งโดย ผศ.รังษี สุทนต์ เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะได้ทราบพุทธกิจ คือการทำงานของพระพุทธเจ้าในแต่ละวัน พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญหน้าที่ของพระพุทธเจ้าอย่างไรในแต่ละวัน ตั้งแต่เช้าของวันนั้นๆ จนถึงเวลาเช้าของวันใหม่ ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี หวังว่า ตำรา “พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์ทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา แก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนผู้เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาสืบไป

Apr 11

พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย” เป็นวิชาหนึ่งในรายวิชา จริยศาสตร์ประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษา ได้ทำการค้นคว้าและศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ทั่วไป พุทธจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินปัญหาสังคมด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการศึกษา รวมทั้งปัญหาด้านศีลธรรมในสังคมปัจจุบัน ตำรา “พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย”เล่มนี้ แต่งโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยเนื้อจำนวน ๙ บท คือ (๑) บทนำ (๒) จริยศาสตร์เบื้องต้น (๓)พุทธจริยศาสตร์ (๔) พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาทางสังคมด้านการศึกษา (๕) พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาทางสังคมด้านเศรษฐกิจ (๖) พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาทางสังคมด้านการเมืองการปกครอง (๗) พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาทางสังคมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๘) พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาทางสังคมด้านสิ่งแวดล้อม (๙) พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาด้านศีลธรรมในสังคมร่วมสมัย หวังว่า ตำรา “พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจตลอดไป

Apr 11

English for Public Relations

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

This subject “English for Public Relations” is one of applied Buddhist courses to focus on a study of methods and styles of English writing and speaking for Public Relations, emphasizing data presentation, words selection, specific language usage, meaning communication, styles, interview and press conference. This subject “English for Public Relations” contains 7 chapters : (1) introduction; (2) Process of Public Relations; (3) Types of Communication; (4) Writing English for Public Relations; (5) Speaking English for Public Relations; (6) Techniques for Effective Public Relations; and (7) Interview and Press Conference as seen in this book. Hopefully this textbook ‘English for Public Relations’ will be useful for the English language affairs and communication skills for lectures, students and people in general.

Apr 11

คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชาวินัยมุขและอุโบสถศีล

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

วิชาวินัย เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้ผู้ศึกษารู้สึกหนักใจในการสอบ เพราะมีเนื้อหาที่เข้าใจยาก และมีส่วนเนื้อหาที่ต้องจดจำอยู่มาก แต่หนังสือคู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชาวินัยมุขและอุโบสถศีล” เล่มนี้ มีการอธิบายเนื้อหาที่เข้าใจง่าย กระชับและครอบคลุมเนื้อหาของวิชาวินัยตามหลักสูตรที่แม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดไว้ทุกประการ และมีรูปภาพการ์ตูนประกอบการอธิบาย และในตอนท้ายเล่ม ยังมีตัวอย่างแนวคำถามคำตอบที่เคยออกสอบสนามหลวง ใน พ.ศ.ต่าง ๆ มาให้อ่านพอเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบอีกด้วย หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชาวินัยมุขและอุโบสถศีล” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาครอบคลุมตามหลักสูตรที่แม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดไว้ทุกประการ พร้อมมีอธิบายที่ให้เข้าใจมากขึ้น เพราะมีรูปภาพการ์ตูนประกอบ เหมาะสำหรับพระภิกษุ สามเณร นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป หวังว่า หนังสือ “คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท วิชาวินัยมุขและอุโบสถศีล” เล่มนี้ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับ พระภิกษุสามเณร นักเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท ตลอดถึงครูอาจารย์และผู้สนใจทั่วไป

Apr 08

พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” เป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับความหมายและขอบข่ายของนิเวศวิทยา หลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยา เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์กับธรรมชาติ แนวทางการอนุรักษ์ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตำรา “พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๘ บท ซึ่งมุ่งให้ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิเวศวิทยา มนุษย์กับระบบนิเวศ นิเวศวิทยาในพระพุทธศาสนา หลักการสำคัญด้านนิเวศวิทยาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก อีกทั้งได้กล่าวถึงวิกฤตการณ์ของระบบนิเวศในปัจจุบันรวมถึงให้มนุษย์รู้จักประยุกต์ใช้หลักธรรมสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานิเวศวิทยาอันแสดงให้เห็นได้ว่าพระพุทธศาสนามีแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ของระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี เนื้อหาภายในเล่มนี้จะสะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่มุ่งให้เกิดความน่ารื่นรมย์ เป็นรมณียสถาน ให้แสดงเห็นถึงบรรยายกาศ สงบ ร่มเย็น อนุรักษ์ธรรมชาติทางพระพุทธศาสนา หวังว่า “พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านพระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยาแก่พระภิกษุ สามเณร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษาและประชาชนสืบไป

Apr 08

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพระพุทธศาสนาประยุกต์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ที่กำหนดให้ศึกษาหลักเบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เปรียบเทียบพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ วิวัฒนาการของโลก จักรวาล และมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ทฤษฎีวิวัฒนาการในทางวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีสัมพันธภาพและทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา ผลกระทบระหว่างวิทยาศาสตร์และประยุกตวิทยากับพระพุทธศาสนา ตำรา “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ แต่งโดยคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราขวิทยาลัย มีเนื้อหาสาระแบ่งเป็น ๘ บท มุ่งหมายให้ศึกษาเปรียบเทียบความหมาย ลักษณะ ขอบข่ายและวิธีการแสวงหาความจริงของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พระพุทธศาสนากับทฤษฎีวิวัฒนาการ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีสัมพัทธภาพ พระพุทธศาสนากับทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และผลกระทบระหว่างวิทยาศาสตร์และประยุกตวิทยากับพระพุทธศาสนา หวังว่า ตำรา “พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ ตลอดไป

Apr 08

Tipitaka Studies

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

“Tipitaka Studies” is a core subject in Buddhism esignated to study the origin, history and development of the Tipitaka scripture, classification of the structure and content of Tipitaka, brief explanation of commentators, maintenance and inheritance by Mukhapātha (word of mouth) and writing, Buddhist scripture sequence, history of the Tipitaka in Thailand and the benefit obtained from studying this Tipitaka of which the writers have presented the details in different chapters

Apr 08

พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

ตำรา “พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ เป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษาคุณลักษณะของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในฐานะพุทธจิตวิทยา หลักคำสอนพื้นฐานในพุทธจิตวิทยา การศึกษาในทัศนะของนักพุทธจิตวิทยา กระบวนการจิตวิทยาตามหลักพระพุทธศาสนา จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ การศึกษาในทัศนะของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับพุทธจิตวิทยากับการกำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการ แนวทางการ จัดการศึกษา หลักการจัดการศึกษา สาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตำรา “พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเนื้อหแบ่งเป็น ๘ บท ซึ่งมุ่งให้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับพุทธจิตวิทยา อิทธิพลของพุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย พุทธจิตวิทยาว่าด้วยการสัมผัสและการรับรู้ พุทธจิตวิทยากับการสร้างแรงจูงใจ พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาอารมณ์ พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาเชาวน์ปัญญา รวมถึงการใช้พุทธจิติทยาในการพัฒนาบุคลิกภาพ และการใช้หลักพุทธจิตวิทยาในการป้องกันและรักษาสุขภาพจิต อันมีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ แรงจูงใจ การรับรู้ อารมณ์ เชาวน์ปัญญาของปัจเจกชน หวังว่า ตำว่า “พุทธจิตวิทยากับสังคมและวัฒนธรรมไทย” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านจิตวิทยาแนวพุทธเชิงบูรณาการ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจสืบไป

Apr 08

ภาษาอังกฤษแนวใหม่ : ครบเครื่องเรื่องประโยค

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

หนังสือ “ภาษาอังกฤษแนวใหม่ : ครบเครื่องเรื่องประโยค” เป็นงานเขียนของ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง ซึ่งเป็นศิษย์เกาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นอาจารย์พิเศษสอนภาษาอังกฤษผู้มีประสบการณ์ มหาวิทยาลัยเห็นว่า หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอเทคนิคใหม่ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง เป็นอย่างมากที่ได้มอบต้นฉบับให้มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์และเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต่อไป หนังสือ “ภาษาอังกฤษแนวใหม่ : ครบเครื่องเรื่องประโยค” เป็นตำราสองภาษา คือ ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิชาการของ ของ ร.ท.ดร.กุเทพ ใสกระจ่าง ที่ได้รวบรวมการสร้างประโยค์ไว้อย่างเป็นระบบ ทำให้ง่ายต่อการใช้ไปใช้ในการพูดหรือเขียน อาจกล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอหลักการแต่งประโยคภาษาอังกฤษได้อย่างครบถ้วนที่สุด ซึ่งถ้านำไปฝึกหัดให้เกิดความช้ำชองแล้ว จะทำให้พูดหรือเขียนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

Apr 08

พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง

ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดรายวิชา “พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” ไว้ในหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต เพื่อให้พระภิกษุสามเณรเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการเมืองกับปกครองของไทย หลักพุทธธรรมที่มีต่อการเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่ทางการเมืองการปกครอง อีกทั้งวิเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อระบบการเมืองการปกครองของไทย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของไทย อันก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวางในการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ทางการเมืองการปกครอง โดยอาศัยหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาสนับสนุนการเมืองการปกครองที่ดีงาม ตำรา“พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” เล่มนี้เป็นวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพุทธศาสนาประยุกต์ ที่กำหนดให้ศึกษา ศึกษาบทบาทของพระพุทธศาสนาที่มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา พุทธธรรมที่มีส่วนเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่การเมือง องค์กรทางคณะสงฆ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านการเมืองการปกครองของไทยบทบาทของพระสงฆ์ต่อการเมืองไทยบทบาทของพระสงฆ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยและประเทศอื่น ตำรา“พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” เล่มนี้ แต่งโดย คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หวังว่า ตำรา“พระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง” เล่มนี้ คงอำนวยประโยชน์เชิงวิชาการด้านการเมืองการปกครองเชิงพุทธบูรณาการ แก่คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ ตลอดไป

Older posts «

» Newer posts